กสอ. เร่งปั้น อุตสาหกรรมสังฆภัณฑ์ ดันไทยเบอร์สู่ 1 ในตลาด AEC

พฤหัส ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๑๔:๓๔
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมชี้ตลาดรวมของอุตสาหกรรมสังฆทานและชุดสังฆภัณฑ์เป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง เนื่องจากในปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนที่ให้ความสนใจในการเข้าวัดเพื่อทำบุญกันมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากอยู่ในประเทศแถบอาเซียน ซึ่งในประเทศไทยประชากรกว่าร้อยละ 90 นั้นนับถือศาสนาพุทธ ประเทศลาว ก็มีประชากรกว่าร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ ประเทศพม่ามีประชากรกว่าร้อยละ 90 ที่นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกัน สำหรับวันมาฆบูชา หนึ่งในวันสำคัญทางศาสนาของไทย ส่งผลให้ยอดขายผลิตภัณฑ์สังฆทานและชุดสังฆภัณฑ์เติบโตได้กว่า20-30% อย่างไรก็ตาม กสอ. แนะผู้ประกอบการ ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปในทิศทางที่ต่างจากเดิม เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทยรวมถึงประเทศอาเซียน เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีศักยภาพ โดยแบรนด์ไทยอย่างพุทธรักษา สามารถสร้างความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ได้อย่างลงตัวด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์สำหรับพระสงฆ์ ภิกษุณี สามเณร และผู้ปฏิบัติธรรม ที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา โดยเปลี่ยนแนวความคิดการทำบุญแบบเดิมให้หันมาสนใจถึงประโยชน์ และสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้ที่ได้รับ อย่างแชมพูสมุนไพร ที่แก้ปัญหาหนังศีรษะ ลดอาการคัน ชันตุ สบู่เหลวสมุนไพรขมิ้น ลดปัญหากลิ่นกาย อาการคัน ลดคราบเหงื่อไคล ล้างออกได้ง่าย น้ำยาซักจีวร ขจัดเชื้อโรคและกลิ่นอับแม้ตากในที่ร่ม น้ำมันเหลืองสมุนไพร ผลิตจากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ช่วยลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวด บวม คลายเส้น ผ้าจีวรที่ผลิตขึ้นเป็นพิเศษด้วยเส้นใยจากธรรมชาติและผลิตตามสีที่ถูกต้องตามข้อปฏิบัติของแต่ละนิกายโดยพุทธรักษาได้เข้าร่วมโครงการกับ กสอ. จำนวน 2 โครงการ คือ

โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) ซึ่งทำให้แบรนด์พุทธรักษาสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างความแตกต่างตลอดจนการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโครงการ AEC ที่ทำให้เห็นโอกาสทางการตลาดในตลาดประเทศอาเซียนส่งผลให้ในปัจจุบัน สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศพม่าได้ โดยได้รับความนิยมจากพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก และคาดว่าจะมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศอื่นอีกด้วยอย่างลาวและเวียดนาม

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการกับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือขอรับคำปรึกษาแนะนำ ในด้านการพัฒนาธุรกิจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายเลขโทรศัพท์02 202 4564 , 4579 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th

นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชานี้ส่งผลให้ตลาดรวมของธุรกิจสังฆทานและชุดสังฆภัณฑ์มีความคึกคักมากขึ้น และคาดว่าจะส่งผลให้ยอดขายเติบโตกว่า 20-30% จากช่วงปกติ ซึ่งเห็นได้จากกลุ่มลูกค้าที่จับจ่ายซื้อสินค้าในช่วงวันหยุดตามห้างสรรพสินค้าและร้านตัวแทนจำหน่ายเครื่องสังฆภัณฑ์ ซึ่งในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า มีพุทธศาสนิกชนที่ให้ความสนใจในการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันสำคัญทางศาสนากันมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยกว่าร้อยละ 90 นั้นนับถือศาสนาพุทธ และประเทศในแถบเอเชียโดยส่วนใหญ่อย่างประเทศลาว ก็มีประชากรกว่าร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ ประเทศพม่ามีประชากรกว่าร้อยละ 90 ที่นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกัน และมีลักษณะการทำบุญที่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้ธุรกิจสังฆทานและชุดสังฆภัณฑ์นั้น อาจเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง และน่าจับตามอง ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงอยากผลักดันให้ธุรกิจกังกล่าวแผ่ขยายในวงกว้างสู่ประเทศแถบอาเซียนเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ได้

นายโสภณ กล่าวต่อว่า สำหรับธุรกิจสังฆทานและชุดสังฆภัณฑ์นั้น ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปในทิศทางที่ต่างจากเดิม เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทยรวมถึงประเทศอาเซียน สามารถสร้างทางเลือกใหม่ให้กับพุทธศาสนิกชนได้ ซึ่งผู้ประกอบการอาจต้องมีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้แน่ชัด ความต้องการในผลิตภัณฑ์ของผู้ซื้อ ตลอดจนรูปแบบสินค้าที่ใหม่ แตกต่างสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน และที่สำคัญพระสงฆ์ ภิกษุณี สามเณร ตลอดจนผู้ปฏิบัติธรรมต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งหากเป็นนิกายที่ค่อนข้างเคร่งครัดในเรื่องของหลักปฏิบัติแล้วนั้น สิ่งของที่พระสงฆ์ ภิกษุณี สามเณรจะนำไปใช้ได้เพียงบางอย่างที่จำเป็นเท่านั้น จุดนี้จึงเป็นสิ่งที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพยายามหาแนวทางในการปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์สังฆทานและชุดสังฆภัณฑ์ รวมถึงการให้คำชี้แนะ และคำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการกับทางกรม ให้สามารถเข้าแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดในแถบประเทศอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการธุรกิจสังฆทานและชุดสังฆภัณฑ์ไทยภายใต้แบรนด์ พุทธรักษา ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างโดดเด่น และได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากทั้งกลุ่มตลาดไทยและตลาดอาเซียน

นายวรชัญญ์ ศรีวิเชียรเจ้าของแบรนด์พุทธรักษา กล่าวว่า ตนเองและเพื่อนชื่นชอบในการทำบุญ จึงมีความคิดที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ถวายพระสงฆ์ ภิกษุณี สามเณรขึ้นมา ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เคยขายในท้องตลาดนั้น ตนเองมองว่าบางผลิตภัณฑ์ พระสงฆ์นั้นไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมพุทธศาสนา และได้ร่วมกันคิดผลิตภัณฑ์

สำหรับพระสงฆ์ ภิกษุณี สามเณร และผู้ปฏิบัติธรรม ที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา โดยเปลี่ยนแนวความคิดการทำบุญแบบเดิมให้หันมาสนใจถึงประโยชน์ และสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้ที่ได้รับ ภายใต้ผลิตภัณฑ์ชื่อ “พุทธรักษา”

ซึ่งการได้รับใช้พระพุทธศาสนาใต้ร่มกาสาวพัสตร์เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด สำหรับผู้ที่ได้นับถือศาสนาพุทธ ซึ่ง พุทธศาสนิกชนควรสรรหาแต่สิ่งที่ดีที่สุด เพื่อถวายเป็นอามิสทาน และสร้างกุศลผลบุญให้บังเกิดขึ้น

ซึ่งการถวายเครื่องไทยธรรมเป็นการให้กำลังแก่พระสงฆ์ในการปฏิบัติกิจพระศาสนา ช่วยให้พระสงฆ์ทำงานพุทธศาสนา ให้พระศาสนาเจริญงอกงามต่อไป จึงถือได้ว่าร่วมบำรุงพระพุทธศาสนา หรือสืบต่ออายุพระศาสนาด้วย เมื่อพระศาสนาเจริญงอกงามก็แผ่ประโยชน์สุขไปให้แก่ประชาชน เพราะธรรมแผ่ไป ทำให้คนประพฤติดีงามสังคมก็มีความร่มเย็นเป็นสุข เป็นการเกิดขึ้นของกุศลธรรมขยายกว้างขวางออกไป

นายวรชัญญ์กล่าวต่อว่า ผลิตภัณฑ์ของตนได้เข้าร่วมโครงการกับทาง กสอ. ทำให้เกิดโอกาสมากขึ้นทั้งในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการนำออกสู่ตลาดได้อย่างแข็งแกร่ง โดยโครงการที่พุทธรักษาได้เข้าร่วมนั้น มี 2 โครงการด้วยกัน คือ

1. โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) ซึ่งเป็นโครงการที่นำประสบการณ์จากการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการมาบูรณาการกับกิจกรรมสนับสนุนอื่นๆเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการสนับสนุน“ผู้ประกอบการใหม่” ให้สามารถก่อตั้งกิจการได้สำเร็จและดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากที่ตนได้เข้าร่วมโครงการนั้น สามารถทำให้ตนเองเกิดแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น สามารถสร้างความแตกต่างและทราบวิธีการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ตั้งราคาผลิตภัฑ์ได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อ

2. โครงการ AEC เป็นโครงการที่สร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจเมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจเอเซียน โดยโครงการฝึกให้ผู้ประกอบการได้ทำแผนเตรียมความพร้อม (Roadmap) ทั้งเชิงรับและเชิงรุก ตลอดจนแนวทางการสร้างเครือข่ายธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ ทำให้ตนเองมองเห็นโอกาสทางการตลาดในตลาดประเทศอาเซียนมากขึ้น เพราะสามารถวิเคราะห์ถึงกลุ่มเป้าหมายได้ว่ามีความต้องการในผลิตภัณฑ์จำพวกใด เนื่องจากมีประชากรในหลายประเทศอย่างพม่า ลาว เวียดนาม ที่มีประชากรนับถือศาสนาพุทธ ทำให้เราสนใจการส่งออกผลิตภัณฑ์และพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับตลาดได้มากขึ้น

นายวรชัญญ์กล่าวถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์แบรนด์พุทธรักษาว่า ผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้นมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่พระสงฆ์ ภิกษุณี สามเณร และผู้ปฏิบัติธรรมสามารถนำไปใช้ได้ โดยมีแชมพูสมุนไพร ที่แก้ปัญหาหนังศีรษะ ลดอาการคัน ชันตุ เนื่องจากพระท่านไม่มีเส้นผมปกคลุมหนังศีรษะ จึงต้องเผชิญกับสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง

เชื้อโรคต่าง ๆ อยู่เสมอ ใช้แล้วทำให้หนังศีรษะสะอาด ด้วยคุณค่าจากสมุนไพรธรรมชาติ สบู่เหลวสมุนไพรขมิ้น ลดปัญหากลิ่นกาย อาการคัน ลดคราบเหงื่อไคล ล้างออกได้ง่าย น้ำยาซักจีวร ขจัดเชื้อโรคและกลิ่นอับแม้ตากในที่ร่ม น้ำมันเหลืองสมุนไพร ผลิตจากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ช่วยลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวด บวม คลายเส้น แก้จุกเสียด นอกจากนี้ยังมีผ้าจีวรที่ผลิตขึ้นเป็นพิเศษด้วยเส้นใยจากธรรมชาติและผลิตตามสีที่ถูกต้องตามข้อปฏิบัติของแต่ละนิกายอีกด้วย

สำหรับแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดต่างประเทศนั้น พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญมากขึ้น ทั้งพุทธศาสนิกชนชาวไทย ชาวลาว ชาวพม่า ทำให้แบรนด์พุทธรักษามีแผนที่จะบริหารจัดการด้านการตลาดอย่างเต็มรูปแบบ จากปัจจุบันที่มุ่งเน้นการจำหน่ายเพื่อสนับสนุนให้คนไทยที่มีจิตศรัทธาในการทำบุญได้ร่วมทำบุญและเผยแพร่

พระพุทธศาสนาไปพร้อมกัน โดยมุ่งที่จะสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และมีความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันกลุ่มลูกค้านั้นมีทั้งลูกค้าทั่วไป ลูกค้าที่เป็นองค์กรบริษัทเอกชน หน่วยราชการต่างๆ อย่างไรก็ดีจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมลูกค้านิยมทำบุญอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ทำบุญเฉพาะเทศกาลสำคัญ แม้เศรษฐกิจจะค่อนข้างซบเซา แต่พุทธศาสนิกชนก็ยังนิยมทำบุญมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของแบรนด์พุทธรักษานั้นได้ส่งออกไปยังประเทศพม่า และได้รับความนิยมสูง เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ แตกต่างและถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา ที่สำคัญราคานั้นอยู่ในระดับมาตรฐาน โดยในอนาคตอันใกล้นี้ คาดว่าจะมีการส่งออกไปยังประเทศลาว และเวียดนาม ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาธุรกิจ นายวรชัญญ์กล่าวสรุป

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการกับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือขอรับคำปรึกษาแนะนำ ในด้านการพัฒนาธุรกิจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายเลขโทรศัพท์02 202 4564 , 4579 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ