“คนไทย มอนิเตอร์” ชี้ คนไทยพอใจคุณภาพชีวิตลดลง

ศุกร์ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๑๖:๔๗
“คนไทย มอนิเตอร์” การสำรวจระดับชาติที่ใหญ่ที่สุดประจำปี 2555 ชี้ คนไทยพอใจในคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ลดลงจากปี 2554 แม้จะเห็นว่าการพัฒนาประเทศมีความเหมาะสมมากขึ้น ขณะเดียวกันยังระบุว่าปัญหาระดับประเทศและสังคมรุนแรงมาก

“คนไทย มอนิเตอร์” เป็นการสำรวจระดับชาติที่ใหญ่ที่สุด ริเริ่มโดยมูลนิธิ เพื่อ “คนไทย” และจัดทำขึ้นโดยสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมวิจัยโลก (ESOMAR) และได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรชั้นนำ ในการสำรวจดังกล่าวได้เก็บข้อมูลที่ครอบคลุมคนไทย 100,000 คน ทั่วทั้ง 77 จังหวัด ในช่วงเดือนกรกฎาคม — กันยายน 2555 จึงเป็นโครงการที่สะท้อนเสียงที่แท้จริงและโปร่งใสของประชาชน วัดระดับคุณภาพชีวิต และสะท้อนภาพรวมของการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไทยในระยะยาว การสำรวจดังกล่าวครอบคลุมประเด็นเรื่องความอยู่ดีมีสุขของคนไทยใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ทัศนคติและความเชื่อมั่น การพัฒนาประเทศและท้องถิ่นที่อยู่อาศัย และปัญหาด้านสังคมและความเป็นอยู่ที่ประสบ รวมทั้งสรุปเสียงสะท้อนที่แท้จริงของคนไทย

นายวิเชียร พงศธร ประธานมูลนิธิ เพื่อ “คนไทย” กล่าวว่า “โครงการ “คนไทย มอนิเตอร์” เสียงนี้มีพลัง ริเริ่มขึ้นเพื่อเป็นกลไกการรับฟังเสียงของประชาชนคนไทยอย่างเป็นระบบและทั่วถึง เราเชื่อมั่นว่าประเทศไทยที่ดีกว่าต้องเป็นจริงได้ เริ่มจากการที่เราหันมาฟังคนไทยพูดกับคนไทยด้วยกัน คิดและลงมือทำเพื่อพัฒนาและสร้างสังคมที่ดีมีสุขอย่างเป็นระบบ”

สำหรับผล “คนไทย มอนิเตอร์” ที่ศึกษาในปี 2555 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านรายได้ ทรัพย์สินและหนี้สิน รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพที่สูงขึ้น สุขภาพ ความมั่นคงในการทำงาน การใช้เวลาร่วมกันในครอบครัวที่น้อยลง และไลฟ์สไตล์ ขณะที่สิทธิและความเท่าเทียมกันในสังคม สิ่งแวดล้อม รัฐบาล บทบาทของสื่อ และบทบาทของภาคธุรกิจต่อประเทศมีความสำคัญรองลงมา

รายได้ดีขึ้น แต่พอใจในคุณภาพชีวิตน้อยลง

ในปีที่ผ่านมา “คนไทย มอนิเตอร์” พบว่า ความพึงพอใจของคนไทยยังคงกระจุกตัวอยู่ที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นหลัก สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยึดถือปัจจัยทางวัตถุมากขึ้น เมื่อพิจารณาว่าคนไทยเห็นว่าคุณภาพชีวิตของตนด้อยลงทั้งๆ ที่พอใจมากขึ้นกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้ ฯลฯ โดยผลการสำรวจระบุว่าความ

มูลนิธิเพื่อ “คนไทย”เลขที่1 ซอยพรีเมียร์ 2 ถนนศรีนครินทร์ หนองบอนประเวศ กรุงเทพฯ 10250

โทร 0-2301-1000ต่อ 1056 โทรสาร 0-2301-1439 www.khonthaifoundation.org

พึงพอใจต่อรายได้เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 68 เป็น ร้อยละ 68.29 ขณะที่ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมลดลงจากร้อยละ 78.1 เป็น ร้อยละ 74.7 ประเด็นนี้ชี้แนะให้เห็นว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจมิได้มีความสำคัญสูงสุดต่อคุณภาพชีวิต แต่ปัจจัยอื่น เช่น การใช้เวลากับครอบครัว มีความสำคัญต่อการสร้างสมดุลในการใช้ชีวิต และหากมีการรณรงค์ให้คนไทยเข้าใจและนำหลักความพอเพียงมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันแล้ว จะเกิดความสมดุลในชีวิตมากขึ้น พอใจในคุณภาพชีวิตมากขึ้น

ครอบครัวคือพื้นฐานสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ

ผลการสำรวจของ “คนไทย มอนิเตอร์” ประจำปี 2555 พบว่า คนไทยรู้สึกว่าความเข้มแข็งของครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญต่อความพึงพอใจในความเป็นอยู่ และสังคมไทยมีสิ่งแวดล้อมทางครอบครัวและสังคมที่ดีพอควร อย่างไรก็ดีพบว่าความ พึงพอใจด้านครอบครัวลดลงเหลือร้อยละ 82.86 จากร้อยละ 84.57 ในปีก่อนหน้านี้ ความเข้มแข็งนี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาเยาวชนที่สำคัญยิ่ง

ส่วนด้านการพัฒนาเยาวชนนั้น คนไทยเห็นว่าควรปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์ 5 อันดับ ได้แก่ ห่างไกลยาเสพติด รักการเรียน คุณธรรมและจริยธรรม การประหยัดอดออมรู้ค่าของเงิน และความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพต่อไป ส่วนด้านการศึกษาคนไทยพอใจกับการศึกษาหรือการรู้หนังสือในปัจจุบันพอสมควร หากแต่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพการศึกษา

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ คุณลักษณะของคนไทยที่มีลักษณะขัดแย้งกัน ด้านบวกที่คนไทยเห็นว่าดี คือ มีน้ำใจ อบอุ่น เป็นมิตร แต่ด้านลบ ได้แก่ ความเห็นแก่ตัว ไม่รับฟังผู้อื่นหรือยึดมั่นในความคิดของตน ขาดวินัย เอาตัวรอด ประเด็นเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าคนไทยแม้จะมีน้ำใจ แต่ไม่ได้เน้นความจริงใจมากนัก ซึ่งสะท้อนว่าหากจะพัฒนาสังคมและประเทศให้ก้าวหน้า จำเป็นที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะครอบครัวจะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนให้มีคุณภาพและคุณลักษณะที่เหมาะสม

พอใจในบทบาทภาครัฐและเอกชนมากขึ้น แต่เห็นความรุนแรงของการคอรัปชั่นมากขึ้น

ในด้านภาพรวมและเศรษฐกิจ การเมือง การปกครองพบว่า แม้คนไทยจะพอใจมากขึ้นต่อการทำงานของรัฐบาล(เพิ่มจากร้อยละ 58.43 เป็นร้อยละ 64.43) และเอกชน (เพิ่มจากร้อยละ 63.29 เป็นร้อยละ 65.71) แต่การจัดการภาครัฐยังไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาคในกรอบกฎหมาย และเห็นว่าการคอรัปชั่นยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้นๆ ในสังคม แม้รัฐบาลและภาคเอกชนจะได้กำหนดให้การป้องกันและปราบปรามทุจริตเป็นนโยบายเร่งด่วน แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีข้อจำกัดอยู่มาก

กังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

สิ่งที่คนไทยเห็นว่ายังคงเป็นปัญหาสำคัญในชีวิตและสังคม นอกจากจะมีปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ค่าครองชีพและราคาสินค้าที่สูงขึ้น ยาเสพติดที่ระบาดทั่วไป รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายแล้วนั้น ประเด็นใหม่ที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงมากคือประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะภาวะโลกร้อน ความแห้งแล้ง ภัยน้ำท่วม มลพิษในด้านต่างๆ ส่วนเรื่องอื่นที่เป็นปัญหามานานและยังคงเป็นปัญหาอยู่ ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ อบายมุข เช่น หวย การพนัน การดื่มเครื่องดื่มมึนเมา รวมทั้งการทุจริต และอาชญากรรม

ภาคประชาชนตื่นตัวมากขึ้นที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีกว่า

ผลการศึกษาระบุว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังกังวลเรื่องปัญหาส่วนตัวมากกว่าปัญหาสังคมหรือประเทศ ซึ่งอาจชี้ให้เห็นว่าคนไทยสนใจเรื่องส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม และความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้คนเบื่อและไม่อยากยุ่งเรื่องการเมือง

อย่างไรก็ดี คนไทยส่วนใหญ่เริ่มตื่นตัวและพยายามมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและประเทศมากขึ้น โดยที่ร้อยละ 82 เน้นการพัฒนาเพื่อตนเอง เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การไม่สร้างปัญหาเพิ่มเติมให้แก่สังคม การประพฤติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ยึดมั่นในศีลธรรม เป็นต้น มีเพียงร้อยละ 46 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพื่อสังคม เช่น การร่วมมือในกิจกรรมพัฒนาชุมชนหรือสังคม สร้างความสามัคคีในชุมชน และการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อย่างไรก็ดี ความพยายามของท้องถิ่นและชุมชนในการมีส่วนร่วมพัฒนายังประสบข้อจำกัด เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ต้องดำเนินไปตามกฎระเบียบที่ไม่ยืดหยุ่น ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ายังมีโอกาสที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสังคมและชุมชน (Active Citizenship) เพื่อร่วมกันผลักดันให้สังคมพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

โซเชียลมีเดียครองใจคนรุ่นใหม่

ในปี 2555 ที่ผ่านมา “คนไทย” มอนิแตอร์ เสียงนี้มีพลัง ได้สำรวจความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสื่อเป็นครั้งแรก และพบว่า โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุยังคงเป็นสื่อหลัก และสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีอายะระหว่าง 15-29 ปี สื่อใหม่ เช่น เว็บไซต์และสังคมออนไลน์ กลายเป็นสื่อหลักที่กลุ่มนี้ใช้ในการรับและค้นหาข้อมูล และเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนไทยในการ ถกประเด็นสาธารณะได้อย่างอิสระ ซึ่งคณะผู้จัดการสำรวจเห็นว่าสื่อใหม่จะช่วยสร้างพลเมืองที่ตื่นรู้ต่อไป และเป็นช่องทางสำคัญที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรรับผิดชอบร่วมกันในการสร้างคอนเทนท์ที่มีประโยชน์และส่งเสริมการพัฒนาประเทศมากขึ้น

ความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อสังคมแข็งแรง

คณะที่ทำการศึกษานี้ระบุว่า การพัฒนาประเทศนั้นไม่อาจพึ่งรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว แต่ภาคเอกชนสามารถเป็นกลไกสำคัญที่จะเข้ามามามีบทบาทในการผลักดันการพัฒนา ทั้งในด้านการกำหนดนโยบายการทำงานที่มุ่งเน้นความสมดุลในชีวิตเพื่อให้ประชาชนรู้สึกพึงพอใจกับคุณภาพชีวิตมากขึ้น การดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและพึงพอใจต่อภาคเอกชน การส่งเสริมให้พนักงานเป็นพลเมืองที่มีความตื่นตัวและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมอันเป็นการสร้างรากฐานและผลักดันให้การพัฒนาสังคมเป็นไปได้อย่างมีพลังมากขึ้น การจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อบริหารจัดการโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อผลักดันกิจกรรมพัฒนาสังคมอย่างจริงใจและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อส่วนรวม และการใช้สื่อดิจิตอลในทางที่เหมาะสมเพื่อสื่อสารหรือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดจนคุณลักษณะที่ดี

นายวิเชียรกล่าวสรุปว่า “การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนและการสร้างสังคมอยู่ดีมีสุข มีความจำเป็นที่จะต้องรับฟังเสียงและเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของคนไทยทุกคน การสำรวจความเห็นของคนไทยที่ “คนไทย” มอนิเตอร์ เสียงนี้พลัง ได้ริเริ่มและจะทำต่อไป จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะจุดประกายให้ทุกภาคส่วนได้ทำหน้าที่ของตนเอง และร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version