เส้นทางสำหรับผู้หญิงสู่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด

จันทร์ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๓ ๑๔:๕๙
เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ปี 2013 ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมนี้ รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์

ธอร์นตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) เผยผลสำรวจล่าสุดว่าในขณะนี้ ทั่วโลกมีสตรีที่กำลังก้าวเข้าสู่บทบาทผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา โดย 24% ของตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงนั้น มีสตรีเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจาก 21% เมื่อปี 2012 และ 20% เมื่อปี 2011

อย่างไรก็ดี ประเทศกลุ่ม G7 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและมีสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงเวลาที่ผ่านมามีความคืบหน้าของบทบาทสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงช้ากว่าเอเชียและตะวันออกไกลซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวสูง ทั้งนี้ แกรนท์ ธอร์นตัน สนับสนุนให้ธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วก้าวตามให้ทันกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ และควรเล็งเห็นผลประโยชน์จากการที่มีสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก IBR ระบุว่า 24% ของตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงทั่วโลกมีสตรีเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจาก 21% เมื่อปี 2012 และ 20% เมื่อปี 2011 อย่างไรก็ตาม ประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจ G7 อยู่รั้งท้ายประเทศอื่นๆ โดยมีสตรีที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงเพียง 21% เปรียบเทียบกับ 28% ในกลุ่มเศรษฐกิจ BRIC และ 32% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจน 40% ในกลุ่มประเทศบอลติก

สุมาลี โชคดีอนันต์ กรรมการอาวุโสส่วนงานตรวจสอบบัญชีของ แกรนท์ ธอร์นตันประเทศไทย กล่าวว่า “กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งมีการขยายตัวของเศรษฐกิจสูง มีทีมงานผู้บริหารระดับสูงที่มีความหลากหลาย โดยอาเซียนและเอเชียแปซิฟิกมีสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก หรือ 32% และ 29% ตามลำดับ ส่วนประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับที่สูงยิ่งกว่า โดยอยู่ที่ 36% ทั้งนี้ สตรีกำลังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และนำมาซึ่งความสมดุลในขั้นตอนการตัดสินใจ ตลอดจนความราบรื่นในการบริหารองค์กร เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว กลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศกลุ่ม G7 ก็ยังต้องก้าวตามให้ทันและยอมรับบทบาทของสตรี ตลอดจนเสริมทรัพยากรบุคคลที่สำคัญนี้ให้แก่องค์กรเพื่อให้เกิดการเติบโตในระยะยาวและความสามารถในการทำกำไร”

ในการนี้ ประเทศญี่ปุ่น (มีสตรีดำรงผู้บริหารระดับสูง 7% ซึ่งอยู่ในอัตราต่ำที่สุดในทั่วโลก), สหราชอาณาจักร (19%) และสหรัฐอเมริกา (20%) อยู่รั้งท้าย 8 ประเทศที่มีสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงน้อยที่สุด นอกจากนี้ กลุ่มเศรษฐกิจเหล่านี้ยังมีระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำสุด โดย GDP ในประเทศญี่ปุ่น (1.9%) ในสหราชอาณาจักร (-0.1) และในสหรัฐอเมริกา (2.2%) เมื่อปี 2012 นั้นมีการเติบโตในระดับต่ำ ในทางกลับกัน ประเทศที่มีสตรีดำรงผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากที่สุดคือประเทศจีน ซึ่งอยู่ที่ 51% ส่วนการขยายตัวของ GDP เมื่อปี 2012 คาดว่าอยู่ระหว่าง 7-8%

ส่วนประเทศที่ติดอันดับ 10 ประเทศที่มีสตรีดำรงผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากที่สุดยังรวมถึงลัตเวีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวสูง

สถานการณ์ดังกล่าวนั้นมีความชัดเจนยิ่งขึ้นหากพิจารณาจากภาพรวมของคณะกรรมบริษัท โดยกลุ่มประเทศ G7 มีคณะกรรมการบริษัทที่เป็นสตรีเพียง 16% เปรียบเทียบกับ 26% ในกลุ่มเศรษฐกิจ BRIC และ 38% ในกลุ่มประเทศบอลติก

นอกจากนี้ รายงาน IBR ยังเปิดเผยเกี่ยวกับสายงานที่นำเสนอโอกาสที่ดีที่สุดและด้อยที่สุดสำหรับสตรีในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัทและจุดสูงสุดของหน้าที่การงาน

สายงานที่นำเสนอโอกาสที่ดีที่สุด

รายงาน IBR นำเสนอว่าสายงานที่สตรีจะมีโอกาสก้าวเข้าสู่ตำแหน่งสูงสุดได้แก่ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (Chief Finance Officer) ของธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare) ในประเทศจีน

ในจำนวนธุรกิจที่มีสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัทที่สตรีมีโอกาสสูงที่สุดที่จะดำรง ตำแหน่งคือตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (31%)

กลุ่มธุรกิจที่มีอัตราส่วนของสตรีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากที่สุดได้แก่ธุรกิจด้านสุขภาพ (45%)

ประเทศที่มีอัตราส่วนของสตรีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากที่สุดได้แก่ประเทศจีน (51%)

สายงานที่นำเสนอโอกาสที่ด้อยที่สุด

ในทางกลับกัน รายงาน IBR เปิดเผยว่าสายงานที่สตรีจะมีโอกาสน้อยที่สุดในการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งสูงสุดได้แก่ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล (Chief Information Officer) ของธุรกิจเหมืองแร่หรือการก่อสร้างในประเทศญี่ปุ่น

ในจำนวนธุรกิจที่มีสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัทที่สตรีจะมีโอกาสที่ดำรงตำแหน่งน้อยที่สุดคือตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล (6%)

กลุ่มธุรกิจที่มีอัตราส่วนของสตรีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงต่ำที่สุดได้แก่ธุรกิจเหมืองแร่หรือการก่อสร้าง (19% ทั้ง สองกลุ่มธุรกิจ)

ประเทศที่มีอัตราส่วนของสตรีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ต่ำที่สุดได้แก่ประเทศญี่ปุ่น (7%)

จุฬาภรณ์ นำชัยศิริ ผู้อำนวยการด้านธุรกิจการเงิน (Corporate Finance) แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบัน ประเทศจีนเป็นเพียงประเทศเดียวจากทั่วโลกที่กว่าครึ่งของตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงทั้งหมดนั้นมีผู้บริหารสตรีดำรงอยู่ และสิ่งที่น่าประทับใจยิ่งไปกว่านั้นคือในปี 2011 ประเทศจีนมีสตรีที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงเพียง 34% เท่านั้น

“ในช่วงสัปดาห์ที่เราเฉลิมฉลองวันสตรีสากล รายงานของเรายังได้นำเสนอข้อเท็จจริงว่าหลายประเทศยังไม่ค่อยมีความคืบหน้าในเรื่องการยอมรับบทบาทของสตรี โดยประเทศญี่ปุ่นอยู่รั้งท้ายประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นมาเช่นนี้ตั้งแต่ที่เราริเริ่มการสำรวจ IBR มาตั้งแต่ปี 2004 ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยนานับประการที่ขวางกั้นสตรีในประเทศญี่ปุ่นให้ก้าวข้ามอุปสรรคและขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจญี่ปุ่นมีทีมงานผู้บริหารระดับสูงที่ขาดความสมดุลและความหลากหลายที่จำเป็นต่อการผลักดันให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน”

นอกจากนี้ รายงาน IBR ยังนำเสนอว่าอัตราส่วนของสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในแต่ละกลุ่มธุรกิจนั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงที่ดำรงโดยผู้บริหารสตรีในธุรกิจด้านสุขภาพ (45%) นั้นมีจำนวนมากกว่าธุรกิจก่อสร้างหรือเหมืองแร่ (19%) ถึงกว่าสองเท่า

เมเลยา ครูซส์ กรรมการส่วนงานภาษีของ แกรนท์ ธอร์นตันประเทศไทย กล่าวว่า “การที่มีสตรีจำนวนมากขึ้นที่มีความก้าวหน้าในสายงานธุรกิจด้านสุขภาพ มากกว่าสายงานการก่อสร้างหรือเหมืองแร่ซึ่งมีสตรีทำงานอยู่น้อยอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะว่าการที่มีสตรีดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงควรมีความสำคัญยิ่งกว่าการนับจำนวนสตรีที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เนื่องจากสตรีควรได้รับผลตอบแทนในเรื่องความสามารถ และแม้ว่าเส้นทางที่จะก้าวสู่จุดสูงสุดในหน้าที่การงานในบางกลุ่มธุรกิจและบางภูมิภาคนั้นยากลำบากยิ่งกว่าเส้นทางอื่น แต่ทุกธุรกิจย่อมจะได้รับประโยชน์จากการที่มีความหลายหลายยิ่งขึ้นในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ประเทศไทยเองก็นำประเทศอื่นๆ

ทั่วโลกในเรื่องนี้ด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อพิจารณาตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง สำหรับธุรกิจในประเทศไทยแล้วจะพบว่าตำแหน่งที่มักจะมีสตรีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบคือตำแหน่ง CEO โดยอยู่ที่ 49% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทั่วโลก”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version