ทั้งนี้ยังได้ตั้งคณะทำงาน 2 คณะเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ ได้แก่ คณะทำงาน เยียวยาผลกระทบอันเกิดจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานมือถือของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่สัญญาจะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย.2556นี้ โดยมีีนายสงขลา วิชัยขัทคะ เป็นประธาน มีหน้าที่ศึกษาความชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ดูแลลูกค้าที่ใช้คลื่น 1800 MHz ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสัญญาสัมปทานไปสู่ใบอนุญาตเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งจะไม่ใช่ลักษณะการขยายระยเวลาในการให้สัมปทาน โดยลูกค้าจะต้องไม่ได้รับผลกระทบและยังคงใช้บริการได้ตามเดิม หรือไม่เกิดกรณีซิมดับ ซึ่งคณะทำงานจะต้องศึกษาให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย. 2556 หรือก่อนสัญญาสัมปทานสิ้นสุด 3 เดือน รวมถึงศึกษาประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อความรอบคอบและถูกต้อง ปัจจุบันทรูมูฟและดีีพีซี มีผู้ใช้บริการจำนวน 17 ล้านเลขหมาย
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า ส่วนคณะทำงานอีกคณะ คือ คณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งมีนายแก้วสรร อติโพธิ เป็นประธาน โดยคณะทำงานคณะนี้มีหน้าที่สร้่างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคทีี่ใช้บริการในปัจจุบัน 17 ล้านเลขหมาย การหาช่องทางการเพื่ออำนวยความสะดวกในโอนย้้ายเลขหมาย กำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการทั้งแบบชำระค่าบริการเป็นการล่วงหน้า (พรีเพด)และแบบชำระค่าบริการรายเดือน (โพสต์เพด) ขณะเดียวกันจะต้องประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของประชาชน อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ที่ประชุม กทค. ยังได้อนุมัติเลขหมายโทรคมนาคมให้กับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เ.ซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จำนวน 4 ล้านเลขหมาย เพื่อนำไปเปิดให้บริการ 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz และอนุมัติเลขหมาย 5 ล้านเลขหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
ประธาน กทค. ย้ำว่า กสทช. โดย กทค. พร้อมเดินหน้าในการนำเทคโนโลยี 4จี มาให้บริกาประชาชนคนไทย แต่ทั้งนี้ในการดำเนินการจะดูแลให้ไม่เกิดผลกระทบกับผู้ใช้บริการจำนวน 17 ล้านรายที่เป็นลูกค้าปัจจุบันในระบบสัมปทานเดิมของทรูมูฟและดีีพีซี ทั้งนี้เพื่อให้การจัดสรรคลื่นความถี่ขอวประเทศไทยเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน