“มันมากับความเหมียว” สะกิดต่อมกวน-ชวนฮาน้ำตาเล็ด!!! ความมันส์...ฉบับใหม่ใน สนพ.“อะบุ๊ก”

พุธ ๑๓ มีนาคม ๒๐๑๓ ๑๕:๕๒
ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นกับหนังสืออารีดม-อารมณ์ดีหลากหลายเล่ม ทั้ง สิ่งมีชีวิตในโรงแรม, ตะคริว ณ นิ่วใจ, กรุณาอย่ารบกวน, ซากะ อาโออิ, และ มันเดย์(วีคลีย์ดิจิทัลแมกกาซีน) งานเขียนสุดยียวนของนักเขียนมาดกวน “วิชัย มาตกุล” ล่าสุดยังมันมือส่งหนังสือ “มันมากับความเหมียว” จากสำนักพิมพ์ “อะบุ๊ก” ชวนผู้อ่าน ‘เม้าท์แมว’ พร้อมทำความรู้จักกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “แมว” ที่สำคัญเล่มนี้ไม่ได้มีแค่หนึ่ง แค่สอง แต่เป็นตองสาม!!! ยกก๊วนแมวกำลัง 3(ตัว)และผองเพื่อนพร้อมสะกิดต่อมกวนชวนฮาน้ำตาเล็ดกับเรื่องราวชวนหัวและความกวนสุดติ่งชนิดเกินพิกัด จุดเด่นในพ็อกเก็ตบุ๊กฉบับนี้ “วิชัย” แนะนำให้รู้จักกับ “บุญเอิญ” แมวดำอกขาว ตัวเล็กแกร็นเป็นปลาเส้นขาดสารอาหาร และผองเพื่อนที่ยกโขยงกันมาสร้างเสียงหัวเราะอย่างพร้อมเพรียง ทั้ง “ลูกพี่” แมวลายเสือ และ “พระเอก” แมวอ้วนขาวส้ม คำเตือน 3 ตัวนี้รวมตัวกันเมื่อไหร่เป็นได้ก่อเรื่องวุ่นวายทุกกกที อ่านดูแล้วจะรู้ว่า “การเลี้ยงแมวมีความเสี่ยง และแมวเอาแต่ใจตัวเองมากกว่าหมา” นอกจากนี้ “วิชัย” จับคู่ “ภูภู่ฯ” นักวาดภาพประกอบมือฉกาจมาช่วยเนรมิตสีสันให้ 3 เหมียวมีชีวิตเป็นตัวเป็นตนบนหน้าหนังสือด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ