ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
การปรับอันดับเครดิตของธนาคารไทยทั้ง 3 แห่ง ดังกล่าวเป็นผลจาก การที่ฟิทช์ได้ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว และระยะสั้นของประเทศไทยเป็น ‘BBB+’ จาก ‘BBB’ และเป็น ‘F2’ จาก ‘F3’ ตามลำดับ และปรับเพิ่มเพดานอันดับเครดิต (Country Ceiling) ของประเทศไทยเป็น ‘A-’ จาก ‘BBB+’ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 (ดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่ www.fitchratings.com)
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว และอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ EXIM ได้รับการจัดให้อยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตของประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ที่เห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล หากมีความจำเป็น เนื่องจากการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมดและมีอำนาจควบคุมการบริหารงานในธนาคาร การที่ธนาคารมีสิทธิขอให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ของธนาคารในระดับหนึ่ง รวมทั้งการที่ธนาคารมีสถานะเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFI) และบทบาทที่สำคัญในฐานะองค์กรหลักที่ให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกและนำเข้า
การปรับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ SCBT และ UOBT เป็น ‘A-’ จาก ‘BBB+’ มีผลจากการปรับเพิ่มเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย เนื่องจากอันดับเครดิตของธนาคารซึ่งถือหุ้นโดยต่างชาติทั้งสองแห่งถูกจำกัดโดยเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย ธนาคารแม่ของธนาคารต่างชาติดังกล่าวได้รับการจัดอันดับเครดิตอยู่ที่ระดับสูงกว่าเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย SCBT และ UOBT ได้รับการพิจารณาว่าเป็นบริษัทลูกที่มีความสำคัญทางกลยุทธ์ (strategically important) ต่อธนาคารแม่ และคาดว่าน่าจะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแม่ หากมีความจำเป็น
การประกาศคงอันดับเครดิตของ KTB สะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ที่เห็นว่า KTB มีบทบาทในการดำเนินการตามนโยบายรัฐน้อยกว่า EXIM เนื่องจากKTB มีสถานะหลักเป็นธนาคารพาณิชย์ ดังนั้นอันดับเครดิตของKTB เริ่มมีความแตกต่างจากอันดับเครดิตของประเทศไทยเมื่ออันดับเครดิตของประเทศได้รับการปรับอันดับเพิ่มขึ้นไปในระดับที่สูง ขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการจัดอันดับเครดิตของธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงิน (รวมถึงธนาคารที่มีหน้าที่ดำเนินการตามนโยบายรัฐเป็นครั้งคราว ที่มีการถือหุ้นโดยรัฐต่ำกว่า 100%) ในประเทศที่มีอันดับเครดิตสูง ทั้งนี้เนื่องจากการความจำเป็นในการพึ่งพาธนาคารดังกล่าวจากภาครัฐในการดำเนินนโยบายอาจลดลง อย่างไรก็ตามอันดับเครดิตของ KTB ยังคงมีพื้นฐานมาการสนับสนุนจากรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลถือหุ้นส่วนใหญ่ของธนาคาร พร้อมทั้งควบคุมกำกับอย่างใกล้ชิด รวมถึงการสนับสนุนจากรัฐบาลในอดีต และความสำคัญของธนาคารต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต - อันดับเครดิตสากลและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
การเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของประเทศไทยจะทำให้อันดับเครดิตสนับสนุน และ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ EXIM ได้รับการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกัน อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงของมุมมองของฟิทช์ต่อความสามารถของรัฐบาลไทยในการสนับสนุน EXIM รวมไปถึง การลดลงของสัดส่วนการถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญอาจส่งผลลบต่ออันดับเครดิตของธนาคารได้
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของธนาคารแม่ของ SCBT และ UOBT หรือระดับการสนับสนุน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตของธนาคารแม่ อาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตของธนาคาร นอกจากนี้ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ SCBT และ UOBT ยังถูกจำกัดโดยเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงเพดานอันดับเครดิตของประเทศ อาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ ธนาคารทั้งสองแห่งได้เช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมของอันดับเครดิตของประเทศไทย อาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตสนับสนุน ของ KTB เนื่องจากอันดับเครดิตของ KTB สะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ที่เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล หากมีความจำเป็น
รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมด มีดังนี้
EXIM:
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวปรับเพิ่มเป็น ‘BBB+’ จาก ‘BBB’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นปรับเพิ่มเป็น ‘F2’ จาก ‘F3’
- อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘2’
- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำปรับเป็น ‘BBB+’ จาก ‘BBB’
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’
SCBT:
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวปรับเพิ่มเป็น ‘A-’ จาก‘BBB+’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F2’
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘A+’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1’
- อันดับเครดิตสนับสนุนปรับเพิ่มเป็นอันดับที่ ‘1’ จาก ‘2’
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’
UOBT:
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวปรับเพิ่มเป็น ‘A-’ จาก‘BBB+’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F2’
- อันดับเครดิตสนับสนุนปรับเพิ่มเป็นอันดับที่ ‘1’ จาก ‘2’
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’
KTB:
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘BBB’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F3’
- อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘2’
- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ ‘BBB’
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AA+(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’