กลุ่มทรู ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ประกาศผลผู้ชนะเลิศ “พิราบน้อย” ประจำปี 2555 สร้างสรรค์สื่อมวลชนคุณภาพสู่โลกการข่าว

อังคาร ๑๒ มีนาคม ๒๐๑๓ ๑๓:๓๖
บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย ดร.กันทิมา กุญชร ณ อยุธยา (ยืนที่ 7 จากขวา) ผู้อำนวยการด้านสื่อสารองค์กร ประชาสัมพันธ์การตลาด และกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม กลุ่มบริษัททรู ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดย นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี (ยืนที่ 6 จากซ้าย) นายกสมาคมฯ แสดงความยินดีพร้อมมอบทุนการศึกษา แก่นิสิตนักศึกษาผู้ชนะรางวัลเกียรติยศ “พิราบน้อย” ประจำปี 2555 ซึ่งกลุ่มทรูได้ให้การสนับสนุนการประกวดดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2536 เพื่อเป็นเวทีเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วิชาชีพ

ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศ ได้ร่วมส่งผลงานหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติประจำมหาวิทยาลัย เข้าประกวดจำนวนทั้งสิ้น 14 ฉบับ จาก 14 มหาวิทยาลัย โดยแบ่งเป็นผลงานประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ จำนวน 32 ชิ้นงาน จาก 12 มหาวิทยาลัย ประเภทสารคดีเชิงข่าว จำนวน 31 ชิ้นงาน จาก 13 มหาวิทยาลัย และประเภทข่าวสิ่งแวดล้อม จำนวน 26 ชิ้นงาน จาก 13 มหาวิทยาลัย โดยผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิจากวิชาชีพสื่อสารมวลชน มีดังนี้

รางวัล “หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ” ดีเด่น

ได้แก่ “หนังสือพิมพ์หอข่าว” โดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

รับโล่เกียรติคุณ พร้อมทุนการศึกษา มูลค่า 20,000 บาท

รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่

- หนังสือพิมพ์จันทรเกษมโพสต์ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

- หนังสือพิมพ์บัณฑิตย์โพสต์ โดย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

รับโล่เกียรติคุณ พร้อมทุนการศึกษา มูลค่ารางวัลละ 10,000 บาท

รางวัล “ข่าวฝึกปฏิบัติ” ดีเด่น

ได้แก่ เรื่อง “วิกฤติกระเป๋า นร.ไทย” โดย หนังสือพิมพ์หอข่าว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

รับโล่เกียรติคุณ พร้อมทุนการศึกษา มูลค่า 15,000 บาท

รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่

- เรื่อง ‘แฉภัยมืดสื่อออนไลน์นักวิชาการแนะวัยรุ่นสร้างภูมิรู้เท่าทันสื่อ’ โดย หนังสือพิมพ์หอข่าว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

- เรื่อง ‘วิชาเรียนรวมล้มเหลว’ โดย หนังสือพิมพ์กำแพงแดง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

- เรื่อง ‘ชูชัยบุรี ทำลายวิถีอัมพวา’ โดย หนังสือพิมพ์จันทรเกษมโพสต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

รับโล่เกียรติคุณ พร้อมทุนการศึกษา มูลค่ารางวัลละ 7,500 บาท

รางวัล “สารคดีเชิงข่าว” ดีเด่น

ได้แก่ เรื่อง “ภาพสะท้อนคนงานข้ามชาติ ... เชียงใหม่” โดย หนังสือพิมพ์อ่างแก้วมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รับโล่เกียรติคุณ พร้อมทุนการศึกษา มูลค่า 5,000 บาท

รางวัลชมเชย ได้แก่

- เรื่อง ‘น้ำตาจากมือหมอ เชื่อใจไว้ใจสิ้นใจ’ โดย หนังสือพิมพ์นิสิตนักศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รับใบประกาศเกียรติคุณ

รางวัลประเภทข่าวสิ่งแวดล้อม

ปีนี้ ไม่มีผลงานใดได้รับรางวัลดีเด่น

มีเพียงรางวัลชมเชยเพียงรางวัลเดียว ได้แก่

- เรื่อง ‘คดีฟ้องโรงงานน้ำตาลวังขนาย’ โดย หนังสือพิมพ์อินทนิล จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รับโล่เกียรติคุณ พร้อมทุนการศึกษา มูลค่ารางวัลละ 5,000 บาท

โครงการ “พิราบน้อย” เป็นความร่วมมือของสถาบันวิชาชีพสื่อมวลชนด้านหนังสือพิมพ์ กับองค์กรภาคเอกชน บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้สนับสนุนโครงการเพียงรายเดียวมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2536 เพื่อมุ่งส่งเสริมให้เยาวชนที่ศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ มีจิตสำนึกของการนำเสนอข่าวสารอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่าน 2 กิจกรรมหลัก การประกวดหนังสือพิพม์/ข่าว/สารคดีเชิงข่าว/ข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ “รางวัลพิราบน้อย” และการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักข่าวพิราบน้อย” ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ. 2538 เพื่อฝึกฝนทักษะ ทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ความชำนาญและเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วิชาชีพสื่อสารมวลชนในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ