กทม. จัดอบรมเจ้าหน้าที่ร่วมแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

พุธ ๒๐ เมษายน ๒๐๐๕ ๑๔:๔๐
กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--กทม.
เมื่อวานนี้ (วันที่ 19 เม.ย. 48 เวลา 08.45 น.) ศ.เกียรติคุณ พญ.เพ็ญศรี พิชัยสนิธ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการ อบรม เรื่อง การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยมีนายประวิทย์ ภัทรวิชา ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ พร้อมด้วยคณะแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หัวหน้าภาควิชาหัวหน้ากลุ่มงานหัวหน้าฝ่าย และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมพิธี โอกาสนี้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้บรรยายพิเศษ เรื่อง นโยบายของกรุงเทพมหานครในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ณ ห้องประชุม ชั้น 20 โรงพยาบาลกลาง
ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กล่าวว่า สำนักการแพทย์ กทม. มีภารกิจหลักในการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน ได้จัดตั้งและดำเนินการศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีของโรงพยาบาลในสังกัดมาตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน จากการให้บริการแก่ประชาชน พบว่าการกระทำความรุนแรงต่อบุคคลในครอบครัวยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยตลอด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกระทำต่อเด็กและสตรี กรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งหาวิธีการช่วยเหลือเยียวยาทั้งผู้ถูกกระทำและเป็นผู้กระทำเอง ทั้งนี้เพื่อยุติหรือบรรเทาความรุนแรงที่เกิดขึ้น กองวิชาการสำนักการแพทย์ จึงได้จัดอบรมในเรื่องดังกล่าวให้แก่บุคลากรในสังกัด โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จัดให้แก่ผู้บริหารส่วนราชการ หัวหน้าภาควิชา หัวหน้ากลุ่มงานหัวหน้าฝ่าย และ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้อบรมไปแล้วเมื่อวันที่ 18 มี.ค.48 ที่ผ่านมา สำหรับในครั้งนี้เป็น กลุ่มที่ 2
อบรมให้แก่ทีมสหวิชาชีพ คือ ผู้ปฏิบัติงาน ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การยุติความรุนแรงต่อบุคคลเป็นกระแสที่สังคมตื่นตัวและให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการกระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรี การดำเนินงานด้านการยุติความรุนแรงในครอบครัว เป็นภารกิจที่มีความสำคัญในการช่วยเหลือสังคมโดยตรง เพราะครอบครัวถือเป็นหน่วยที่เล็กและเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของบุคคลในสังคม ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีและคลินิกที่ดำเนินการด้านการแก้ไขและยุติความรุนแรงในครอบครัวของสำนักการแพทย์ จะช่วยในการให้คำปรึกษาปัญหาครอบครัว ตลอดจนการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งผู้กระทำและผู้ที่ถูกกระทำ ซึ่งมีภาคีเกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ กรมคุมประพฤติ NGO ดังนั้นผู้บริหารส่วนราชการ หัวหน้าภาควิชา หัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าฝ่าย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรทราบนโยบาย แนวทางปฏิบัติเพื่อยุติบรรเทาปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ถือว่าเป็นการช่วยสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้หวังว่าในการอบรมครั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการต่อไป--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ