สยามเทค เปิดฟ้ากว้าง สานสัมพันธ์ ‘ไทย — เยอรมัน’ สู่การเรียนรู้ด้วยระบบทวิภาคี รู้จริง...ทำจริง

จันทร์ ๑๘ มีนาคม ๒๐๑๓ ๑๗:๓๙
ด้วยสายสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เยอรมัน ได้เริ่มต้นขึ้นในปี 2405 จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลายาวนานถึง 150 ปี โดยประเทศเยอรมนีและไทยได้ประสานความร่วมมือกันมาอย่างยาวนานในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยทางสิ่งแวดล้อม การพาณิชย์ การฝึกอบรมวิชาชีพ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งในปัจจุบันความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของทั้งสองประเทศได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง และกำลังจะมีบทบาทอย่างมากก็คือ เรื่องของการศึกษาแบบทวิภาคี (Dual Education) เป็นแนวทางที่ผสานระบบการเรียนรู้ทฤษฎีเข้าด้วยกันกับการฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จทางธุรกิจหรืออาชีพการงานได้อย่างมั่นใจ

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(สยามเทค) สถาบันที่ผลิตบุคลากรทางด้านช่างอุตสาหกรรมมาเป็นเวลาเกือบ 5 ทศวรรษ และพร้อมที่จะมุ่งมั่นพัฒนาเสริมสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนมีคุณภาพ ทั้งสติปัญญา ทักษะฝีมือระดับมาตรฐานสากล ผศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) จึงได้จัดตั้งและเปิดตัว ‘ศูนย์เทคโนโลยีและการศึกษาระบบทวิภาคี ไทย - เยอรมัน’ อย่างเป็นทางการ โดยงานนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.อิงโก วิงเคิลมันน์ อัครราชทูตที่ปรึกษา และอุปทูต ประจำสถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดงาน พร้อมแขกผู้มีเกียรติจากสมาพันธ์คุณวุฒิวิชาชีพ สภาหอการค้าไทย-เยอรมัน และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ จัดสัมมนาความร่วมมือไทย-เยอรมัน ในการพัฒนาอาชีวศึกษาและระบบทวิภาคี แล้วหลังจากนั้นร่วมเปิดศูนย์ฯ ณ ศูนย์สยามเทค เทคนิคยานยนต์ ( SiamTech Automotive Center )

“สำหรับในประเทศเยอรมนี ระบบการศึกษาแบบทวิภาคีเป็นแนวทางที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากบริษัทและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของบุคลากรในฐานะรากฐานที่จะไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้อย่างแน่นอน และนับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เยาวชนจะให้ความสนใจและตื่นตัวในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เพราะการศึกษาแบบทวิภาคี นับเป็นการลงทุนที่ชาญฉลาดสำหรับทั้งเยาวชนรุ่นใหม่และอุตสาหกรรมสมัยใหม่” ดร.อิงโก วิงเคิลมันน์ กล่าว

ผศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) ผู้มีบทบาทเสริมสร้างพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่ทางด้านช่างอุตสาหกรรม กล่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยจะเป็น HUB ด้านช่างอุตสาหกรรมสำคัญในโอกาสที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การพัฒนาคนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผ่านมาเยอรมนีประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนและฝึกอบรมอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก ดังนั้นในการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพมีทักษะฝีมือสู่มาตรฐานระดับสากล จึงได้จัดโครงการส่งเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะฝีมือสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ซึ่งการลงทุนในการพัฒนาคนถือว่าเป็นการลงทุนที่ยั่งยืน และอาจกล่าวได้ว่า หัวใจสำคัญของการเรียนอาชีวะคือการเรียนแบบทวิภาคี

“การจัดตั้ง ‘ ศูนย์เทคโนโลยีและการศึกษาระบบทวิภาคี ไทย - เยอรมัน’ เพื่อยกระดับพร้อมพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้โดยร่วมมือกับหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและองค์กรต่างๆ ของประเทศเยอรมนี ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ตลอดจนระบบการศึกษาทวิภาคี โดยประยุกต์ใช้ของเยอรมันที่ประสบความสำเร็จแล้วมาใช้กับที่นี่ โดยเรียนวิชาการและไปปฏิบัติเป็นพนักงานจริงกับสถานประกอบการ ซึ่งได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการ และเมื่อเด็กจบไปแล้ว สามารถทำงานได้จริงๆ โดยที่ผ่านมานักศึกษามากกว่า 95 % ได้งานทำก่อนจบการศึกษา

...โดยจุดเริ่มแรกจะเน้นในการผลิตบุคลากรด้านช่างอุตสาหกรรมยานยนต์ก่อน เนื่องจากขณะนี้มีการเจริญเติบโตอย่างมาก พร้อมกันยังรวมถึงอุตสาหกรรมทางด้านรถราง รถไฟฟ้า ทั้งอุตสาหกรรมเครื่องบินและอุตสาหกรรมการเดินเรือ เป็นต้น แล้วหลังจากนั้นจะพัฒนาเยาวชนทางด้านการบริหาร พาณิชยกรรม สารสนเทศ และการโรงแรม ต่อไป

...ถือว่าโครงการนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณภาพบุคลากรทางช่างเทคนิคฝีมือ ทั้งยังได้พัฒนากรอบสมรรถนะสากลมากยิ่งขึ้น จึงเป็นโอกาสในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างเท่าเทียมหรือเหนือกว่า”

นับเป็นโอกาสทองของเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะใส่ใจใฝ่รู้สู่ระดับมาตรฐานสากล พร้อมก้าวมั่นเตรียมตัวให้พร้อมกับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ