มหาวิทยาลัยแอนท์เวิร์พ มหาวิทยาลัยดุสเซลดอร์ฟ มหาวิทยาลัยเพิร์ธ (ออสเตรเลีย) และศูนย์วิจัยของโรงพยาบาล จอร์จ-ฟรองซัวส์ เลอเคิร์ค (George-Francois Leclerc / ฝรั่งเศส) และโบมองท์ ฮอสพิทอลส์ (Beaumont Hospitals / มิชิแกน) อยู่ในระหว่างการติดตั้งเครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอรุ่นใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพไปจนถึงปีหน้า
นอกจากความสามารถในการสแกนภาพเนื้อเยื่ออ่อนได้อย่างละเอียด และมีความคมชัดมากขึ้นแล้ว เครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอรุ่นใหม่ยังสามารถติดตั้งในห้องปฏิบัติการได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากดีไซน์ใหม่ของเครื่องสแกน
เครื่องสแกนสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องพึ่งระบบการสร้างความเย็นด้วยก๊าซฮีเลียมเหลว โดยใช้การออกแบบการเคลื่อนไหวของแม่เหล็กร่วมกับสายนำไฟฟ้ายิ่งยวด ซึ่งช่วยให้เครื่องทำความเย็นอุณหภูมิต่ำแบบมาตรฐาน (ตู้เย็น) สามารถทำให้แม่เหล็กเย็นลงถึง 4 องศาเคลวิน (-269 องศาเซลเซียส) ซึ่งจำเป็นต่อการนำกระแสไฟฟ้าที่ดี โซลูชั่นดังกล่าวคิดค้นโดยเอ็มอาร์ โซลูชั่น และพันธมิตรกิจการด้านแม่เหล็กของบริษัท
เครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอไม่จำเป็นต้องวางแยกในห้องที่แยกโลหะ เนื่องจากเครื่องสแกนจะปล่อยสนามแม่เหล็กออกมาในรัศมีเพียงไม่กี่เซนติเมตรเท่านั้น และไม่รบกวนอุปกรณ์อื่นๆในห้องปฏิบัติการ
การพัฒนาทางเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยลดต้นทุนเครื่องสแกนที่ทรงประสิทธิภาพได้อย่างมหาศาล เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ศาสตราจารย์ แวน เดอร์ ลินเดน (Van der Linden) ประจำห้องปฏิบัติการภาพชีวภาพของมหาวิทยาลัยแอนท์เวิร์พ กล่าวว่า “เราได้ทำงานร่วมกับเอ็มอาร์ โซลูชั่นส์มาเป็นเวลานานหลายปี เนื่องจากเอ็มอาร์ โซลูชั่นส์เป็นผู้นำเทคโนโลยีในวงการนี้ เครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอรุ่นใหม่เปรียบเสมือนความก้าวหน้า และจะเป็นเครื่องสแกนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับพวกเรา”
ศาสตราจารย์ แวน เดอร์ วินเดน กล่าวต่อไปว่า “เราแค่หมุนเครื่องสแกนโดยไม่ต้องเคาะฝากั้นใดๆทั้งสิ้น และไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบความปลอดภัย และระบทำความเย็นโดยใช้ก๊าซฮีเลียมที่มีราคาสูง เนื่องจากเครื่องสแกนแผ่สนามแม่เหล็กมาในปริมาณน้อย เราจึงสามารถวางอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ และเครื่องสแกนอื่นๆไว้ใกล้กับเครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอได้ เพื่อการทำงานที่ราบรื่นยิ่งขึ้น”
หมายเหตุบรรณาธิการ
ดาวน์โหลดรูปภาพได้ที่: https://www.yousendit.com/download/UW13c2ZGSWhEa1VYRHNUQw
คำบรรยายใต้ภาพ: “เครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอขนาดตั้งโต๊ะรุ่นใหม่ T3 (ซ้าย) สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องสแกนอื่นๆในห้องปฏิบัติการได้ เนื่องจากแผ่สนามแม่เหล็กปริมาณน้อย”
ติดต่อ:
ไซมอน เวน เพอร์ซี่ย์
เวน เพอร์ซี่ย์ แอนด์ โรเบิร์ทส์
โทร. +44-(0)1737-821890 / +44-(0)7710-005-910
อีเมล: [email protected]
แหล่งข่าว: เอ็มอาร์ โซลูชั่นส์