ซึ่งมีเนื้อหา ๓ ประเด็น ประกอบด้วย มาตรา ๒๓๗ ประเด็นเรื่องการยุบพรรค มาตรา ๖๘ เรื่องการพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่ควรจะมีความชัดเจนว่าการยื่นตีความรัฐธรรมนูญจะต้องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น และที่มาของส.ว. โดยเห็นว่าส.ว.ควรมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ไม่ควรกำหนดวาระ และ มาตรา ๑๙๐ บางประเด็นไม่ควรเข้าสู่การพิจารณาของสภาแต่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมโดยเสนอให้มีกฎหมายลูกเป็นที่รองรับ
ด้านนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์กล่าวว่า หลังจากรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องใช้เวลาพิจารณา ๑ สัปดาห์ก่อนบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภา พร้อมยืนยันว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เดินตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่เป็นสิทธิ์ของสมาชิกในการเข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขกฎหมาย ส่วนตัวนั้นได้ทำตามหน้าที่ของประธานรัฐสาและกระบวนการของกฏหมายรัฐธรรมนูญทุกขั้นตอน
ติดต่อ:
ณัฐพิมล ทองนิล [email protected]