อย่างไรก็ตามกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการเตรียมความพร้อมด้านห้องปฏิบัติการไว้รองรับหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินไว้แล้ว โดยห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถตรวจวิเคราะห์หาสายพันธุ์ไข้หวัดนกชนิด H7 ด้วยวิธีการคัดกรองได้ทันที โดยการตรวจหาสารพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า Polymerase Chain Reaction (PCR) และตรวจยืนยันสายพันธุ์ไข้หวัดนกชนิด H7 ด้วยวิธีการหาลำดับเบส
นางวารุณี กล่าวเพิ่มเติมว่า ตอนนี้กรมฯได้รับตัวอย่างเชื้อมาจากองค์การอนามัยโลกเพื่อตรวจสอบสายพันธุ์ และเรามีการเตรียมรับมือในส่วนของการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการไว้แล้ว ทั้งในส่วนของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ จึงพร้อมให้บริการตรวจยืนยันผลทันทีหากมีการส่งเชื้อต้องสงสัยเข้ามาตรวจ โดยจะสามารถแยกเชื้อและตรวจยืนยันว่าเป็นชนิดใดได้ภายใน 12 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก หรือโรงฆ่าสัตว์ หากพบว่ามีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไอ ปอดบวม หายใจลำบาก และมีอาการเยื่อบุตาอักเสบร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจในเบื้องต้นทันที
ติดต่อ:
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
โทรศัพท์ 0-2951-0000 ต่อ 99017 , 99081
โทรสาร 0-2591-1707