จุฬาฯจัดสัมมนาหาข้อสรุปต่อกรณีทีวีดิจิตอลสาธารณะ

พฤหัส ๒๕ เมษายน ๒๐๑๓ ๑๑:๒๘
วันนี้(พุธ ๒๔ เมย.) ณ ห้องประชุมชั้น ๒ อาคารสถาบัน ๓ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงาน กสทช.ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง ทีวีดิจิตอล....จุดเปลี่ยนประเทศไทย ตอน ทีวีดิจิตอลสาธารณะ รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ นายแพทย์ ดร.สิทธิชัย ทัดศรี รองอธิการบดีจุฬาฯ และ กสทช. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาครั้งนี้ โดยในช่วงเช้าเป็นการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "จากจุดเริ่มต้นปฏิรูปสื่อสู่ทีวีดิจิตอล" โดย รศ.จุมพล รอดคำดี อดีตกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ หัวใจสำคัญการปฏิรูปสื่อคือการกระจายอำนาจการถือครองคลื่นจากภาครัฐ ให้สังคมได้มีโอกาสมากขึ้น ภายใต้การกำกับดูแลของกสทช.

จากนั้นเป็นการอภิปรายในหัวข้อ อนาคตทีวีดิจิตอลสาธารณะในมุมมองนักวิชาการด้านสื่อและกฎหมาย วิทยากร ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.มานะ ตรียาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย ดำเนินรายการโดย ดร.ธีรารัตน์ วงศ์ธนะเอนก นักวิชาการสื่ออิสระ

ผศ.ดร.พิรงรอง จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านระบบทีวีจากอะนาล็อกมาสู่ดิจิตอล จะก่อให้เกิดการแข่งขันแบบใหม่ ที่สามารถเปิดให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อวสามารถเข้าถึงได้หลายช่องทางขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระบบอะนาล็อกที่แหล่งรายได้จะอยู่ที่สถานีโทรทัศน์

นอกจากนี้ ได้นิยามและความหมายตามทฤษฎีและที่ปฏิบัติกันในระดับสากล ทีวีสาธารณะ หมายถึง การกระจายเสียงแพร่สาธารณะ Public Service Broadcasting(PSB) จะมีความแตกต่างจากสื่อแพร่ภาพและกระจายเสียงเชิงพาณิชย์ มีหลักการสำคัญพื้นฐานคือ ทุกคนต้องเข้าถึงได้ ไม่่ว่าอยู่ที่ไหนในประเทศมีเนื้อหาที่ส่งเสริมความหลากหลาย พร้อมบอกเกณฑ์ในการเปรียบเทียบกับระดับนานาชาติ ที่ให้ความหมายทีวีสาธารณะจะต้องปลอดจากภาครัฐ ปลอดจากการเมือง มีเนื้อหาหลากหลายและมีคุณภาพสูง เน้นการให้ความรู้ ให้ข้อมูล ให้ความบันเทิงต่อคนในสังคม ทีวีสาธารณะต้องมีกรรมการนโยบายที่เป็นอิสระจากรัฐ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ต้องระบุไว้ในกฎหมาย เช่น สถานีไทยพีบีเอส ที่มีพ.ร.บ.องค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงฯที่ได้ระบุไว้ว่าต้องสามารถตรวจสอบความโปร่งใสขององค์กรได้ แหล่งที่มารายได้ต้องมาจากแหล่งสาธารณะ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย พบว่ามีความเข้าใจผิดความหมายในเชิงสากลว่า การกระจายเสียงแพร่ภาพของรัฐ Government Service Broadcasting(GSB) เป็นการกระจายเสียงและการแพร่ภาพสาธารณะ (PBS) ซึ่งตอนนี้สังคมไทยยังไม่ถือว่าได้ปฏิรูปสื่อสำเร็จ แต่กำลังอยู่ช่วงระยะการเรียนรู้การปฏิรูปสื่อ

ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า บริการสาธารณะเป็นคำศัพท์ทางกฎหมายมหาชน ในทางทฤษฎีต้องตอบสนองสองเรื่อง คือ ต้องยึดโยงกับรัฐ และตอบสนองความต้องการของประชาชน ขึ้นอยู่ว่ากิจการนั้นเป็นแบบไหน รัฐอาจจะไม่ทำเอง แต่รัฐต้องไปกำกับดูแลเพื่อป้องกันการเอาเปรียบ อย่างเช่นการขึ้นราคาค่าทางด่วน ประเด็นสำคัญคือ ทำอย่างไรทีวีแต่ละช่องจะมีเนื้อหาที่น่าสนใจและตอบสนองคนดูที่เป็นประชาชน

ส่วนนิยามการไม่แสวงหากำไร หรือการไม่เน้นกำไร พ.ศ.๒๕๔๒ มีการตั้งหน่วยงานองค์การมหาชน เพราะรัฐต้องการตั้งหน่วยงานเพื่อจัดทำบริการสาธารณะที่ต่างจากรัฐวิสาหกิจที่มุ่งหากำไร

ศ.ดร.นันทวัฒน์ บอกกว่า การใช้ดุลยพินิจของกสทช.ควรออกประกาศหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด ต้องเคลียร์ให้หลุดพ้นข้อครหาของตัวเอง เพื่อความรอบคอบและเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติและรัฐ และต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยไม่ใช่ดุลยพินิจ

ดร.มานะ ตรียาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่าหลักใหญ่ใจความทีวีสาธารณะ ต้องการเปิดพื้นที่ให้คนตัวเล็ก ตัวน้อยในสังคมที่ไม่มีสิทธิได้มีปากเสียงในสื่อใหญ่ จากอดีตสื่อที่อยู่ในภาคของรัฐ คนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา อย่างเช่น เขื่อนปากมูลแทบไม่ได้ออกสื่อ นอกจากต้องออกไปประท้วง ปีนสถานที่ราชการ สร้างกระแสเพื่อเรียกร้องความสนใจจากสื่อ ภาพที่ผ่านจอทีวีจึงเป็นการสื่อด้านเดียว เราจึงจำเป็นต้องมีการพูดคุย มีพื้นที่ตรงกลางเพื่อให้คนออกมาแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายในสภาพสังคมปัจจุบัน ถ้าคุณจำกัดสิทธิของคนกลุ่มเล็กคนด้อยโอกาสเขาอาจไปหาช่องทางอื่นและกระทำการอย่างอื่นเอง แต่ปัญหาคือ แนวคิดกสทช.ว่า คลื่นวิทยุโทรทัศน์เป็นของเขา ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่ารัฐจะต้องตามแก้ปัญหาอื่นๆในสังคมตามมาแน่นอน หากมีการใช้อำนาจที่ไม่โปร่งใสและมีผลกระทบกับประชาชนโดยรวม

ช่วงบ่าย เป็นการอภิปรายหัวข้อ "อนาคตทีวีดิจิตอลสาธารณะในมุมมองนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และเทคโนโลยี" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ รศ.เวช วิเวก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ดำเนินการอภิปรายโดย ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง ม.หอการค้าไทย สรุปการสัมมนาโดย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ