“ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ PwC ได้รับการรับรองและเข้าเป็นส่วนหนึ่งในสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) นอกจากนี้ สิ่งที่ถือว่ามีความสำคัญยิ่งไปกว่า คือการได้เป็นหนึ่งในตัวแทนของภาคเอกชนในอันที่จะร่วมกันส่งเสริมรณรงค์ให้เกิดความโปร่งใส รวมทั้งเป็นผู้นำในการพัฒนากระบวนการต่อต้านการทุจริตในภาคเอกชนและการปฎิรูปธรรมาภิบาลที่ดี” นายศิระ กล่าว
นาย ศิระ กล่าวเสริมว่า การทุจริตในทุกรูปแบบถือเป็นอุปสรรคสาคัญของการพัฒนาประเทศ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการสร้างมาตรการและระบบตรวจสอบเพื่อส่งเสริมความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต นอกจากนี้ ยังต้องร่วมมือกับภาคประชาสังคมและสื่อสื่อมวลชนและองค์กรระหว่างประเทศ ในการสร้างจิตสานึกและการให้การศึกษาแก่สาธารณะ เพื่อเปลี่ยนค่านิยมไปสู่การต่อต้านและการประณามการทุจริตในทุกรูปแบบ สร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่ใสสะอาด
จากผลสำรวจล่าสุด PwC Thailand Economic Crime Survey — Cybercrime: are you at risk?: Fraud risks on the rise in Thailand พบว่าอาชญากรรมทางการเงินยังเป็นคงประเด็นสำคัญที่น่าจับตามอง ซึ่งส่งผลกระทบให้กับองค์กรต่างๆ ทั่วโลก และรวมถึงประเทศไทยด้วย โดย 35 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทย ได้รับความเสียหายจากหนึ่งหรือในหลายๆ ประเภทของอาชญากรรมทางการเงินในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ผลการสำรวจนี้เปรียบเทียบจาก 34 เปอร์เซ็นต์จากทั่วโลก และ 31 เปอร์เซ็นต์จากกลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิค
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าแนวโน้มการฉ้อโกงธุรกิจไทยจะยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตคอรัปชั่นและอาชญากรรมทางด้านอิเล็คทรอนิคส์ ในช่วงอีก 3-5 ปีข้างหน้า สร้างความเสียหายทางด้านทรัพย์สินมีมูลค่ามหาศาล และส่งผลกระทบในวงกว้างกับทั้งองค์กร
ทั้งนี้ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนการจัดทำโดยรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยโครงการนี้ เริ่มดำเนินการโดยความร่วมมือของ 7 องค์กรชั้นนำ ได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หอการค้าไทย หอการค้านานาชาติ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ยังได้รับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก Centre for International Private Enterprise (CIPE) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการต่อต้านการทุจริตในวงกว้าง
นอกจากนี้ คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติฯ ยังได้แต่งตั้งให้สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย นำโดย ดร. บัณฑิต นิจถาวร ทำหน้าที่เป็นเลขานุการและองค์กรสนับสนุนดำเนินโครงการ บทบาทของ IOD ในการขับเคลื่อนโครงการ คือการให้ความรู้ความใจแก่กรรมการในเรื่องคอร์รัปชั่น อาทิ รูปแบบและผลเสียหายจากคอร์รัปชั่น กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง การป้องกันและแก้ไขปัญหา ผ่านการให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจัดสัมมนา การจัดหลักสูตรการอบรมสำหรับผู้บริหาร การประชุมระดับชาติและการบรรยายให้ความรู้แก่สมาคม องค์กรต่างๆ โดยปัจจุบันมีบริษัทที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์เป็นแนวร่วมฯทั้งหมด 67 บริษัท ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thai-iod.com/imgUpload/file/Siminar&Event/67%20%D1%B7%20ENG-%2027%20__%2055.pdf
ติดต่อ:
พลอย เทน เคท
เบอร์โทรศัพท์: +66 (0) 2344 1000 ต่อ 4713
อีเมลล์: [email protected]
ปฐมาวดี ศรีวงษา
เบอร์โทรศัพท์: +66 (0) 2344 1000 ต่อ 4714
อีเมลล์: [email protected]
โสมจุฑา จันทร์เจริญ
เบอร์โทรศัพท์: +66 (0) 2344 1000 ต่อ 4711
อีเมลล์: [email protected]