ผลการสำรวจชี้ คนไทยเลือกใช้เทคโนโลยีส่วนบุคคลในที่ทำงานเพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพ และเสริมสร้างขีดความสามารถ

อังคาร ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๑๖:๕๕
พนักงานรุ่นใหม่นิยมไลฟ์สไตล์ที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา แนะองค์กรปรับตัวเพื่อรองรับการเชื่อมต่อโมบายล์ของบุคลากร

วีเอ็มแวร์ อิงค์ (NYSE: VMW) ผู้นำระดับโลกในด้านเวอร์ช่วลไลเซชั่นและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เปิดเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางใหม่ในการดำรงชีวิต (VMware New Way of Life) ประจำปี 2556 ชี้ว่าแนวโน้มของการใช้อุปกรณ์ส่วนบุคคลและโมบิลิตี้ในเมืองไทยกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

จากผลการศึกษาดังกล่าว พบว่าคนไทย 83% พกพาอุปกรณ์ของตนเองไปใช้ในสถานที่ทำงานและใช้เทคโนโลยีที่ตนเองต้องการในการทำงาน และ 76% ระบุว่าการทำเช่นนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แม้กระทั่งในกรณีที่ต้องทำงานนอกสถานที่ (78%)

ในการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของแนวโน้มนี้ต่อชีวิตส่วนตัวของคนไทย พบว่า 65% ของผู้ใช้ที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าตนเองใช้เวลาในช่วงวันหยุดไปกับการทำงาน และแน่นอนว่า 92% ใช้อุปกรณ์ส่วนบุคคลเพื่อทำงานต่างๆ ให้เสร็จสิ้นในช่วงวันหยุด

การศึกษาในครั้งนี้ดำเนินการโดย Acorn Research ภายใต้การมอบหมายจากวีเอ็มแวร์ โดยทำการศึกษาใน 12 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และสอบถามความคิดเห็นจากประชาชน 2,100 คน รวมถึงผู้ตอบแบบสอบถามในไทย 150 คน

“จากข้อมูลที่ได้รับในภูมิภาคนี้ บริษัทฯได้เปลี่ยนชื่อของการศึกษาจาก ‘New Way of Work’ ไปสู่ ‘New Way of Life’ เพื่อเน้นย้ำถึงความต้องการที่เปลี่ยนไปของพนักงานในยุคปัจจุบัน ทั้งในส่วนของรูปแบบการทำงานและไลฟ์สไตล์” ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของวีเอ็มแวร์ กล่าว “ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า บริษัทต่างๆ ควรที่จะปรับใช้เทคโนโลยีที่รองรับนโยบายไอทีที่ยืดหยุ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน และดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ควบคู่ไปกับการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลขององค์กร”

นโยบายไอทีที่เข้มงวดคืออุปสรรคที่ขัดขวางประสิทธิภาพการทำงาน

ผลการศึกษา New Way of Life เผยให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามหนึ่งในสองคน (52%) มองว่าระบบ โมบิลิตี้มีบทบาทสำคัญต่อการทำงาน โดยเหตุผลสำคัญที่กล่าวถึงกันมากที่สุดสำหรับการเลือกใช้อุปกรณ์ส่วนตัวในการทำงานก็คือ เป็นเพราะว่าอุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการตั้งค่าในลักษณะที่ผู้ใช้ต้องการ

เหตุผลในอันดับรองลงมาคือ ช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (76%) แม้ว่าต้องมีการทำงานนอกสถานที่ (78%) หากได้ใช้อุปกรณ์ส่วนตัวในการทำงาน ปัจจุบัน อัตราการใช้สมาร์ทโฟนส่วนตัว (89%) แซงหน้าแล็ปท็อป (62%) โดยผู้ตอบแบบสอบถามเจ็ดในสิบคน (75%) มีอุปกรณ์ส่วนตัวมากกว่าหนึ่งเครื่อง

อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามหนึ่งในสามคน (34%) ระบุว่าตนเองไม่สามารถเข้าถึงบริการสนับสนุนไอที เพื่อใช้อุปกรณ์เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพในสถานที่ทำงาน ขณะที่ 87% ระบุว่าบริษัทของตนมีนโยบายไอทีที่เข้มงวด จึงทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์พกพาส่วนตัวเข้ากับเครือข่ายองค์กร

“บุคลากรในเมืองไทยจัดการเรื่องโมบิลิตี้ด้วยตนเองและใช้เทคโนโลยีที่ตนเองมีอยู่เพื่อเพิ่มระดับประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการทำงาน” ดร. ชวพล กล่าวเสริม “จากมุมมองทางด้านไอที มีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เราสามารถทำได้เพื่อสนับสนุนบุคลากรของไทย และปรับเปลี่ยนโครงการไอทีให้สอดรับกับธุรกิจ ด้วยการเปิดโอกาสให้เข้าใช้ระบบที่จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานอย่างแท้จริง”

ฝ่ายไอทีพยายามก้าวให้ทันพนักงาน

ผู้ตอบแบบสอบถามตระหนักถึงความกังวลใจของนายจ้าง โดยระบุถึงเหตุผลสำคัญสำหรับการใช้นโยบาย ไอทีที่เข้มงวดภายในองค์กร เช่น การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ (73%) และผลประโยชน์/ความปลอดภัยของบริษัท (70%)

ด้วยเหตุนี้ 28% ของพนักงานในเมืองไทยระบุว่าการจัดการกับปัญหาด้านไอทีในสถานที่ทำงานเป็นเรื่องยุ่งยาก และตนเองพยายามหาหนทางที่จะหลบเลี่ยง (69%) หรือหันไปค้นหาคำตอบใน Google (57%) เกี่ยวกับวิธีการผนวกรวมอุปกรณ์ส่วนตัวเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานไอทีขององค์กร

“ผมได้พูดคุยกับผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอที ระบุตรงกันว่าปัญหาท้าทายที่เกิดจากการหลั่งไหลของอุปกรณ์ส่วนตัวเข้าสู่สถานที่ทำงานเป็นเรื่องที่ไม่อาจละเลยได้อีกต่อไป วีเอ็มแวร์นำเสนอโซลูชั่นคลาวด์ที่จะช่วยเสริมศักยภาพให้แก่องค์กรและฝ่ายไอทีในการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ภายใต้ไลฟ์สไตล์ในรูปแบบใหม่” ดร. ชวพล กล่าวเพิ่มเติม

เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจและดึงดูดพนักงาน

นอกจากนี้ ผลการศึกษาประจำปี 2556 ยังระบุถึงความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างอิสระทางด้านไอทีกับความพึงพอใจในการทำงาน โดย 81% ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยชอบที่จะทำงานในบริษัทที่เปิดโอกาสให้พนักงานเลือกใช้ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ตามที่ตนเองต้องการ และผู้ตอบแบบสอบถาม 7 ใน 10 คนมองว่าองค์กรที่มีลักษณะเช่นนี้เป็นองค์กรที่ก้าวหน้าและมีพลังในการขับเคลื่อนมากกว่า

“บุคลากรคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานตามเวลาที่ตนเองสะดวก ในทุกๆ ที่ และบนทุกอุปกรณ์ นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่พนักงานไม่สามารถเดินทางไปทำงานที่บริษัทได้ เช่น เมื่อเกิดน้ำท่วมหรือเหตุจลาจล หากบริษัทสามารถหาช่องทางที่จะทำให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วยการจัดสรรแอพพลิเคชั่นที่ต้องใช้ในการทำงานบนอุปกรณ์ส่วนตัว ลองนึกดูว่าจะส่งผลดีมากแค่ไหนต่อผลประกอบการของบริษัท รวมไปถึงการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ” ดร. ชวพล กล่าว

นอกจากข่าวประชาสัมพันธ์ผลการสำรวจนี้ฯ วีเอ็มแวร์ยังได้เปิดตัว VMware Horizon? Suite ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดสำหรับการรองรับการทำงานแบบโมบิลิตี้ของบุคลากร โดยโซลูชั่นดังกล่าวซึ่งประกอบด้วย VMware Horizon Workspace?, VMware Horizon View? และ VMware Horizon Mirage? จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้ระบบประมวลผลของผู้ใช้ พร้อมทั้งเสริมศักยภาพด้วยการเชื่อมต่อผู้ใช้เข้ากับข้อมูล แอพพลิเคชั่น และเดสก์ท็อปบนทุกอุปกรณ์ โดยไม่บั่นทอนความปลอดภัยและการควบคุมระบบไอที

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

รีเบคคา วอง

ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสัมพันธ์ วีเอ็มแวร์ ภูมิภาคอาเซียน

อีเมล์: [email protected]

โทรศัพท์ +65 6501 2135

ภัทธิรา บุรี / คุณอุทัยวรรณ ชูชื่น

บริษัท พีอาร์ วัน เน็ทเวิร์ค จำกัด

อีเมล์: [email protected], [email protected]

โทรศัพท์ 0-2937-4518-9

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ