สยามเทค เปิด “โครงการเสริมศักยภาพด้านฝีมือช่างเทคนิคยานยนต์” เทรนด์ใหม่ของการเรียนรู้

จันทร์ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๓ ๑๕:๒๔
ก้าวสู่ศักราชใหม่ด้วยความสดใส พร้อมหัวใจที่มุ่งมั่นและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ต้องก้าวไกล ใฝ่หาความรู้ ทั้งทักษะฝีมือที่โดดเด่น เพื่อมุ่งสู่การแข่งขันที่จะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC หลายภาคส่วนกำลังเตรียมพร้อมและตื่นตัวกันมากมาย

และด้วยวิสัยทัศน์ของนักบริหารไฟแรง ผศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) ผู้ไม่เคยหยุดนิ่ง มุ่งมั่นพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนมีคุณภาพ ทั้งสติปัญญา ทักษะฝีมือระดับมาตรฐานสากล ดังนั้นในปีที่ผ่านมาได้มีการลงนามสัญญากับหลายหน่วยงานจากประเทศเยอรมนี เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของด้านช่างอุตสาหกรรมและเครือข่ายการศึกษาระบบทวิภาคีนานาชาติ อาทิ มหาวิทยาลัย วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ฮอฟ และมหาวิทยาลัยโรเซนไฮม์ ตลอดทั้งสมาพันธ์คุณวุฒิวิชาชีพ และบริษัทชั้นนำอาทิ Siemens เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้ง ‘ศูนย์เทคโนโลยีและการศึกษาระบบทวิภาคี ไทย - เยอรมัน’ เพื่อยกระดับด้านการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล อีกด้วย ประกอบกับขณะนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เป็นอุตสาหกรรมดาวเด่นแห่งปี 2556 ด้วยยอดซื้อและสั่งจองในงานมหกรรมยานยนต์ครั้งล่าสุดที่ผ่านมา ทะลุเป้าถึงล้านกว่าคัน และยังมีโครงการขยายตัวด้านรถไฟระบบรางและการขนส่งระบบราง ดังนั้นภารกิจใหญ่ในอนาคต คือสร้างบุคลากรและแรงงานในภาคอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งมีความต้องการไม่ต่ำกว่าสองแสนคน จึงเป็นโอกาสทองของสถาบันต่างๆ ที่จะต้องเร่งพัฒนาบุคลากรสายช่างเทคนิคยานยนต์ ให้ทันกับความต้องการของตลาดแรงงาน

ผศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช จัด “โครงการเสริมศักยภาพด้านฝีมือช่างเทคนิคยานยนต์” รองรับตลาดรถยนต์บูม กล่าวว่า- -

“เนื่องจากนโยบายรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการคืนภาษีสรรพสามิตให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรก ทั้งการฟื้นฟูการผลิตหลังประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ความต้องการซื้อของลูกค้าพุ่งขึ้นสูงมาก ตลาดรถยนต์เติบโตสูงเป็นประวัติการณ์ ดังนั้นอาชีพช่างเทคนิคเกิดการขาดแคลนในภาวะตลาดรถขยายตัว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอู่ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่จะเผชิญกับปัญหาบุคลากรด้านนี้อย่างแน่นอน โอกาสในการประกอบกิจการด้านนี้ก็มีสูงขึ้น

...และในฐานะที่เป็นสถาบันผลิตบุคลากรช่างอุตสาหกรรม จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา ในการที่จะเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะฝีมือระดับมาตรฐานสากล ซึ่งในปัจจุบันมีนักศึกษารุ่นใหม่ๆ สนใจเรียนช่างยนต์มากขึ้น ผู้เรียนสามารถที่จะไปประกอบอาชีพได้เลย เพราะในปีนี้วิทยาลัยฯ ได้จัดตั้ง ‘ ศูนย์เทคโนโลยีและการศึกษาระบบทวิภาคี ไทย - เยอรมัน’ พร้อมร่วมมือกับหลายหน่วยงานจากประเทศเยอรมนี โดยนำต้นแบบจากเยอรมันที่ประสบความสำเร็จแล้วมาใช้กับที่นี่ Work Ethics คือ วินัยการทำงาน โดยเรียนวิชาการและไป

ปฏิบัติเป็นพนักงานจริงกับสถานประกอบการ โดยได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการ ไม่ว่าจะเป็น Isuzu, Honda, BMW หรือ BTS เรียกระบบนี้ว่า ระบบทวิภาคี ซึ่งเมื่อเด็กจบไปแล้ว สามารถทำงานได้จริงๆ โดยเฉพาะช่างเทคนิคยานยนต์ โดยที่ผ่านมานักศึกษามากกว่า 95 % ได้งานทำก่อนจบการศึกษา และยังได้จัดทำโครงการพัฒนานักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ หรือเจ้าของอู่อีกด้วย ”

ดร.ไมเคิล กรอช รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีและการศึกษาระบบทวิภาคี ไทย — เยอรมัน กล่าวเสริมว่า การศึกษาสายอาชีพของเยอรมัน จะเรียนวิชาการ 2 วัน และทำงาน 3 วัน ซึ่งผู้เรียนจะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนพนักงาน และมีรายได้ด้วย และในปีการศึกษาหน้า จะทำเต็มรูปแบบในระบบทวิภาคีให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรด้วย สำหรับน้องๆ นักศึกษาที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ต่างมุ่งมั่นและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ เพื่อเพิ่มเสริมทักษะของตนเองอย่างขยันขันแข็ง โดย อมฤต เตชะรัตนะนำชัย อายุ 19 ปี ปวส.2 สาขาเทคนิคยานยนต์ บอกเล่าว่า- -

“ตอนเด็กๆ ผมชอบเรื่องรถยนต์ รถแต่งมาก ก็เลยเลือกเรียนด้านนี้ สิ่งที่ได้เรียนมาได้รับความรู้ใหม่ๆ มากมาย ทั้งซ่อมเครื่อง ตรวจสอบเช็คสภาพต่างๆ ได้ เรียกว่าเป็นหมดทุกอย่าง และตอนนี้ได้เข้าร่วมโครงการนี้ปฏิบัติงาน 2 เดือน จะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น

...และยิ่งประเทศจะเข้าสู่ เออีซี ผมคิดว่าช่างเทคนิคอย่างพวกเราฝีมือก็ไม่ได้เป็นรองใคร แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมเรื่องภาษาอังกฤษให้มากขึ้นครับ”

ต๊อป-หัสดินทร์ เหมทอง อายุ 20 ปี ปวส.2 สาขาเทคนิคยานยนต์ กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้ลงมือทำ เป็นความรู้ทั้งนั้น หากฝึกทำบ่อยๆ ทักษะความชำนาญก็ยิ่งมากขึ้น

“ที่สำคัญเราต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะรถยนต์สมัยใหม่จะเป็นระบบไฟฟ้า ซึ่งเราต้องหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ผมดีใจที่ทุกวันนี้ ผมมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะเสาร์-อาทิตย์ผมจะรับงานซ่อมรถเป็นประจำ

...ช่างยนต์ควรจะพัฒนาฝีมือของตนเองอยู่ตลอดเวลา และต้องเรียนรู้เทคนิคใหม่เพิ่มเติม เพื่อให้ก้าวทันกับโลกยุคใหม่”

ปอ-พงษ์พันธุ์ อยู่สบาย อายุ 20 ปี ปวส.2 สาขาเทคนิคยานยนต์ เยาวชนรุ่นใหม่อีกคนที่กล้าคิดกล้าทำ ‘ผมแบ่งเวลาเป็น เรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่น’ ปอกล่าว

“ผมคลุกคลีด้านรถยนต์มาตั้งแต่ 5 ขวบ เพราะคุณพ่อเปิดอู่ซ่อมรถ ผมก็ช่วยมาตลอด หากเป็นรถรุ่นใหม่ๆ ก็ต้องหาความรู้เพิ่มเติม ยิ่งตอนนี้เรียนมา 5 ปี ได้รับความรู้มากมาย แล้วยิ่งโครงการนี้ก็ยิ่งเพิ่มทักษะของเราเพิ่มขึ้นไปอีก

...คนเป็นช่างต้องมีความรู้ รู้เรื่องเครื่องมือ รู้ศัพท์ช่าง และเทคนิคต่างๆ ซึ่งจะเป็นความรู้ติดตัวเราไปตลอด และทุกวันนี้ เราจะหยุดนิ่งไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ฉะนั้นต้องหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา”

เทรนด์ใหม่ของการเรียนรู้ ที่เยาวชนคนรุ่นใหม่จะต้องก้าวทันเทคโนโลยี พร้อมใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ

เผยแพร่ข่าวในนาม : วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) โทร. 0 2864 0358-67

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้