บันทึกความร่วมมือดังกล่าวซึ่งมีการลงนามเมื่อเร็วๆนี้ (22 กพ.)โดยนายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง (ขวา) อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กับ Dr.Barbara Igel คณบดีของสำนักวิชาวิทยาการการจัดการ สถาบันเอไอทีในฐานะตัวแทนของรักษาการอธิการบดีสถาบัน เอไอที ศ.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือผ่านการศึกษาต่อเนื่องในระดับบัณฑิตศึกษาและโครงการพัฒนาขีดความสามารถสำหรับบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนการจัดกิจกรรมร่วมกันในด้านการจัดการน้ำเสียชุมชุนแบบกระจายศูนย์ในประเทศไทย
ในพิธีลงนามฯ นายวิเชียร อธิบดีกรมควบคุมมลพิษกล่าวว่ากิจกรรมหลักภายใต้ข้อตกลงของบันทึกความร่วมมือประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตรปริญญาโท ในสาขาการจัดการเมืองและสิ่งแวดล้อมซึ่งได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับบุคลากรภาครัฐที่กำลังทำงานข้อตกลงดังกล่าวยังรวมถึงการที่บุคลากรของ คพ.เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท(ภาคพิเศษ สำหรับคนทำงาน) หรือ Work-Based Executive Master's Degree(WB-EM) ในสาขาการจัดการเมืองและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
หลักสูตรเฉพาะและโครงสร้างที่ยืดหยุ่นจะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรของคพ.ซึ่งมักจะยุ่งกับการงานที่ต้องรับผิดชอบ หลักสูตร WB-EMเน้นการเรียนรู้เชิงประสบการณ์และการประยุกต์ใช้การเรียนรู้กับสภาพแวดล้อมและปัญหาทางด้านอาชีพของบุคลากรหลักสูตรระยะเวลา 1 ปี จะเริ่มในเดือนมิถุนายน โดยจะมีนักศึกษาจากฟิลิปปินส์ พม่า เวียดนาม และไทย ทั้งนี้นักศึกษาจะใช้เวลา 6สัปดาห์ในชั้นเรียน ณ สถาบันเอไอที เพื่อศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและวิชาพื้นฐานต่างๆตลอดจนวิชาเลือกที่มีการออกแบบเป็นพิเศษนอกจากนี้โครงการศึกษาซึ่งจะมีการทำทั้งในภาคสนามและในสถานที่ทำงานจะมีขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคมและตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
นอกจากนี้ กรมควบคุมมลพิษ และสถาบันเอไอทียังได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกันสำหรับความร่วมมือในด้านต่างๆเป็นระยะเวลา 5 ปีในด้านการจัดการน้ำเสียชุมชนแบบกระจายศูนย์โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือร่วมกันด้านการทำวิจัยการจัดสัมมนาและความร่วมมือทางวิชาการอื่นๆ
นายวิเชียร ได้กล่าวในพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจว่างานการจัดการน้ำเสียชุมชนแบบกระจายศูนย์ซึ่งริเริ่มโดย ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพแห่งภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการ ของสำนักวิชาสิ่งแวดล้อมทรัพยากรและการพัฒนาของสถาบันเอไอทีนั้นเป็นส่วนดึงดูดให้ คพ.ตัดสินใจร่วมมือกับสถาบันเอไอที
"จุดมุ่งหมายของความร่วมมือนี้เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของบุคลากรภาครัฐในการควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษในแหล่งน้ำรวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมในเมืองใหญ่วิธีการการจัดการน้ำเสียชุมชนแบบกระจายศูนย์นั้นเป็นวิธีการที่ดีมากและเราหวังว่าบุคลากรของเราจะสามารถเรียนรู้และได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญของสถาบันเอไอทีผ่านความร่วมมือนี้"นายวิเชียรกล่าวเสริม