ผลการประชุมคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

จันทร์ ๒๒ เมษายน ๒๐๑๓ ๑๐:๔๘
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2556 ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ โดยมีนายอำพน กิตติอำพน ประธานกรรมการบริษัทฯเป็นประธานการประชุม มีวาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

1. เรื่อง ผลการดำเนินงานด้านการขนส่ง ประจำเดือนมีนาคม 2556

คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบผลการดำเนินงานด้านการขนส่งประจำเดือน มีนาคม 2556 ยังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 1.79 ล้านคนในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เป็น 2.0 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมของปี 2555 ร้อยละ 13.6มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (Revenue Passenger — Kilometer : RPK) และปริมาณการผลิต

ด้านผู้โดยสาร (Available Seat - Kilometer : ASK) เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.8 และ 8.2 ตามลำดับ ส่งผลให้มีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) รวมทั้งระบบเฉลี่ยร้อยละ 80.3 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนซึ่งเฉลี่ยร้อยละ 78.4 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในเส้นทางภูมิภาคจากร้อยละ 76.3 เป็นร้อยละ 81.9 และเส้นทางบินในประเทศจากร้อยละ 77.8

เป็นร้อยละ 79.2 สำหรับหน่วยธุรกิจการบินไทยสมายล์มีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ยร้อยละ 83.3 โดยเที่ยวบินระหว่างประเทศมีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร(Cabin Factor) ร้อยละ 86.8 และเที่ยวบินภายในประเทศมีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร(Cabin Factor) ร้อยละ 82.1

สำหรับการดำเนินงานด้านการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ถึงแม้ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัวแต่ปริมาณการขนส่งสินค้า (Revenue Freight Ton-Kilometers : RFTK) รวมสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.4 เนื่องจากในเดือนมีนาคม 2556 มีการขนส่งสินค้าโดยเครื่องบินขนส่งสินค้า (Freighter).ส่งผลให้ปริมาณการผลิต (Available.Dead.Load

Ton-Kilometers : ADTK) รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 โดยมีอัตราส่วนการบรรทุกสินค้า (Freight Load Factor) รวมเฉลี่ยร้อยละ 55.2 ต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.7

สำหรับผลการดำเนินงานเดือนมกราคม — มีนาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555บริษัทฯ มีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 79.8 โดยมีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (Available Seat - Kilometer : ASK) สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 5.5 และมีปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (Revenue.Passenger.-.Kilometer.:.RPK).สูงกว่าปีก่อน ร้อยละ 7.7 อย่างไรก็ตาม

ในส่วนผลการดำเนินงานด้านการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ บริษัทฯ มีปริมาณการขนส่งสินค้าต่ำกว่าปีก่อน ร้อยละ 1.2 ในขณะที่มีปริมาณการผลิตพัสดุภัณฑ์สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 5.2 ส่งผลให้มีอัตราส่วนการบรรทุกสินค้า (Freight Load Factor) เฉลี่ยร้อยละ 51.1 ต่ำกว่าปีก่อน ร้อยละ 6.1

2. เรื่อง การประกาศผลการทบทวนการจัดอันดับเครดิตบริษัทฯ ประจำปี 2555

คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบว่าทริสเรทติ้งได้ประกาศแจ้งผลการคงอันดับเครดิตบริษัทฯ ประจำปี 2555 และ หุ้นกู้ไม่มีประกันของบริษัทฯ ที่ ระดับ “A+” ด้วยแนวโน้ม “คงที่” หรือ “Stable” โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงสถานะความเป็นผู้นำในธุรกิจการบินระหว่างประเทศในเส้นทางการบินของประเทศไทย และประโยชน์จากการเป็นสมาชิก Star Alliance ซึ่งเป็นเครือข่ายพันธมิตรสายการบินที่ใหญ่ที่สุด รวมถึงสามารถรักษาผลการดำเนินงานให้อยู่ในระดับคงที่ แม้จะต้องมีการลงทุนที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งดังกล่าวอาจถูกลดลงจากปัจจัยความเสี่ยงหลายประการอาทิ การมีภาระหนี้ที่ค่อนข้างสูง ความเสี่ยงจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผันผวน ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และความเสี่ยงจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่กระทบต่อธุรกิจสายการบิน เช่น โรคระบาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความไม่สงบทางการเมือง รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากสายการบินทั่วไปและสายการบินต้นทุนต่ำการจัดอันดับเครดิตดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงสถานะที่มั่นคงของบริษัทฯ จากการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในฐานะที่บริษัทฯ เป็นรัฐวิสาหกิจและฐานะสายการบินแห่งชาติ โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนร้อยละ 51 ธนาคารออมสินซึ่งเป็นธนาคารของรัฐบาลไทยเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 2.1 และบริษัทฯ ยังมีกองทุนวายุภักษ์ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 15.5โดยกองทุนวายุภักษ์นั้น จัดเป็นผู้ลงทุนภาคเอกชน แต่ได้รับการจัดตั้งโดยกระทรวงการคลังเพื่อลงทุนในรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น อันดับเครดิตจะได้รับการปรับลดลง หากรัฐบาลลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 50

3. เรื่อง ความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการจัดตั้งสายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์เป็นบริษัทย่อย

คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบความคืบหน้าเรื่องโครงการลงทุนจัดตั้งสายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์เป็นบริษัทย่อย ซึ่งบริษัทฯ ได้นำเสนอเรื่องต่อปลัดกระทรวงคมนาคมและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ เมื่อกระทรวงคมนาคมเห็นชอบตามที่บริษัทฯ เสนอ กระทรวงคมนาคมจะส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาบรรจุในวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ