เบื้องต้นจากการลงพื้นที่สุ่มตัวอย่างในการทวนสอบความใช้ได้ของเครื่องวัดความดันโลหิตในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กว่า 1,200 เครื่องทั่วประเทศ พบว่ามีเครื่องที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ประมาณ 20% ส่วนใหญ่เกิดจากขาดข้อมูลทางเทคนิคและอุปกรณ์พิเศษเฉพาะรุ่น ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนอะไหล่เพื่อให้เครื่องใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จึงเห็นควรให้มีการยกระดับควบคุมเครื่องวัดความดันโลหิตดังกล่าวทั้งในขั้นตอนของการกำหนดเกณฑ์ของเครื่องมือที่จะนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ และการกำหนดให้มีระบบการทดสอบตามระยะเวลา (Periodic Verification) สำหรับเครื่องฯ ที่ใช้ในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงกำหนดให้มีการทวนสอบการใช้งานทุก 2 ปี อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและง่ายต่อการควบคุมมาตรฐานเครื่องวัดความดันโลหิตในระยะยาว
นายวรวัจน์ ฯ ยังกล่าวถึงการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน ว่า เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าวมีจำนวนมาก จึงได้ให้สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ให้การสนับสนุนหน่วยงานภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดสอบตามระยะเวลา โดยห้องปฏิบัติการเหล่านั้นต้องผ่านกระบวนการขอการรับรองระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิตตามระบบ ISO/IEC 17025 กับสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (สมป.) ซึ่งทางกระทรวงวิทย์ฯ พร้อมผลักดัน การพัฒนาวิธีการทดสอบ/สอบเทียบเครื่องมือทางการแพทย์อีกหลายรายการให้สอดคล้องกับวิธีการตามมาตรฐานสากล เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเป็น Medical Hub ของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ผู้เขียนข่าว/ผู้ประสานงาน นายประสิทธิ์ บุบผาวรรณา
เบอร์โทรศัพท์ 02 -775100 ต่อ 4226 เบอร์แฟกซ์ 02-577-2859
อีเมลล์ [email protected]