โดยการปรับตัวลงในครั้งนี้สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานที่เกิดจากกระแสข่าวของไซปรัสอาจขายทองคำประมาณ 10 ตันจากที่มีทองคำเป็นทุนสำรอง 13.9 ตันด้วยกัน เพื่อเป็นหนทางในการได้รับเงินช่วยเหลือจากกลุ่มเจ้าหนี้ทรอยก้าเพิ่มเติม ทำให้เกิดความกังวลว่าประเทศอื่นๆในยูโรโซนจะมีแนวคิดดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งหากมีการขายทองคำออกมาจริง แรงขายจากนักลงทุนทั้งรายใหญ่และรายย่อยจะตามออกมาอีก โดยในสถานการณ์ปัจจุบัน กองทุน SPDR ได้ลดการถือครองทองคำลงอย่างต่อเนื่อง ไม่แตกต่างจากมุมมองของสถาบันชั้นนำที่ปรับลดการคาดการณ์ราคาทองปีนี้ลงอีกครั้ง ล่าสุดโกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์ราคาทองคำในระยะเวลา 3 เดือนลงมาอยู่ที่ระดับ 1,615 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากระดับ 1,825 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนในระยะเวลา 6 เดือนได้ปรับลดคาดการณ์ราคาทองคำลงมาอยู่ที่ระดับ 1,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากระดับ 1,805 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และปรับลดคาดการณ์ราคาทองคำในระยะเวลา 12 เดือนลงมาอยู่ที่ระดับ 1,550 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากระดับ 1,800 ดอลลาร์ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในส่วนของเฮดจ์ฟันด์ก็ได้เทขายพอร์ตสินค้าโภคภัณฑ์ พร้อมโยกเงินเข้าลงทุนในหุ้น
นางพวรรณ์ กล่าวว่า วายแอลจีมีมุมมองเชิงลบต่อทิศทางของราคาทองคำในขณะนี้ ซึ่งหากราคาทองคำไม่สามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือ 1,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 20,400 บาทต่อบาททองคำ แนวโน้มขาลงของราคาทองคำจะดำเนินต่อไป โดยประเมินกรอบแนวรับไว้ที่ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 17,700 บาทต่อบาททองคำ หากหลุดลงไป แนวรับสำคัญจะอยู่ที่ 1,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 16,300 บาทต่อบาททองคำ ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในขณะนี้ นักลงทุนอาจชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอดูว่าราคาทองคำจะสามารถตั้งฐานในบริเวณ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้หรือไม่ โดยสามารถเฉลี่ยซื้อได้หากมีการปรับตัวลงมาใกล้ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์หรือ 17,700 บาท และตัดขาดทุนหากหลุดลงไป เพื่อไปรอซื้อในบริเวณด้านล่างอีกครั้ง อย่างไรก็ตามหากราคาทองคำกลับตัวขึ้นไปในบริเวณ 1,400-1,420 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 19,100-19,400 บาทต่อบาททองคำ เน้นให้นักลงทุนขายทองคำเพื่อทำกำไรออกมาก่อน เนื่องจากโซนดังกล่าวจะเป็นแนวต้านที่สำคัญ