ซีพีเอฟเดินหน้าจัดการพลังงานอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

พุธ ๒๐ มีนาคม ๒๐๑๓ ๑๕:๕๐
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดโดยได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้ทุกกระบวนการผลิตสามารถใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนสรรหาเทคโนโลยีใหม่ๆในการผลิตพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง

นายสุชาติ สิทธิชัย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส กล่าวว่า โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ จังหวัดนครราชสีมามีความโดดเด่นด้านการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายการประหยัดพลังงานไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ทำให้ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานมากกว่า 200 โครงการ ยกตัวอย่างเช่น การนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาผลิตเป็นน้ำมัน B100ที่สามารถใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลสำหรับรถบรรทุก รถโฟล์คลิฟท์ และรถกระบะเครื่องยนต์คอมมอนเรลของโรงงานได้ 100% โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ และยังไม่เคยพบปัญหากับเครื่องยนต์เลย นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการผลิตไบโอแก๊สจากระบบบำบัดน้ำ เพื่อนำก๊าซที่ได้จากการบำบัดไปทดแทนน้ำมันเตาสำหรับการผลิตไอน้ำ ซึ่งคาดว่าจะมีผลประหยัดประมาณ 21 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ โรงผลิตน้ำมันไบโอดีเซลของโรงงานซีพีเอฟนครราชสีมา สามารถรองรับน้ำมันพืชใช้แล้ว 100,000 ลิตรต่อเดือน โดยนำน้ำมันพืชใช้แล้วจากกระบวนการแปรรูปอาหารประเภททอด เฉลี่ยเดือนละ 62,000 ลิตร มาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้ทั้งหมด เท่ากับว่าสามารถผลิตน้ำมันไบโอดีเซลใช้ในโรงานได้ถึง 744,000ลิตรต่อปี ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทดีเซลได้ถึงปีละกว่า 1.44ล้านบาท และน้ำมันที่ผลิตได้นี้ยังผ่านการรับรองมาตรฐานไบโอดีเซลชุมชน จากกรมธุรกิจพลังงาน ซึ่งมีความสามารถในการย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ ที่สำคัญโครงการนี้ ยังช่วยตัดตอนน้ำมันทอดซ้ำไม่ให้กระจายสู่ชุมชนและผู้บริโภคคนไทย เนื่องจากน้ำมันพืชใช้แล้ว เป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้บริโภค เพราะในน้ำมันใช้แล้วมีสารก่อมะเร็ง รวมทั้งสารเคมีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการประกอบอาหารที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ถือเป็นอีกความภูมิใจที่ซีพีเอฟมีส่วนในการปกป้องสุขภาพของผู้บริโภค

ด้านนายสมจิตร์ กาฟัก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กล่าวถึง โรงงานผลิตอาหารสัตว์ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาว่าให้ความสำคัญกับการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน การันตีได้จากการคว้ารางวัลEagle Award ชนะเลิศอันดับ 1 ประจำปี 2004 จากความโดดเด่นด้านการออกแบบโรงงานเพื่อการประหยัดพลังงานซึ่งเป็นรางวัลระดับโลกในด้านการConstruction Design Standard จากประเทศสหรัฐอเมริกาขณะเดียวกันยังมีการจัดการและการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง อาทิ การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านพลังงานที่น่าภูมิใจในชื่อ“Economizer หรือ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน”ที่ไม่เพียงช่วยลดการสูญเสียพลังงานความร้อนโดยเปล่าประโยชน์ แต่ยังช่วยลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี

โดยเริ่มจากแนวคิดที่ว่าโรงงานอาหารสัตว์มีการใช้ความร้อนเพื่อเพิ่มอุณหภูมิน้ำให้สูงถึงระดับ 105 องศาเซลเซียส ก่อนส่งเข้าไปในหม้อไอน้ำ หากมีการนำความร้อนที่กระบวนการผลิตปล่อยทิ้งกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่าน Economizerนี้ จะสามารถทำให้น้ำป้อนก่อนเข้าหม้อไอน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นได้ ซึ่งก็จะบรรลุผลใน 2 ด้านคือ ลดความร้อนสูญเปล่าที่ถูกปล่อยทิ้งและลดการใช้พลังงานในการเพิ่มอุณหภูมิน้ำป้อน การนำพลังงานสูญเปล่ากลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิผล ทังนี้ จากการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงงานซีพีเอฟปักธงชัย มีผลประหยัดถึงปีละกว่า 21 ล้านบาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ