นางญาณี กล่าวต่อว่า สท. เป็นหน่วยงานที่ดูแลและรับผิดชอบการดำเนินโครงการเรือเยาวชนฯ ของประเทศไทยในการเสนอชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด โดย สท.จะพิจารณาออกหนังสือรับรอง และส่งให้ทางญี่ปุ่นภายในวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖โดยทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะเป็นผู้คัดเลือกในขั้นตอนสุดท้าย
สำหรับคุณสมบัติของผู้สมัครมีดังนี้
๑. สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี (โดยส่งผลคะแนนวัดระดับภาษาอังกฤษประกอบการสมัครด้วย อาทิ TOEIC, TOEFL, IELTS หรือ อื่นๆ)
๒. มีความรู้ขั้นพื้นฐานและมีประสบการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่งจาก ๘ หัวข้อการอภิปราย ได้แก่
- Corporate Social Contribution
- Cross-cultural Understanding Promotion
- Environment (Natural Disaster Reduction)
- Food and Nutrition Education
- Health Education (Measures against HIV/AIDS)
- International Relation (ASEAN-Japan Cooperation)
- School Education
- Information and Media
๓. สามารถปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างวันที่ ๒๘ ตุลาคม — ๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ และร่วมกิจกรรม ต่างๆ ณ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศที่เรือจอดแวะ และกิจกรรมอื่น ๆ ขณะอยู่บนเรือได้
๔. สามารถเข้าร่วมการประชุม ในระหว่างวันที่ ๑๒ — ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ (รวมวันเดินทางไป-กลับ) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
๕. มีอายุระหว่าง ๒๗ ถึง ๔๐ ปี
๖. มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
นางญาณี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สอบถามรายละเอียดและยื่นใบสมัครได้ที่ กลุ่มประสานงานต่างประเทศ สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน (สทย.) สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หมายเลขโทรศัพท์ ๐-๒๖๕๑-๖๕๓๔ ต่อ ๑๗๘,๑๗๙ ในเวลาราชการ(๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ และ ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐) หรือดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.opp.go.th และส่งใบสมัครให้ สท. ด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ ได้ที่ ๖๑๘/๑ ถนนนิคมมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ ภายในวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ (ถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ)
ติดต่อ:
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ โทร. ๐-๒๒๕๐-๑๙๔๘,๐-๒๒๕๕๕-๘๕๐-๗ ต่อ ๑๓๔ ,๑๖๙ ,๑๗๐