พพ. ฝ่าวิกฤตพลังงานหน้าร้อนต่อเนื่อง เปิดตัว“มหกรรมล้างแอร์ด้วยตนเอง”

พฤหัส ๑๘ เมษายน ๒๐๑๓ ๑๗:๒๕
พพ. ฝ่าวิกฤตพลังงานหน้าร้อนต่อเนื่อง เปิดตัว“มหกรรมล้างแอร์ด้วยตนเอง” ยันวิธีการล้างแอร์ไม่ยากอย่างที่คิด และทุกบ้านสามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อลดใช้พลังงาน ลดภาระค่าไฟอย่างน้อย 5- 10% ทันที พร้อมชู “กระแต ศุภักษร” เป็น Presenter โครงการ ชวนประชาชนดูวิดีโอสาธิตการล้างแอร์ด้วยตนเอง ได้ที่ youtube และเว็บไซด์ พพ.

วันนี้ (18 เม.ย. 56) นายประมวล จันทร์พงษ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นประธานเปิดตัวกิจกรรม “มหกรรมการล้างแอร์ด้วยตนเอง” โดยมีผู้บริหารของกรมพพ. ผู้ที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนจากทุกแขนงเข้าร่วมงาน

นายประมวล กล่าวว่า แม้ประเทศไทยจะได้ผ่านพ้นกับวิกฤตพลังงาน ซึ่งเกิดจากการหยุดซ่อมบำรุงของแหล่งก๊าซในประเทศพม่า ที่ส่งผลให้ประเทศไทยต้องขาดเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา จากความร่วมแรงร่วมใจของคนไทยในการลดใช้พลังงานอย่างจริงจังก็สามารถผ่านพ้นวิกฤตดังกล่าวมาได้ด้วยดี แต่สำหรับในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน และการลดใช้พลังงานนั้น ยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องขอความร่วมมือกับคนไทยในการลดใช้พลังงานต่อไป

ทั้งนี้ จากสภาพอากาศที่ยังคงร้อนจัดในหลายพื้นที่ และมีอุณหภูมิที่สูงถึงเกิน 40 องศาเซลเซียลอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน กรม พพ. จึงเล็งเห็นว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินไฟสูงสุด อย่างเครื่องปรับอากาศ จึงจำเป็นต้องมีการดูแลและหมั่นทำความสะอาด เพื่อให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในช่วงหน้าร้อนนี้ และจะช่วยให้ประชาชนลดภาระค่าไฟฟ้าลงได้อย่างน้อย 5 — 10% ด้วยถ้าหากมีการทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง

โดยกิจกรรม “มหกรรมการล้างแอร์ด้วยตนเอง” ที่เกิดขึ้นนี้ จะได้มีการสาธิตวิธีการล้างแอร์ซึ่งได้รับเกียรติจากนักแสดงชื่อดัง คุณกระแต ศุภักษร ไชยมงคล ที่มาแนะนำและสาธิตวิธีการล้างแอร์ด้วยตัวเอง โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ที่จัดทำไว้ และประชาชนที่สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมวิดีโอสาธิตวิธีการล้างแอร์ดังกล่าว โดยเข้าไปที่ youtube เลือก Search คำว่า “กระแตล้างแอร์ด้วยตนเอง” หรือเข้าไปที่เว็บไซด์ของกรม พพ. ที่ www.dede.go.th ก็จะมีลิงค์เพื่อเข้าสู่วีดีโอดังกล่าว นอกจากนี้ ทางกรม พพ. ได้มีการจัดฝึกอบรมวิธีการล้างแอร์ด้วยตนเองเพิ่มเติมอีกด้วย สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ พพ. โทร 02 226 3353 / 02 223 0021-9 ต่อ 1457 หรือติดตามรายละเอียดได้ในเว็บไซด์ และ Facebook ของกรม พพ.

อนึ่ง สำหรับขั้นตอนการล้างแอร์ด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่การปิดเบรกเกอร์เพื่อที่จะตัดไฟฟ้าในวงจรออก การเปิดฝาด้านหน้าใช้ไขควงทดสอบไฟให้มั่นใจว่าไม่มีไฟเข้าเครื่องแอร์แล้ว การถอดแผ่น FILTER แอร์ที่สกปรกออกมาล้างเบาๆ สลัดน้ำออก ผึ่งไว้ให้แห้ง กลับมาที่ตัวแอร์ ไขน๊อตถอดหน้ากากแอร์ออกมา ถึงขั้นตอนนี้จะเห็นแผงคอยล์เย็นที่อยู่ด้านใน ให้เตรียมพลาสติกคลุมส่วนที่เป็นวงจรไฟฟ้า และรองใต้แอร์กันน้ำเปียกพื้นห้อง และนำขวดที่มีหัวฉีดสเปรย์น้ำแบบสูบลมด้วยมือใส่น้ำเปล่าหรืออาจเติมยาล้างจานเติมลงไปเล็กน้อยฉีดให้ทั่วครีบ (FIN) คอล์ยเย็น ใช้แปรงทาสีน้ำ แปรงอื่น พู่กัน ที่เลิกใช้งานแล้วหรือแปรงสีฟันที่หมดสภาพการใช้งานมาแล้ว 1 อัน ให้แปรงลง สิ่งที่ห้ามเด็ดขาดคืออย่างแปรงไปมาซ้ายขวาซ้ายขวาเหมือนแปรงฟันเพราะครีบ (FIN) คอล์ยเย็นจะพับลง จะส่งผลทำให้ลมไม่ออกหรือออกได้น้อยลง ต่อไปให้ล้างใบพัดลมกรงกระรอกโดยจะอยู่ลึกไปทางด้านล่างคอล์ยเย็น ให้ใช้ขวดที่มีหัวฉีดน้ำปรับให้น้ำฉีดเป็นเส้นฉีดเข้าไปในช่องของใบพัดลมกรงกระรอก ฉีดน้ำไปเรื่อยๆ พร้อมกับใช้แปรงทาสีปัดซี่พัดลม ถ้าเห็นว่าสะอาดพอแล้ว ใช้น้ำสะอาดฉีดซ้ำจนทั่ว นำผ้าแห้งเช็ด สุดท้ายนำมาประกอบเข้าที่เดิมและ ตรวจความเรียบร้อย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ