วธ. เร่งพลักดัน พ.ร.บ. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นำร่องให้ทุนเยาวชนผลิตสื่อดี และ คลอด พ.ร.บ. จดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. 2556

อังคาร ๐๒ เมษายน ๒๐๑๓ ๐๙:๑๓
นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า ความคืบหน้าของ วธ. ที่ดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. .... ขณะนี้ สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณารับหลักการร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1. คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดย วธ. 2.น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 12,046 คน 3.น.ส.สุนทรี ชัยวิรัตนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ และ4.ดร.ผุสดี ตามไท ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และคณะ จากนั้นได้มีการประชุมแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ฯ จำนวน 36 คน โดยใช้ร่างพ.ร.บ.ฯ ของ วธ. เป็นหลักในการพิจารณา ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาปรับแก้ร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวในวาระที่ 2 เสร็จแล้ว โดยอยู่ระหว่างรอการเสนอเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในวาระ 3 ก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป

นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม ยังได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ดำเนินโครงการพัฒนากลไกการดำเนินงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. .... ซึ่งมีกิจกรรมพัฒนารูปแบบการให้ทุนสนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน สำหรับใช้ในการผลิตสื่อและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในลักษณะที่เป็น การทดลองรูปแบบการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ภายใต้การกำกับทิศทาง การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถขอรับทุนเพื่อผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้ที่สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัด วธ. ระหว่างวันที่ 1 — 30 เมษายน 2556 ในวันเวลาราชการ หรือดาวห์โหลดรายละเอียดจากเว็บไซต์กระทรวง Error! Hyperlink reference not valid. Error! Hyperlink reference not valid.. 1765 สายด่วนวัฒนธรรม

นางปริศนา กล่าวเพิ่มเติมว่า ภารกิจการของ วธ. ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การดูแลงานด้านเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติและเพื่อประโยชน์ในการศึกษา เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารจดหมายเหตุ ซึ่ง วธ. โดยกรมศิลปากร ได้ดำเนินการเสนอ พ.ร.บ. จดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ขณะนี้ ได้มีการประกาศบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2556 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยใน พ.ร.บ. ดังกล่าว และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้นำ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 130 ตอนที่ 23 ก

ด้าน นางสุรีย์รัตน์ วงศ์เสงี่ยม รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า พ.ร.บ. จดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. 2556 เป็นกฎหมายว่าด้วยงานจดหมายเหตุ โดยที่เอกสารจดหมายเหตุ เป็นข้อมูลที่แสดงและอธิบายถึงข้อเท็จจริง รวมทั้งความเป็นมาที่เกิดขึ้นในอดีต แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ ความเจริญรุ่งเรือง การเปลี่ยนแปลงของชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน และเป็นพื้นฐานที่มั่นคงสู่อนาคต เป็นประโยชน์ต่อ ความมั่นคงของชาติ สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงการปฏิบัติงานและพัฒนาการของหน่วยงาน ใช้ในการคุ้มครองสิทธิของหน่วยงาน องค์กร บุคคล ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลชั้นต้นในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทุกสาขาวิชา ดังนั้น การเก็บรักษาและการอนุรักษ์เอกสารดังกล่าวไว้ให้มีสภาพสมบูรณ์ หรือเกิดความชำรุดเสียหายน้อยที่สุด เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ