การประกวดภาพถ่ายครั้งนี้ถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 6 ปี ซึ่งดึงดูดช่างภาพมืออาชีพกว่า 375 ท่านร่วมส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 6,000 ชิ้น โดยคณะกรรมการได้คัดเลือกผู้ชนะทั้งสี่ประเภท ได้แก่ ภาพในเหตุการณ์ข่าว ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว ภาพเกี่ยวกับประเด็นการอพยพ (รางวัลนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย) และภาพชุดเล่าเรื่อง นอกจากนั้นคณะกรรมการยังได้คัดเลือก “ช่างภาพแห่งปี” ซึ่งเป็นรางวัลใหญ่ที่สุดของการประกวดในครั้งนี้
รายชื่อผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว ครั้งที่ 6 ได้แก่
ช่างภาพดีเด่นประจำปี: วลาด โซคิน
ภาพในเหตุการณ์ข่าว:
รางวัลที่หนึ่ง: มูเนียร์ อัซ ซามาน (ชาวมุสลิมโรฮิงญา)
รางวัลชมเชย: คริสตอฟ อาชชงบรูต (การหาเสียงของนางออง ซาน ซูจี)
รางวัลชมเชย: ไกเซอร์ ไฮเดอร์ (เหตุการณ์ดินถล่มที่บังกลาเทศ)
ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว:
รางวัลที่หนึ่ง: อเล็กซ์ โฮฟฟอร์ด (การจับปลาด้วยการดำน้ำแบบอัดอากาศ)
รางวัลชมเชย: อัคลาส อุดดิน (ผู้ใช้แรงงานรายวันชาวบังคลาเทศ)
ภาพเกี่ยวกับประเด็นการอพยพ:
รางวัลที่หนึ่ง: เจมส์ โรเบิร์ต ฟูลเลอร์ (จากพม่าสู่เมืองบัฟฟาโล)
ภาพชุดเล่าเรื่อง:
รางวัลที่หนึ่ง: คาซูฮิโกะ มัตสึมูระ (ความงามอันลุ่มลึกของญี่ปุ่น)
รางวัลชมเชย: แอนดริ แทมบูนัน (ความเป็นไปได้อันน้อยนิด: เชื้อเอชไอวีในปาปัว)
สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย และออนเอเชีย เอเจนซี่ภาพถ่ายชั้นนำล้วนได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีว่าเป็นการประกวดภาพถ่ายที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตั้งแต่เริ่มจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550 ด้วยจำนวนผลงานส่งเข้าประกวดที่เพิ่มมากขึ้นและภาพถ่ายระดับคุณภาพที่สูงขึ้น ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าภาพถ่ายเชิงข่าวในภูมิภาคเอเชียนั้นเต็มไปด้วยชีวิตชีวาและเปี่ยมไปด้วยทักษะและความชำนาญ แม้จะมีแรงกดดันทางเศรษฐกิจภายในวงการอุตสาหกรรมสื่อที่สร้างความลำบากในการเลี้ยงชีพให้เหล่าช่างภาพก็ตาม
การประกวดครั้งนี้เหล่าคณะกรรมการแสดงความชื่นชมกับผลงานของ มร.วลาด โซคิน ช่างภาพสารคดีชาวรัสเซีย-โปรตุเกส ซึ่งพำนักอาศัยอยู่ในนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียมากที่สุด ผู้ชนะเลิศรางวัลช่างภาพแห่งปี ด้วยผลงานชุดภาพถ่ายที่สะท้อนเทคนิคและฝีมือ รวมไปถึงความซับซ้อนในการถ่ายทอดเรื่องราวจากสถานที่ซึ่งสื่อมวลชนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึง อย่าง ในปาปัวนิวกินี หรือวานูอาตู
ผลงานที่เข้าตากรรมการโดยเฉพาะ คือ การนำเสนอความเสียหายประเด็นความรุนแรงต่อผู้หญิงในปาปัวนิวกีนี ซึ่ง มร.โซคิน ได้นำเสนอภาพความรุนแรงทางอาชญากรรม ทั้งการรุมทำร้ายผู้หญิงด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็น “แม่มด” การข่มขืน และ ความรุนแรงภายในบ้าน ซึ่งมักลงเอยด้วยการที่ผู้กระทำผิดไม่ได้รับการลงโทษ เรื่องเล่าอันน่าแสลงใจของเหยื่อที่ถูกเรียงร้อยขึ้นมานี้ จำเป็นต้องได้รับการตีแผ่ในวงกว้าง และควรได้รับความสนใจในระดับนานานชาติ เพื่อถ่ายทอดอุดมคติสูงสุดของการประกวดภาพถ่ายของเอฟซีซีที และออนเอเชีย ในครั้งนี้ ผลงานอื่นๆ ของ มร.โซคินได้แก่ ชิ้นงานชุด “ลัทธิสินค้า” ในมาลานีเซีย ซึ่งให้ความสนใจกับประเด็นของการรับความมั่งคั่งทางวัตถุจากตะวันตก เช่นเดียวกับการสร้างความเป็นสมัยใหม่ของคนเผ่าดานี (Dani) ในอินโดนีเซียจังหวัดปาปัวขณะที่พวกเขารู้สึกกดดันมากขึ้นจากโลกภายนอก
ทางคณะกรรมการมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับความสนับสนุนจากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ต่อการประกวดประเภทพิเศษในปีนี้ ว่าด้วยประเด็นการอพยพย้ายถิ่นในเอเชีย และความท้าทายที่ถูกเผชิญหน้าโดยผู้ลี้ภัยหรือ ผู้อพยพ กับการเริ่มต้นชีวิตใหม่และการฟันฝ่าอุปสรรคในดินแดนที่ห่างไกลจากบ้านของพวกเขา ปีที่ผ่านมาสหภาพยุโรปก็ได้ให้การสนับสนุนในการประกวดประเภทพิเศษในเรื่อง สิ่งแวดล้อม และ สิทธิมนุษยชนในเอเชีย
ผู้ชนะการประกวดประเภทพิเศษในปีนี้ คือ เจมส์ โรเบิร์ต ฟูลเลอร์ ช่างภาพสื่อมวลชนจากเชียงใหม่ ด้วยภาพชุดจากโครงการระยะยาวที่ติดตามครอบครัวชาวกะเหรี่ยงอพยพจากพม่าไปยังสหรัฐอเมริกา โครงการนี้ได้ถ่ายทอดสิ่งที่เจมส์ เรียกว่า “การเปลี่ยนผ่านอัตลักษณ์ภายในครอบครัวและการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ต่อ ‘ความเป็นบ้าน’” เมือพวกเขาได้ปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ในต่างแดน ผลงานชุดนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปการเมืองในพม่าที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการถกเถียงต่อกรณีการอพยพย้ายถิ่นในพม่า แม้จะมีสิทธิพลเมืองต่างชาติ แต่ทั้งผู้นำฝ่ายค้านและกลุ่มอื่นๆ ากลับสนับสนุนให้พวกเขากลับบ้านเกิด ทำให้ตอนนี้พวกเขาคิดไม่ตกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรและจะอยู่ที่ไหน กรรมการยกย่องรูปภาพของ เจมส์ โรเบิรต์ ฟูลเลอร์ เพราะว่าเขาทำให้ผู้ที่เห็นรูปนึกถึงและรับรู้เรื่องราวชะตากรรมของผู้คนเหล่านั้นที่มักจะถูกลืมในโลกที่กว้างใหญ่ ทำให้เราได้เห็นความพยายามของพวกเขา รวมถึงโอกาสที่พวกเขาอาจได้รับจากทั่วโลกทุกมุมโลก และความสาหัสของปัญหาที่พวกเขาต้องเจอในขณะที่พวกเขาพยายามที่จะอยู่รอดในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เจมส์ โรเบิรต์ ฟูลเลอร์ ได้นำสนอภาพที่แสดงมุมมองที่ลึกลงไปของพวกเขาซึ่งใช้การอุทิศตนอย่างมาก และต้องใช้ความเชื่อใจเพื่อที่จะได้รูปภาพที่แสดงความสนิทชิดเชื้อและความใกล้ชิด
“พวกเรายินดีที่ได้สนับสนุน การประกวดภาพถ่าย เอฟซีซีที / ออนเอเชีย มาสามปีต่อเนื่อง” เดวิด ลิปแมน หัวหน้าคระผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าว “ทุกๆ ปีเราจะเน้นหัวข้อที่กำลังได้รับความสนใจในขณะนั้น หลังจากได้เลือกประเด็นเรื่อง “สิทธิมนุษยชน” และ “การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ” ในปีที่ผ่านมา ปีนี้เราได้จึงให้ความสำคัญกับเรื่องการอพยพ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่เราให้ความสำคัญเสมอมา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายภายนอกของสหภาพยุโรป พวกเราได้พูดคุยและสร้างความร่วมมือในหัวข้อที่เกี่ยวกับการอพยพกับประเทศนอกสหภาพยุโรป เราช่วยเหลือและสนับสนุนสถาบันที่ก่อตั้งเพื่อเด็กที่อพยพย้ายถิ่น และยังจัดสรรทุนสำหรับโครงการต่างๆ ที่ช่วยต่อต้านการค้ามนุษย์ รวมถึงจัดเวิร์คช็อปว่าด้วยการอพยพ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายทีมีชื่อว่าเป็น ‘ผู้อพยพ’ ล้วนมีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยไม่ต้องคำนึงถึงกำเนิดและสถานภาพทางกฎหมาย เหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่จะทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า พวกเขาจะได้รับความเคารพและการสนับสนุนในการได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้
ผู้ชนะในการประกวดภาพในเหตุการณ์ข่าว ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว และภาพชุด จะได้รับเงินสด 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ และตั๋วเครื่องบินไปกลับสำหรับที่นั่งชั้นประหยัดในการเดินทางไปยังประเทศในทวีปเอเซีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสายการบินในกลุ่มสตาร์ อัลลิแอนซ์ ส่วนผู้ชนะการประกวดภาพในประเภทพิเศษ จะได้รับเงินรางวัล 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย และผู้ที่ได้รับรางวัล “ช่างภาพแห่งปี” จะได้รับเงินรางวัล 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ และตั๋วเครื่องบินไปกลับสำหรับที่นั่งชั้นประหยัดสำหรับเดินทางในทวีปเอเซีย
การจัดการประกวดในครั้งนี้จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีไม่ได้ หากปราศจากการสนับสนุนจากบรรดาสปอนเซอร์และที่ขาดไม่ได้คือ มิตรภาพจาก ออนเอเชีย เอเจนซี่
ออนเอเซีย (www.onasia.com) เอเจนซี่ภาพข่าวชั้นนำของภูมิภาค เป็นตัวแทนช่างภาพทั่วภูมิภาคเอเชียกว่า 200 คน เพื่อที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในวงการอุตสาหกรรมสื่อ ออนเอเชียเตรียมเปิดตัวสื่อรูปแบบใหม่ในปี พ.ศ. 2556 นี้
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) คือหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในการผลิตโพลีเอสเตอร์รวมของโลกและเป็นผู้ผลิตอาหาร, เครื่องดื่ม, ผลิตภัณฑ์ดูแลเครื่องใช้ในครัวเรือนและส่วนบุคคล, ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ, ผลิตภัณฑ์ยานยนต์, วัสดุสิ่งทอและอื่นๆ ซึ่งอินโดรามาคือผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันเอฟซีซี ที่ให้การสนับสนุนทางด้านเงินรางวัลของการแข่งขันในปีนี้
คณะผู้แทนกรรมการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ตัวแทนดูแลกิจการของสหภาพยุโรปในประเทศไทยและให้การสนับสนุนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนรวมทั้งการพัฒนาอื่นๆ โดยให้การสนับสนุนเงินรางวัลสำหรับประเภทการแข่งขันภาพเกี่ยวกับประเด็นการอพยพในปีนี้
ดีทแฮล์ม ทราเวล กรุ้ป มีประสบการณ์ในการให้บริการการเดินทางและท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบมานานถึง 55 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่เก่าแก่และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเอเชีย โดยมีสำนักงานในหลายประเทศ อาทิ ภูฏาน กัมพูชา จีน ฮ่องกง อินเดีย ลาว มาเลเซีย มัลดีฟส์ พม่า สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม ดีทแฮล์ม ทราเวล กรุ้ป นั้นมีชื่อเสียงป็นที่รู้จักทั่วโลกในฐานะผู้ให้บริการการท่องเที่ยวระดับแนวหน้า และยังให้การสนับสนุนเงินรางวัลในการประกวดในปีนี้ด้วย
สตาร์อัลไลแอนซ์ เครือข่ายสายการบินระดับโลก ซึ่งประกอบไปด้วย สายการบินนานาชาติชั้นนำ รวมไปถึง การบินไทย ที่ให้การสนับสนุนรางวัลตั๋วเครื่องบินไปกลับในเอเชีย
โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ทีคิวพีอาร์) บริษัทอิสระชั้นนำ บริการให้คำปรึกษา และเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าภายในประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก โดยทีคิวพีอาร์ให้การสนับสนุนทางด้านการจัดการ และให้คำปรึกษาทางด้านประชาสัมพันธ์ในการประกวดของปีนี้
บลูม ดิจิตัล โฟโต้ แล๊ป หนึ่งในแล็ปภาพถ่ายที่เชื่อถือได้มากที่สุดในประเทศไทย และเป็นผู้ให้การสนับสนุนกับทางสมาคมฯมายาวนาน ให้การสนับสนุนการจัดพิมพ์คุณภาพสูงสำหรับใช้ในนิทรรศการ
ดอคคิวเมนทารี่ อาทส์ เอเชีย เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศไทย ให้การสนับสนุนการผลิตและการเผยแพร่ภาพถ่ายและภาพยนตร์เชิงสารคดีในเอเชีย ทางองค์กรมีออฟฟิซสูง 2 ชั้น ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้บริการจัดการแผนงานอื่นๆ เพื่อเผยแพร่การทำงานเชิงสารคดี รวมทั้งศูนย์ฝึกอบรมและยังมีหลักสูตร 3 เดือนสำหรับช่างภาพและผู้สร้างภาพยนตร์ ที่สนใจทำงานเกี่ยวกับวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม หรือ โครงการเพื่อสิทธิมนุษยชนด้วย
การประกวดครั้งนี้ได้รับเกียรติจากช่างภาพมืออาชีพที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางร่วมเป็นกรรมการตัดสินผู้ชนะในแต่ละประเภท
เดิร์ค คลอส ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการภาพถ่าย ประจำภูมิภาคเอเซีย ของนิตยสารเสติร์นในฮ่องกงและกรุงเทพ เขารับตำแหน่งหัวหน้าแผนกภาพถ่ายของ Stern.de ตั้งแต่ปี 2544-2551 ก่อนย้ายไปรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายภาพถ่ายต่างประเทศของเอเจนซี่รูปภาพในกรุงแฮมเบิร์ก ตั้งแต่ปี 2540-2544 เขายังเคยทำงานเป็นผู้ช่วยช่างภาพและผู้จัดในกรุงอัมสเตอร์ดัมและแฮมสเบิร์ก เดิร์คสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวารสารศาสตร์มัลติมีเดียหลักสูตรนานาชาติ จากมหาวิทยาลัยบอลตัน
เดวิด ลองสตรีธ เป็นช่างภาพอิสระประจำอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ก่อนหน้านี้เคยทำงานกับสำนักข่าวเอพี (Associated Press - AP) ในฐานะช่างภาพและบรรณาธิการมากว่า 30 ปี ซึ่งประจำอยู่กรุงเทพฯ เป็นเวลากว่า 15 ปี หลายปีที่ผ่านมาเขาเข้าร่วมถ่ายภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์มากมายตั้งแต่เหตุการณ์พอลพต ตลอดจนพิธีฝังศพของแม่ชีเทเรซา รวมถึงเคยทำงานในหลายประเทศ อาทิ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย กัมพูชา เมียนมาร์ และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้เขาเคยเป็นส่วนหนึ่งในทีมผู้ชนะรางวัลพูลิตเซอร์ ในการประกวดภาพข่าวการเลือกตั้งประธานาธิบดีของนายบิล คลินตัน เมื่อปี พ.ศ. 2535
พรชัย กิตติวงศ์สกุล เป็นช่างภาพของสำนักข่าวเอเอฟพี (Agence France Presse - AFP) ประจำอยู่ที่กรุงเทพฯโดยจะครอบคลุมการทำข่าวประจำภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นข่าวความรุนแรงทางการเมืองในกรุงเทพฯเมื่อพ.ศ. 2553 ข่าวความขัดแย้งบริเวณชายแดน ไทย-กัมพูชา ข่าวการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยในพม่า และข่าวความไม่สงบทางภาคใต้ของประเทศไทยด้วย
สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที) จะจัดแสดงภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลในประเภทต่างๆใน:
วันที่ 22 มีนาคม — 27 เมษายน 2556
ณ เอฟซีซีที คลับเฮาส์
ชั้นเพนท์เฮ้าส์ อาคารมณียาเซ็นเตอร์
เลขที่ 518/5 ถนน เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330 (เชื่อมกับบีทีเอส สถานีชิดลม)
ทุกวันจันทร์ — ศุกร์ เวลา 10.00 น — 23.00 น.
สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร: 02-652-0508-1
เว็บไซต์: www.fccthai.com http://www.fccthai.com