ห้องสมุดเที่ยงคืน มทร.ธัญบุรี

พุธ ๑๗ เมษายน ๒๐๑๓ ๑๗:๒๔
“ในเมื่อร้านเหล้ายังปิดตีหนึ่งตีสอง แล้วทำไมห้องสมุดจะปิดเที่ยงคืนไม่ได้” เสียงสะท้อนของ นายพงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการขยายเวลาในการเปิด-ปิด สำนักวิทยบริการฯ เป็นเวลา 24.00 น. หรือที่นักศึกษา มทร.ธัญบุรี เรียกว่า “ห้องสมุดเที่ยงคืน”

นายพงศ์พิชญ์ เล่าว่า จากการสำรวจและจากข้อเสนอแนะของนักศึกษา นักศึกษาต้องการเวลาเวลาในการใช้ห้องสมุดมากขึ้น โดยทางทีมงานจึงได้มีการปรึกษาหารือ ซึ่งในการเปิดห้องสมุดเที่ยงคืนต้องอยู่กรอบของการเปิดปิด ไม่ว่าจะเป็นภาระในเรื่องของค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ นโยบายในการประหยัดพลังงาน แต่ด้วยความต้องการของนักศึกษา ทางสำนักวิทยบริการฯ จึงได้ดำเนินการเปิด “ห้องสมุดเที่ยงคืน” ขึ้นมา นักศึกษาจะได้ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าอย่างเต็มที่ มีพื้นที่ในการศึกษาและเปลี่ยนความรู้ ลดปัญญาสิ่งเสพติดรอบๆ มหาวิทยาลัยฯ “ในเวลาว่างอย่างน้อยห้องสมุดเที่ยงคืน จะเป็นสถานที่ ที่นักศึกษาได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน ดีกว่าออกไปมั่วสุมตามสถานบริการต่างๆ”

“เมย์เจอร์” นางสาวกนกวรรณ ตันสาร นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ เล่าว่า ช่วงเวลาหลังเลิกเรียนเป็นช่วงที่นักศึกษาทุกคนได้พักผ่อน หรือบางคนอาจจะทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัยฯ ในการปิดห้องสมุดเที่ยงคืนของมหาวิทยาลัยฯ เป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากนักศึกษาที่อยู่หอพัก บางคนอาจจะใช้เวลาในการทบทวนความรู้ในห้องสมุด เนื่องจากอาศัยอยู่หอใน ทุกวันนี้สิ่งยั่วยุ ภายนอกมหาวิทยาลัยฯ มีมากมาย ห้องสมุดปิดเที่ยงคืนเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยฯ อยู่ในห้องสมุดมากขึ้น

“ปู” นางสาว วภัสร์ณิษา เรือนคำ ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสุขภาพความงามและสปาไทย วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย เล่าว่า ห้องสมุดเที่ยงคืนเป็นอีกโครงการที่น่าสนใจมากๆ และทางมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดขึ้น เพราะช่วงที่เราจะอ่านหนังสือกันจริงๆ ส่วนใหญ่เป็นหลังอาหารมื้อเย็น กว่าจะทำการบ้าน กว่าจะกินข้าวเสร็จ เวลาก็ล่วงเลยมานาน การที่จะอ่าน และมีสมาธิกับการอ่านจริงๆ เป็นช่วงกลางคืน ที่ทั้งเงียบ และไม่ทำให้เราเสียสมาธิง่ายๆ ห้องสมุดเป็นแหล่งสำคัญที่จะเป็นที่อุดมไปด้วยความรู้ ในค้นหาข้อมูล หรืออยากจะหาที่เงียบๆเพื่ออ่านหนังสือ

“หม่ำ” นายณัฐวุฒิ งามขำ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ เล่าว่า เปิดโอกาสให้นักศึกษามีเวลามากขึ้น ลดปริมาณค่าใช้จ่าย ถ้าหลังเลิกเรียนนักศึกษากลับไปอยู่ที่หอ ต้องใช้ไฟฟ้า เป็นการลดปริมาณ ประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนตัวจะเข้าไปติวหนังสือกับเพื่อนๆ เรียนวิศวะ มีแต่คำนวณ ต้องช่วยกันเรียน ห้องสมุดคือสถานที่ ที่ดีที่สุด ทั้งสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ และสำคัญเวลาที่มากขึ้น

“เอ็ม” นายณัฐพล พัฒนเลี่ยมไพบูลย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ เล่าว่า ช่วงใกล้สอบจะเข้าไปใช้ห้องสมุด ในห้อง “Discussion” กับเพื่อนในกลุ่ม 8 - 9 คน เนื่องจากถ้าอยู่ในหอพัก จะไม่สะดวกอึดอัด ขยายเวลาถึงเที่ยงคืน มีความสะดวกสบายมากขึ้น “เมื่อเรามีเวลาในห้องสมุดมากขึ้น เวลาในการไปทำกิจกรรมตามสถานที่ต่างๆ จึงน้อยลง” กิจกรรมในห้องสมุดมีทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการบริการอินเตอร์เน็ต ดูหนังฟังเพลง เมื่อหายเครียดมีหนังสือให้อ่าน ห้องสมุดสมัยนี้เป็นอะไรมากกว่าห้องสมุด

ห้องสมุดเที่ยงคืน สถานที่แหล่งรวบรวมทั้งความบันเทิง ความรู้วิชาการ สำหรับนักศึกษา มทร.ธัญบุรี อีกหนึ่งไอเดียของห้องสมุดไทย “ห้องสมุดที่เป็นมากกว่าห้องสมุด” นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของ มทร.ธัญบุรี ที่ตั้งใจจะพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของนักศึกษาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น หากนักศึกษาใช้เวลาและอยู่ในสถานที่ใดเหมาะสมนั่นเอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ