ในงานเปิดตัว “เมดิสปา” อาจารย์ ดร.ภครตี ชัยวัฒน์ แห่งคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล มาให้ความรู้และสาธิตวิธีนวดอย่างถูกต้อง
นางสาวปิยกันย์ ดีปรีชา ผู้จัดการผลิตภัณฑ์เมดิสปากล่าวว่า “เมดิสปาเกิดจากความคิดที่ต้องการผสมพืชสมุนไพรผสานกับน้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่างๆ เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้าทางกายและทางใจไปพร้อมๆ กันอย่างเป็นธรรมชาติ เรามีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นครีมนวดผิวกายช่วยคลายความเมื่อยล้าตามจุดต่างๆ ของร่างกาย ด้วยสูตรอ่อนโยนจากสารสกัดจากพริกหยวกที่ให้ความอุ่นร้อนผสานน้ำมันเมล็ดฟักทอง และสูตรเข้มข้นจากน้ำมันสกัดดอกทานตะวันผสานสารสกัดจากพริกหยวกเสริมด้วยคุณค่าของวิตามินอีที่ช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื่น กลุ่มที่สองเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อผ่อนคลายและหลับสบาย มีทั้งแบบสกัดจากดอกลาเวนเดอร์ และจากดอกสายน้ำผึ้ง เป็นแบบขวดลูกกลิ้ง 3 หัว เพิ่มประสิทธิภาพในการกดนวด กลุ่มที่สาม คือ ครีมนวดผิวกายเพื่อความสดชื่น โล่งสบาย มีทั้งแบบสกัดจากว่านหางจระเข้ และจากดอกคาโมมายด์ ผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 กลุ่มมีกลิ่นหอมนุ่มนวล ไม่รบกวนคนรอบข้าง ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบทันสมัยให้ใช้ง่าย และหาซื้อได้สะดวกตามร้านขายยาชั้นนำทั่วไป เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่จะใช้ดูแลตัวเองอย่างง่ายๆ ทุกที่ทุกเวลา”
อาจารย์ ดร. ภครตี ชัยวัฒน์ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำว่าการป้องกันและผ่อนคลายจากอาการ “ออฟฟิศซินโดรม” นั้นควรดูแลทั้ง ร่างกาย จิตใจและสิ่งแวดล้อมในการทำงานควบคู่กัน ทั้งนี้มีเทคนิคการดูแลตนเองอย่างง่ายๆ ทำได้ในทุกที่ทุกเวลา
1. จัดบรรยากาศการทำงานให้ถูกท่า ถูกที่และถูกใจ โดยทุก 1- 2 ชั่วโมงในการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ควรพัก 2- 3 นาที อาจพักโดยการยืดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายด้วยการหายใจ การเดินเข้าห้องน้ำหรือดื่มน้ำ เป็นต้น จะทำให้ร่างกายและจิตใจไม่เกิดความเครียดสะสมโดยเราไม่รู้ตัว สามารถใช้น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติร่วมด้วยเพื่อให้สดชื่นผ่อนคลายยิ่งขึ้น
2. การผ่อนคลายตนเองโดยการออกกำลังกายด้วยการหายใจ จะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดและปรับความสมดุลของร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดี การออกกำลังกายด้วยการหายใจมีผลให้เลือดได้รับออกซิเจนเพียงพอในการเปลี่ยนสภาพและสร้างเป็นพลังงานเกิดความกระปรี้กระเปร่าให้แก่ร่างกาย โดยการใช้มือทั้งสองสัมผัสที่หน้าท้อง หายใจเข้าลึกๆ ให้สุด มือสัมผัสได้ว่าท้องป่อง นับ 1-4 จากนั้นหายใจออก มือสัมผัสได้ว่าท้องแฟบ นับ 1-8 และหากทำร่วมกับการได้กลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น
3. ท่ายืดกล้ามเนี้อที่สามารถทำได้เป็นประจำด้วยตนเองเพื่อป้องกันและผ่อนคลายอาการจากออฟฟิศ
ซินโดรมด้วยตัวเอง ได้แก่
- ท่าป้องกันและผ่อนคลายอาการปวดร้าวกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ หากมีอาการสะสมเรี้อรังอาจส่งผลให้มีอาการปวดร้าวไปถึงที่ขมับหรือสะบักได้ ทั้งนี้อาจเกิดมาจากการหน้าจอคอมพิวเตอร์และระดับสายตาไม่สมดุลกัน หรือการใช้โทรศัพท์โดยหนีบโทรศัพท์ไว้กับหูเป็นเวลานานๆ เป็นต้น
: โดยเริ่มด้วยด้วยการก้มคอ เอียงศีรษะ หันหน้าไปยังข้อเข่าด้านตรงกันข้ามกับข้างที่เอียงศีรษะใช้มือข้างหนึ่งจับขอบเก้าอี้ไว้ไม่ให้ลำตัวเคลื่อนตามและมืออีกข้างหนึ่งช่วยยืดกล้ามเนื้อ ขณะยืดกล้ามเนื้อควรรู้สึกตึงมากที่สุด แต่ไม่ปวด ไม่ชา ทำค้างไว้ 5 — 10 วินาที ทำทั้งสองข้างอย่างน้อยข้างละ 5 ครั้ง
: สามารถใช้ร่วมกับน้ำมันหอมระเหยแบบลูกกลิ้งหรือครีมนวดทาในบริเวณที่ต้องการผ่อนคลาย
- ท่าป้องกันและผ่อนคลายอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณแขนและมือ จากการเขียน พิมพ์งานนานๆการถือเอกสารหรือ หิ้วของหนักๆ
: นำมือมาประสานกัน กลับให้ฝ่ามืออยู่ด้านหน้า เหยียดไปข้างหน้าให้สุด ค่อย ๆ ยกสูงขึ้นช้าๆ จนแขนแนบหู ขณะยืดกล้ามเนื้อควรรู้สึกตึงมากที่สุด แต่ไม่ปวด ไม่ชา ทำค้างไว้ 5 -10 วินาทีทำอย่างน้อย 10 ครั้ง
: สามารถใช้ร่วมกับน้ำม้นหอมระเหยหรือครีมนวดในบริเวณที่ต้องการผ่อนคลาย
- ท่าป้องกันและผ่อนคลายอาการปวดเกร็งกล้างเนื้อน่องจากการเดินใส่รองเท้าส้นสูงหรือเดินมากๆ
: นั่งตัวตรง เตะขาข้างใดข้างหนึ่งขึ้น แล้วกระดกข้อเท้า หมุนข้อเท้าไปด้านขวา 5 รอบ ด้านซ้าย5 รอบ ขณะออกกำลังกายไม่ควรมีอาการปวด และชา ทำอย่างน้อย 10 ครั้ง จากนั้นสลับข้างจะทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าแข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อน่องและโครงสร้างรอบข้อเท้ายืดหยุ่นดีขึ้น
: สามารถใช้ร่วมกับน้ำม้นหอมระเหยหรือครีมนวดในบริเวณที่ต้องการผ่อนคลาย
อิสระจากออฟฟิศซินโดมไม่ใช่เรื่องยากหากคุณปรับวิธีดูแลร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อมในการทำงานสักนิด พร้อมทั้งเรียนรู้เทคนิคการนวดตนเองอย่างง่ายๆ เพียง 2-3 ท่า ควบคู่กับการเลือกใช้สารสกัดจากพืชธรรมชาติและน้ำมันหอมระเหยที่พัฒนามาเพื่อเสริมความรู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น และหลับสบาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-290-0999
ติดต่อ:
บริษัท โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ จำกัด
แพงขวัญ เขมะวิชชานุรัตน์
โทร. 0 2205 6617 อีเมล์ [email protected]
นิลรัตน์ ดีสมสุข
โทร. 0 2205 6615 อีเมล์ [email protected]