ดังนั้นมูลนิธิฯ จึงร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จัดทำโครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่” ขึ้น เพื่อให้การสนับสนุน “ทุนต่อยอด” การพัฒนาผลงานไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งให้การสนับสนุนเจ้าของผลงานเข้าร่วมแข่งขันในเวทีนานาชาติ และสิ่งสำคัญที่เยาวชนในโครงการจะได้รับประโยชน์นอกเหนือจากทุนสนับสนุนคือ การได้รับคำแนะนำจากกรรมการผู้เชี่ยวชาญทั้งในส่วนของความรู้ด้านเทคนิค และมุมองต่อการพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจ โดยมูลนิธิฯ หวังว่า การสนับสนุนครั้งนี้คงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วย ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพด้านไอทีของเยาวชนไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติต่อไป
ด้าน นายกว้าน สีตะธนี รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า สำหรับ 10 ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกนี้ ถือว่าเป็นผลงานที่น่าพอใจ โดยหลังจากที่เยาวชนได้ผ่านกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารจัดการโครงการเพิ่มเติมจากโครงการฯ แล้ว ทำให้เยาวชนได้เห็นแนวทางที่จะนำผลงานไปต่อยอดและพัฒนาต่อได้มากขึ้น โดยหัวใจหลัก คือ การคิดถึงผู้ใช้งานให้มากที่สุด หากมีการคำนึงถึงจุดนี้แล้ว จะทำให้สามารถประยุกต์ผลงานให้เกิดประโยชน์และนำไปใช้ได้จริง ทั้งนี้ ผลงาน 10 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกสนับสนุนทุน ได้แก่
1.ข้าจะวิ่งส่งสานส์จนถึงกรุงศรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เกมส่งเสริมให้ผู้เล่นได้ออกกำลังกาย โดยออกแบบให้ผู้เล่นใช้ท่าทางในการบังคับตัวละคร เช่น การวิ่ง การกระโดดหลบสิ่งกีดขวาง หรือการหมอบ จุดเด่นอยู่ที่การเน้นให้ผู้เล่นได้มีการนำกิจกรรมในชีวิตจริงมาเชื่อมโยงกับเกม (Augmented Reality) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เล่นทำกิจกรรมอื่นๆ ที่มีประโยชน์ และสนุกสนาน กระตุ้นให้ผู้เล่นมีการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตจริง
2.มหัศจรรย์อาณาจักรแมลง : ผจญภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เกมจัดทัพวางแผนการรบในรูปแบบ 3D บน Smart phone, Tablet, บนระบบปฏิบัติการ IOS, android, windows phone และ Computer ระบบปฏิบัติการ window,OSX ผ่านเรื่องราวการผจญภัยของเหล่าแมลง 4 เผ่า ได้แก่ มด ด้วง ตั๊กแตน หนอน ที่ต้องการจะกอบกู้อาณาจักรคืนจากเหล่าวายร้าย ซึ่งจะช่วยฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ ฝึกไหวพริบ การวางแผนให้กับผู้เล่น
3.โปรแกรมฝึกฝนการคัดลายมือสำหรับเด็กบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ Android กอไก่ ไรเดอร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โปรแกรมฝึกฝนการคัดลายมือภาษาไทยบนแท็บเล็ต ภายใต้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยมีรูปแบบคล้ายเกม เหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป รวมทั้งมีระบบที่ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถทราบถึงพัฒนาการของผู้ใช้ได้
4.โปรแกรมสำหรับสร้างสรรค์ผลงานภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานภาพเคลื่อนไหวที่สามารถใช้งานได้ง่าย และ รองรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวสองมิติบนพื้นฐาน SVG โดยที่ผู้สร้างไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนคำสั่ง SVG ผู้สร้างผลงานวาดภาพเพียงอย่างเดียว จุดเด่นคือ ใช้งานง่าย มีต้นทุนน้อย ลดการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
5.แอพพลิเคชั่นช่วยการใช้งานสมาร์ทโฟนสำหรับผู้พิการทางสายตาบนระบบปฏิบัติการณ์แอนดรอยด์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นโปรแกรมสำหรับผู้พิการทางสายตาที่สามารถใช้งานเกี่ยวกับการพิมพ์ข้อความบนโทรศัพท์มือถือและการใช้งานพื้นฐานเกี่ยวกับการบันทึกข้อความ สะดวกต่อการใช้งาน
6.คาร์บอนคุง ไลฟ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แอพพลิเคชั่นออนไลน์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำลองชีวิตประจำวันของมนุษย์ อันก่อให้เกิดคาร์บอนในปริมาณต่างๆ กัน ทำผู้เล่นสามารถเล่นเกมไปพร้อมๆ กับได้รับความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งความรู้เหล่านี้จะเชื่อมโยงสู่การนำมาใช้ในชีวิตจริงได้
7.เฟสบิส โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อธุรกิจที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถร่วมมือทำการค้า ทำกิจกรรมออนไลน์ สร้างช่องทางใหม่ในการเข้าถึงคู่ค้าและลูกค้า โดยสามารถทำงานร่วมกัน ติดต่อสื่อสาร หรือเลือกซื้อสินค้าผ่าน Computer, Smartphone และ Tablet ซึ่งจะสร้างกระบวนการขายส่งกับคู่ค้า และขายปลีกกับลูกค้า ซึ่งจะเน้นธุรกิจการท่องเที่ยว
8.การประยุกต์ใช้เจเนติกอัลกอริทึมช่วยในการปรับปรุงการรู้จำตัวอักษรออนไลน์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบ PHIA โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ระบบรู้จำท่าทางสำเร็จรูป ที่จะช่วยให้กลุ่มโปรแกรมเมอร์ที่ไม่ชำนาญในการสร้างระบบรู้จำท่าทาง สามารถนำระบบไปพัฒนาแอพพลิเคชั่นของตนเองได้
9.ระบบจดรายการสั่งสินค้าอัจฉริยะเพื่อองค์กรธุรกิจท้องถิ่น Application บันทึกรายการสั่งสินค้าที่ลูกค้าสั่งและสามารถส่งรายงานผลไปได้ทันทีหรือจะรวบรวมไว้และสามารถ Sync ส่งข้อมูลไปตามต้องการได้ โดยระบุตำแหน่งพิกัดผู้จดสินค้าว่าอยู่บริเวณใดเพื่อความสะดวกในการบันทึกสถานที่ มีระบบ Scan Barcode/ QR code ที่แต่ละร้านค้าออกแบบ หรือเป็น Barcode ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อสามารถ Scan สินค้า จากสินค้าจริงได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาสินค้าในโปรแกรม สะดวก รวดเร็วมากขึ้น
10.ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์น้ำหนักกดบริเวณฝ่าเท้าอัจฉริยะเพื่อนำไปประยุกต์ใช้สำหรับ การออกแบบอุปกรณ์พยุงส้นเท้าและฝ่าเท้าชนิดแรงกดบริเวณสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เครื่องมือตรวจวัดน้ำหนักแรงกดบริเวณฝ่าเท้า เพื่อใช้กับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของเท้าผิดปกติ และผู้ที่มีความผิดปกติในการลงน้ำหนัก ทำการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยเบาหวานที่ประสบปัญหาเท้าเป็นแผลได้เป็นอย่างดี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ สิริลักษณ์ สัจจาพันธ์ (หวาน) โทร 0-2270-1350-4 ต่อ 111