นางจิตรมณี สุวรรณพูล ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษีในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า “เพื่อให้การกรอกข้อมูลในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้ง ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ในปีนี้เป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน โดยเฉพาะการยื่นแบบฯ ของคู่สามีภริยาในการใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย ทั้งผู้ที่กู้ก่อนที่จะแต่งงานกัน หรือผู้ที่กู้หลังแต่งงานแล้วจะใช้สิทธิได้อย่างถูกต้อง จึงขอเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนในแต่ละกรณี ดังต่อไปนี้ ”
ที่ รายการค่าลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืม เพื่อการมีที่อยู่อาศัย ปีภาษี 2554 (ปีที่แล้ว) ปีภาษี 2555 (ปีนี้)
1 ผู้มีเงินได้กู้ยืมคนเดียว เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
2 ผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ เฉลี่ยดอกเบี้ยตามจำนวนผู้กู้ แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท เฉลี่ยดอกเบี้ยตามจำนวนผู้กู้ แต่รวมกัน ไม่เกิน 100,000 บาท
3 ผู้มีเงินได้กู้ยืมหลายแห่ง หักได้ทุกแห่งที่อยู่อาศัย แต่รวมกัน ไม่เกิน 100,000 บาท หักได้ทุกแห่งที่อยู่อาศัย แต่รวมกัน ไม่เกิน 100,000 บาท
4 สามีภริยาร่วมกันกู้ยืมบ้านหลังเดียวกัน และต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ หักคนละกึ่งหนึ่ง แต่รวมกันแล้วต้อง ไม่เกิน 100,000 บาท หักคนละกึ่งหนึ่ง แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
5 สามีภริยาร่วมกันกู้ยืม แต่มีเงินได้ ฝ่ายเดียว ผู้มีเงินได้นาไปลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ผู้มีเงินได้นำไปลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
6 สามีภริยา (คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ เป็นฝ่ายกู้ยืม) หักลดหย่อนไม่ได้ หักลดหย่อนไม่ได้
7 สามีภริยา ต่างฝ่ายต่างกู้ยืม หักคนละกึ่งหนึ่ง แต่รวมกันแล้วต้อง ไม่เกิน 100,000 บาท ต่างฝ่ายต่างนำลดหย่อนในส่วนของตนเองได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
หากผู้เสียภาษีมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดได้ที่สานักงานสรรพากรทุกแห่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนยินดีให้คาแนะนาและชี้แจงด้วยมิตรไมตรี หรือโทรศัพท์สอบถามที่ RD Call Center 1161