ผู้ค้าปลีกและผู้เชี่ยวชาญชี้ประเทศไทยอาจเผชิญต่อประเด็นท้าทายเรื่องภาพคำเตือนสุขภาพขนาดร้อยละ 85

ศุกร์ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๑๗:๒๕
สืบเนื่องจากความตั้งใจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ ในการเพิ่มขนาดภาพคำเตือนสุขภาพบนซองผลิตภัณฑ์ยาสูบให้มีพื้นที่ครอบคลุมร้อยละ 85 ของซองนั้น สมาคมการค้ายาสูบไทยและผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายในประเทศไทยได้ชี้ถึงประเด็นท้าทายที่อาจเกิดขึ้นจากประกาศกระทรวงดังกล่าว

นางวราภรณ์ นะมาตร์ ผู้อำนวยการสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า “ด้วยภาพคำเตือนขนาดใหญ่ซึ่งทำให้ซองบุหรี่มีรูปลักษณ์ภายนอกที่เหมือนกันหมด กฎหมายฉบับนี้จะสร้างความยากลำบากให้แก่เจ้าของร้านค้าปลีกขนาดเล็กทั่วประเทศในการบริหารจัดการและจัดเก็บสต็อคสินค้า รวมทั้งการให้บริการลูกค้า กฏหมายนี้เกินความจำเป็นอีกทั้งยังเป็นมาตรการสุดโต่งซึ่งมีแต่จะสร้างภาระที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นในการประกอบธุรกิจของผู้ค้าปลีกไทยที่ต้องบริหารดูแลร้านค้าของตน”

นอกเหนือไปจากผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกแล้ว ผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยหลายฝ่ายยังให้ความเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวอาจจะสร้างปัญหาเพิ่มเติมให้แก่ประเทศไทย

ดร.กิตติพงษ์ แจ้งกมลกุลชัย Associate Director และผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ไบรอัน เคฟ อินเตอร์เนชั่นแนล คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ประเทศไทยมีหน้าที่อันพึงปฏิบัติภายใต้ความตกลง WTO ในการแจ้งให้ประเทศสมาชิก WTO ประเทศอื่น ๆ รับทราบเกี่ยวกับกฎระเบียบของซองบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคทางการค้า เนื่องจากเป็นการประกาศใช้บทบัญญัติเทคนิคใหม่ที่ไม่ได้ขึ้นกับรูปแบบมาตรฐานระหว่างประเทศ และเป็นบทบัญญัติที่อาจเป็นการละเมิดทางการค้า โดยการประกาศเพิ่มขนาดภาพคำเตือนนี้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ตราสินค้าและเครื่องหมายการค้าของบริษัทต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่ควรตั้งคำถามว่ากระทรวงสาธารณสุขได้มีการพิจารณาภาระผูกพันด้านการค้าหรือไม่ก่อนที่จะมีการเสนอกฏระเบียบดังกล่าว อีกทั้งรัฐบาลมีเจตนาที่จะแจ้งเรื่องกฎระเบียบนี้ต่อองค์การการค้าโลกหรือไม่ หากไม่ ผมเกรงว่าประเทศไทยอาจจะต้องเผชิญปัญหากับประเทศคู่ค้าต่างๆ ของเราได้”

นางดารานีย์ วัจนะวุฒิวงศ์ หุ้นส่วนร่วมบริหาร กรรมการผู้จัดการแผนกทรัพย์สินทางปัญญา บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระด้านกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกในประเด็นทรัพย์สินทางปัญญากล่าวว่า “บทบัญญัติในประกาศฉบับดังกล่าวจะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าสูญเสียไปซึ่งทรัพย์สินอันมีค่าของตน ซึ่งเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ละเมิดกฎหมายเครื่องหมายการค้าแห่งประเทศไทย และขัดต่อหน้าที่ในพันธะการระหว่างประเทศของประเทศไทยนอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้กำหนดให้ปีพ.ศ. 2556 เป็น “ปีแห่งการต่อต้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา” ดังนี้การประกาศใช้ภาพคำเตือนขนาดใหญ่ที่กีดกันความสามารถในการใช้เครื่องหมายทางการค้าที่มีมูลค่า กีดกันการใช้โลโก้ และรูปแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างเต็มที่นั้น ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลกำลังส่งสัญญาณที่สับสนและขัดแย้งต่อความตั้งใจในการต่อต้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา”

สมาคมการค้ายาสูบไทยใคร่ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรับฟังข้อกังวลเหล่านี้และพิจารณาทบทวนมาตรการดังกล่าวก่อนจะมีผลบังคับใช้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ