เอฟทีเอ ว็อทช์ จี้ กรมเจรจาฯ อย่าลักไก่ดันการเจรจา EFTA เหมือนคราวสหภาพยุโรป ระบุ เจรจาหลายกรอบพร้อมกัน เสี่ยงด้อยคุณภาพ

อังคาร ๒๖ มีนาคม ๒๐๑๓ ๑๐:๔๕
ตามที่นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า รัฐบาลจะรื้อฟื้นการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทย กับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป หรือ เอฟต้า ( EFTA) ในเร็วๆนี้

นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ ว็อทช์ กล่าวว่า กรมเจรจาฯควรชี้แจงให้ชัดเจนว่า กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนและรัฐสภา จะดำเนินการเช่นไร กรอบเวลาเมื่อไร ไม่ควรลักไก่เช่นเดียวกับ การพิจารณากรอบเจรจาไทย-อียู ที่การรับฟังความคิดเห็นร่างกรอบ ทำก่อนเข้ารัฐสภาจริงแค่ 2 วัน โดยที่เนื้อหาการรับฟังความคิดเห็น ไม่ได้ส่งแนบไปพร้อมกับการพิจารณาของรัฐสภา

“ข้อเรียกร้องของสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป หรือ เอฟต้า ( EFTA) ใกล้เคียงกับของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ คือ ต้องการให้คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ เพราะว่า สวิตเซอร์แลนด์ และ ลิคเคนสไตน์ เป็นประเทศแม่ของบริษัทยาข้ามชาติจำนวนมาก ซึ่งหากไทยยอมตามทั้งเรื่องการขยายอายุสิทธิบัตรโดยอ้างความล่าช้าต่างๆ ทั้งที่ไม่เกี่ยวกับหน่วยราชการ, การผูกขาดข้อมูลทางยาเพื่อกีดกันยาชื่อสามัญเข้าสู่ตลาด , การยอมให้มีการยึดยา ณ ท่าขนส่ง แค่เพียงต้องสงสัยว่าจะละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการละเมิดสิทธิบัตร ที่ไม่อาจดูได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชน ยาจะมีราคาแพง และทำลายผู้ผลิตยาชื่อสามัญ นอกจากนี้ EFTA ยังเรียกร้องให้คุ้มครองการลงทุนด้วยการให้ไทยยอมรับกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน (Investor-State Dispute Settlement) เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องรัฐต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเพื่อล้มนโยบายต่างๆ รวมทั้งเรียกค่าชดเชยจากภาษีของประชาชน ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และเกาหลีใต้กำลังคัดค้านอย่างหนัก โดยเฉพาะที่เกาหลี้ใต้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีการค้านไปทบทวนเอฟทีเอและความตกลงการค้าการลงทุนทุกฉบับที่มีเนื้อหาเช่นนี้อยู่”

ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อทช์ กล่าวว่า การเร่งโหมการเจรจาหลายๆความตกลงในเวลาเดียวกันและมีข้อจำกัดด้านเวลา เพราะหวังต้องต่อสิทธิทางการค้าให้ภาคเอกชนที่ประเทศร่ำรวยให้กับประเทศด้อยพัฒนาแต่ภาคเอกชนไทยยังต้องการอยู่นั้น จะทำให้อำนาจต่อรองและความพร้อมในการเจรจาของไทยลดลง

“ ค่อนข้างเป็นห่วงผู้เจรจาฝ่ายไทยที่ขณะนี้ต้องเร่งเจรจาหลายกรอบในคราวเดียวกัน ทั้ง กับสหภาพยุโรป, EFTA, TPP และ RCEP โดยที่อธิบดีกรมเจรจาฯ ในฐานะเลขาฯของทีมเจรจาไม่มีประสบการณ์ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศเลย เรื่องนี้เป็นที่ห่วงใยแม้แต่ในหมู่บรรดากุนซือของรัฐบาล จะทำให้ไทยกลับไปเป็นดังที่ นายราล์ฟ บอยซ์ ฑูตสหรัฐฯที่เคยเขียนโทรเลขไปยังกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และถูกนำมาเผยแพร่ผ่าน WikiLeaks อย่างน้อยจำนวน 3 ฉบับ ใน 2 ช่วงเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 โดยระบุชัดเจนว่า ทีมเจรจาฝ่ายไทยขาดการเตรียมความพร้อม ความอ่อนด้อยประสบการณ์ในการเจรจาและการขาดภาวะผู้นำของหัวหน้าทีมเจรจาและทีมเจรจาของประเทศไทย ซึ่งข้อวิจารณ์เหล่านี้ รัฐบาลและผู้เจรจาฝ่ายไทยต้องเก็บไปพิจารณาปรับปรุง”

พรุ่งนี้ เอกอัครราชฑูตสวิตเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ได้เชิญนักวิชาการและภาคประชาสังคมเพื่อหารือถึงข้อห่วงใยในการเจรจาเอฟทีเอกับ EFTA ในเวลา 11 นาฬิกา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version