โรงพยาบาลกรุงเทพเปิดตัว 2 เทคโนโลยีไฮเทคช่วยเก็บข้อมูลการรักษา และติดตามอาการผู้ป่วยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย

อังคาร ๐๒ เมษายน ๒๐๑๓ ๑๑:๒๕
โรงพยาบาลกรุงเทพ ยกระดับมาตรฐานบริการทางการแพทย์อีกขั้นสู่ระดับนานาชาติ สอดรับกับนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลในภูมิภาค นำเทคโนโลยีคัดแยกและติดตามอาการผู้ป่วยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ RFID Triage (Radio Frequency Identification Triage) และเทคโนโลยีเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ในผู้ป่วยเบาหวาน หรือ EMR (Electronic Medical Record) มาแทนการใช้กระดาษ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และทันสมัย

นายแพทย์สิทธิผล ชินพงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรม สาขาเบาหวาน ต่อมไร้ท่อ เมตาบอลิซึม โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ระบบการบริหารงานในโรงพยาบาลจะประกอบไปด้วยหลายส่วน แต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่ทุกโรงพยาบาลจำเป็นต้องมีก็คือ “ระบบเวชระเบียน” (Medical Record/Health Record) ซึ่งก็คือระบบที่เก็บข้อมูลพื้นฐานและประวัติการตรวจรักษาทั้งหมดของคนไข้นั่นเอง โดยคนไข้ทุกคนในแต่ละโรงพยาบาลจะมีหมายเลขประจำตัวที่เรียกว่า HN Number (Hospital Number) แต่จากปัญหาที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ ประวัติคนไข้ถูกบันทึกเก็บไว้ในแฟ้มกระดาษเป็นหลัก อีกทั้งระบบการแยกเก็บในแต่ละโรงพยาบาลไม่สามารถส่งต่อข้อมูลให้กับสถานพยาบาลอื่นๆ ได้โดยง่าย และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลกรุงเทพจึงได้ตัดสินใจนำระบบใหม่เข้ามาใช้ ซึ่งเป็นระบบที่ได้ออกแบบตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยแบบสหวิชาชีพ PCT (Patient Care Team) โดยเปลี่ยนระบบการจัดเก็บประวัติการรักษาของคนไข้ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด (หรือเกือบทั้งหมด) หรือที่เรียกว่าระบบ EMR (Electronics Medical Records) เข้ามาใช้แทนการใช้กระดาษและการบันทึกด้วยลายมือเพื่อความสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนำร่องใช้ในการช่วยเก็บข้อมูลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์และต่อมไร้ท่อของโรงพยาบาลกรุงเทพเป็นที่แรก ซึ่งข้อมูลที่ได้จากระบบนี้ ทำให้มีข้อมูล Personal Health Record (PHR) ซึ่งทางโรงพยาบาลจะนำไปใช้วิเคราะห์ data ผู้ป่วยสำหรับการวิจัยทางการรักษาผู้ป่วยในอนาคต

นายแพทย์สิทธิผล เปิดเผยว่า “ข้อดีของระบบ EMR นี้จะทำให้สามารถดูข้อมูล ผลการรักษาของคนไข้ที่ไหนก็ได้จาก mobile device ต่างๆ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและให้การรักษาหรือให้ข้อมูลได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดความผิดพลาดของการบันทึกข้อมูล (Human Error) การบันทึกข้อมูลจะถูกต้องเสมอเพราะแพทย์ผู้ทำการตรวจ จะบันทึกด้วยตัวเอง สามารถดูแลและส่งต่อผู้ป่วยทางเครือข่ายเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว สามารถค้นหาข้อมูลของผู้ป่วยได้ง่ายและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลดีต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในการรับการรักษา บุคลากรทางการแพทย์ ทั้งแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร ได้รับข้อมูลที่ตรงกันและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ เช่น ระบบจะช่วยตรวจสอบการให้ยากับผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เกิดการให้ยาที่ซับซ้อนหรือไม่ครบถ้วน รวมถึงการติดตามผลจากยาและคำแนะนำจากเภสัชกรที่ได้ให้ไปแล้วกับผู้ป่วย และระบบ

นี้จะช่วยในการดักจับและคัดกรองผู้ป่วยทั้งหมดในโรงพยาบาล จากผล Lab โดยมีหน้าจอเพื่อติดตามเข้ามาใน Pathway ฯลฯ ทำให้การรักษาผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

นายแพทย์อัญฤทธิ์ แสงจรัสวิชัย ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ฉุกเฉินเครือข่าย เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ ทางโรงพยาบาลกรุงเทพยังนำเอาเทคโนโลยีการคัดแยกและติดตามผู้ป่วยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ “ RFID Triage” (Radio Frequency Identification Triage) ผ่าน tag ข้อมือ RFID Tag เพื่อช่วยคัดแยก ตรวจ ติดตามอาการ และบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยจนสิ้นสุดการรักษา โดยขั้นตอนการทำงานของแถบสายรัดข้อมือ RFID Triage นี้ จะเริ่มตั้งแต่ที่ผู้ป่วยเข้ามาที่ห้องฉุกเฉิน ซึ่งพยาบาลจะเป็นผู้นำสายรัดข้อมือมาติดให้ผู้ป่วย เพื่อความสะดวกรวดเร็ว โดยระบบจะเริ่มบันทึกเวลาตั้งแต่แรกที่ผู้ป่วยเข้ามาถึง และทำการแจ้งไปที่แพทย์เพื่อมาดูอาการ หากยังไม่มีแพทย์เข้ามาตรวจ ระบบจะมีการเตือนให้ทราบผ่านทางหน้าจอมอนิเตอร์ ภายในระยะเวลาที่กำหนด หลังจากที่แพทย์มาถึงก็จะมีการแตะบัตรประจำตัวแพทย์กับเครื่องรับสัญญาณเพื่อบันทึกระยะเวลาในการตรวจรักษาผู้ป่วย ตั้งแต่แรกเริ่มจนสิ้นสุดกระบวนการการรักษา ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการสอบถามข้อมูลผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักต้องการการรักษาโดยเร่งด่วน หรือเกิดอุบัติภัยหมู่

นายแพทย์อัญฤทธิ์ กล่าวต่ออีกว่า “ข้อดีของอุปกรณ์สายรัดข้อมืออิเล็กทรอนิกส์นี้ แตกต่างจากการทำงานของแถบรัดข้อมือคนไข้ที่ใช้โดยทั่วๆ ไป คือ จะมีระบบแจ้งเตือน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาจากแพทย์ ภายในเวลาที่กำหนด มีระบบรองรับการคัดแยกระดับความรุนแรงของอาการ โดยไม่ต้องรอการสร้างเลขที่ประจำตัวผู้ป่วย และมีระบบเก็บบันทึกเวลาในห้องตรวจ ER เพื่อมีข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพการรักษา และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยให้แพทย์สะดวกในการตรวจสอบข้อมูลของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการวัดประสิทธิภาพในการเข้าถึงผู้ป่วยของแพทย์และพยาบาล”

ทั้งนี้โรงพยาบาลกรุงเทพ คาดว่าจะใช้ทั้งสองระบบในศูนย์อื่นๆ ของโรงพยาบาลตลอดจนโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพในอนาคต เพื่อเป็นการวางรากฐานที่สำคัญในการขยายบริการที่มีมาตรฐานไปสู่ระดับนานาชาติ สอดรับกับนโยบายของประเทศที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้ และเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการลดการใช้ปริมาณกระดาษอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๕ โบว์ เมลดา เปิดตัว สวยปัง ขายแปลก พร้อมประมูลตัวคณิกาน้องใหม่!!
๑๗:๐๐ เขตพระนครประสานเจ้าของพื้นที่-ผู้เช่าเร่งหาข้อยุติรื้อย้ายแผงค้าตลาดส่งเสริมการเกษตร
๑๗:๐๐ กทม. กำชับ รฟม. เข้มมาตรการลดผลกระทบโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ล้อมย้ายต้นไม้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
๑๗:๑๗ คุ้ย-ทวีวัฒน์ รุกหนักตลาดหนังสยองขวัญ-เปิด 13 สตูดิโอ ยิ่งใหญ่ ไลน์อัพหนังบิ๊กโปรเจค-ดึงดาราเอลิสต์ร่วมงาน 7 เรื่อง 7
๑๗:๐๗ Zelection Interior บริการอินทีเรียดีไซน์หรู จากเอสบี ดีไซน์สแควร์ ยกระดับงานตกแต่งภายในไปอีกขั้น ด้วยนวัตกรรมจากคอลเลกชันใหม่
๑๗:๔๔ SAM ยกระดับบริการ สายด่วน 1443 ตอบครบจบในเบอร์เดียว
๑๗:๕๒ บางกอกแอร์เวย์สชวนหอเจี๊ยะฉลองรับตรุษจีน เสิร์ฟเมนูมงคล ขนมหัวผักกาดกุ้ง ณ บลูริบบอนคลับเลานจ์ สนามบินสมุย
๑๗:๑๘ พิซซ่า ฮัท เสิร์ฟความฟิน Melts Fever ลดฟินเวอร์ เริ่มต้นเพียง 119 บาท
๑๗:๑๐ อิ่มอร่อยพร้อมรับโชคต้อนรับปี มะเส็ง ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกับแมริออท บอนวอย ในประเทศไทย
๑๖:๐๓ บิ๊กบอส LEO ลั่น!กอดหุ้นแน่น มั่นใจปัจจัยพื้นฐานแกร่ง-อนาคตสดใส ย้ำ! ลุยธุรกิจตามยุทธศาสตร์ LEO Go Green