ผลการพิจารณาซึ่งสรุปโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัด คือ
1 ที่ประชุมและผู้บริหารหรือผู้ดูแลรับผิดชอบที่ดินที่ขอใช้ ประโยชน์ (สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา) และสำนักส่งเสริมและพัฒนา ไม้เศรษฐกิจนครราชสีมาขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หรือ (อ.อ.ป.) เห็นชอบกับการขอใช้ประโยชน์ที่ดินทั้ง 2 แปลง จำนวน 333 ไร่ และ 115 ไร่ ตามลำดับ โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่าแปลงแรกมหาวิทยาลัยควรขอใช้ พื้นที่ทั้งหมดของแปลง คือ 624 ไร่ (333 ไร่ + พื้นที่ที่เอกชนบุกรุกด้วย) โดยทางกำนันตำบลโคกกรวด นายสมศักดิ์ กาญจนวัฒนา อาสาจะเป็น ผู้เจรจาไม่ให้มีปัญหากับผู้บุกรุก และในการดำเนินการขอใช้ประโยชน์ ให้มหาวิทยาลัยแต่งตั้งกรรมการจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในจังหวัดและท้องถิ่น ปฏิบัติงานตั้งแต่การตรวจสอบพื้นที่ การทำประชาคมเรื่องรูปแบบและ ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน การทำโครงการขอใช้ประโยชน์และอื่นๆ โดยทำหลักฐานและทำตามขั้นตอนในระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการใช้พื้นที่ฯ ภายในเขต ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2548 รวมทั้งระเบียบของ อ.อ.ป.
2. ที่ประชุมมอบหมายให้ทางสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ประสานการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งอุทยานธรณี จังหวัดนครราชสีมาและกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ กับหัวหน้ากลุ่ม ทรัพยากรบุคคล นายอัสนีย์ เชาว์วาทิน ของสำนักงานจังหวัด นครราชสีมา
ติดต่อ:
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โทร.044-09009