มายด์แชร์ คาดการณ์ ใน 6 ประเด็น
1. สัดส่วนการรับชมแยกย่อยในสื่อที่หลากหลายมากขึ้น
การเติบโตของสื่อเคเบิ้ลและแซตเทิลไลท์ทำให้เกิดผลกระทบกับสัดส่วนการรับชมช่องฟรีทีวี โดยภายในปี 2558 เมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอลทีวีในการออกอากาศอย่างครบวงจร สัดส่วนของการรับชมรายการต่างๆจะแยกย่อยมากขึ้นในสื่อที่หลากหลายยิ่งขึ้น
นักการตลาด จะต้องทำงานร่วมกับเอเยนซี่ของตนในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารที่ครอบคลุมทุกช่องทางอย่างเต็มระบบ โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์และวิจัยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพิ่มค่าการลงทุนในสื่อให้สูงที่สุด ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญคือนักการตลาดจะต้องระวังไม่ให้การโฆษณาหรือการทำการตลาดสร้างความรำคาญให้กับผู้รับชมและในอนาคตการสร้างรายการของแบรนด์จะยิ่งกลายเป็นสิ่งที่เพิ่มค่าให้กับ แบรนด์สินค้ามากขึ้น
2. ดิจิตอลจะกลายเป็นสื่อที่นักการตลาดขาดไม่ได้
จำนวนการเข้าถึงสื่อดิจิตอลในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะไม่ได้รวมการใช้สื่อดิจิตอลผ่านมือถือ โดยคาดการณ์ว่าสัดส่วนการเข้าถึงจะกลายเป็น 50% ภายในปี 2558 เพิ่มขึ้นจาก 25% ในปัจจุบัน
เมื่อผู้ชมเชื่อมต่อกับสื่อออนไลน์ พฤติกรรมการรับชมสื่อจะเริ่มเปลี่ยนอย่างชัดเจน โดยภายในปี 2558 เวลาที่ใช้ในการรับชมสื่อดิจิตอลจะเพิ่มสูงขึ้นแซงสื่อทีวีโดยเฉพาะกลุ่มผู้ชมในเมือง และกลุ่มผู้ชมทั่วประเทศก็น่าจะไม่แตกต่างกันมากนัก
นักการตลาดจะต้องเปลี่ยนสัดส่วนการใช้สื่อให้ตรงกับการเปลี่ยนแปลงของผู้ชมอย่างทันท่วงทีโดยต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหารายการของแบรนด์สามารถค้นหาได้ง่ายและสามารถนำไปแชร์ต่อได้
3. โซเชียลมีเดียจะถึงจุดอิ่มตัว
การเติบโตของเฟสบุ๊กในประเทศไทยนั้นรวดเร็วอย่างมากโดยเมื่อเดือนธันวาคม ปลายปี 2555 นี้มีกลุ่มผู้ใช้งานกว่า 18 ล้านคน โดยขณะนี้กรุงเทพเป็นเมืองที่มีคนใช้เฟสบุ๊คมากที่สุดในโลก
ที่ผ่านมาแบรนด์จะให้น้ำหนักกับการทำให้แฟนเพจของตนเข้ามามีปฎิสัมพันธ์กับเพจของตนซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีเพียง 10% ของแฟนเพจที่จะกลับเข้ามาใช้งานในเพจที่ตนคลิกไลค์ไว้ ซึ่งอันที่จริงแล้วแนรด์ควรเน้นที่การสร้างการรับรู้ผ่าน Newsfeed ให้มากขึ้น
4. มือถือจะกลายเป็นช่องทางหลักของการสื่อสาร
มือถือจะการเป็นช่องทางหลักในการเข้าอินเตอร์เน็ตของคนไทยและผ่านสมารต์โฟนแทนที่จะเป็นผ่านเครื่อง PC ภายในปี 2559 การ เสริช์หาข้อมูลผ่านมือถือจะมากกว่าการ เสริช์ผ่าน เดสท็อป ถึง 3 เท่า
แบรนด์ควรทำให้คอนเทนต์ของแบรนด์บน มือถือ น่าใช้งานมากขึ้น และควรต้องพัฒนา คอนเทนต์ ผ่านมือถือเป็นช่องทางหลัก
5. การเติบโตของผู้ชมที่รับชมเนื้อหาจากหลายช่องทางพร้อมกัน
เราจะเห็นว่าผู้บริโภค จะเข้าถึง คอนเทนต์ ผ่านหน้าจอ ที่หลากหลายมากขึ้นในเวลาพร้อมๆกัน
แบรนด์ ต้องพัฒนา แคมเปญ ผ่านทุกช่องทางโดยที่ไม่ยึดติดกับการใช้โทรทัศน์ เป็นช่องทางหลัก และ แบรนด์ ยังต้องใส่ใจ กับความต้องการรับชม และการดึงความสนใจเมื่อความต้องการ การรับชมถูกแย่งไปสู่ ช่องทางอื่น
6. ความต้องการใช้เครื่องมือที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลที่มีอยู่ให้มีประโยชน์ทางการตลาดสูงสุด
บริษัท ไอบีเอ็ม ได้ประเมินไว้ว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันเกิดขึ้นภายในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ความท้าทายของ แบรนด์ อยู่การบริหารจัดการและวิเคราะห์ ข้อมูลที่มีอยู่อย่างมหาศาล เปลี่ยนจากตัวเลข ไปเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางการตลาด
การเปลี่ยนข้อมูลให้สามารถทราบถึง พฤติกรรมของผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งที่สำคัญ และ การใช้ข้อมูลที่ชาญฉลาดรวมถึงเครื่องมือที่มีศักยภาพในการคาดการณ์ ผลลัพธ์ทางการตลาดและเพิ่มสัดส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนให้สูงมากขึ้นกลายเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
นีลูฟาร์ ฟาวเลอร์ กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ทิศทางการสื่อสารการตลาด ในประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงที่มีการปรับตัวอย่างก้าวกระโดด ทำให้เกิดเป็นความท้าทายต่อ แบรนด์ และผู้โฆษณาในบริบทใหม่ ซึ่งความท้าทายที่มากพอๆกับความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เป็นโอกาสของแบรนด์ ที่จะคว้าโอกาสในการสร้างผลกำไรอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ทั้งนี้การจะร่วมมือกับลูกค้าของเราในการรักษาความเป็นผู้นำ และผลสำเร็จทางธุรกิจต้องการใช้ ความสดใหม่ในการสร้างสรรค์ (Original Thinking) ในทุกๆอย่างและทุกโอกาสที่เราสามารถทำได้ อีกทั้ง Original Thinking ทำให้เราสามารถ ใช้ประโยชน์ จากโอกาสใหม่ๆที่มีเข้ามาได้อย่างมีประสิทธภาพมากที่สุด และแปลเปลี่ยนโอกาสนี้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งให้กับลูกค้าอย่างยั่งยืน”