สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เสนอภาครัฐใช้มาตรการเพื่อลดการเก็งกำไรในตราสารหนี้ระยะสั้น ชี้เป็นการแก้ไขปัญหาตรงจุดและรักษาความเชื่อมั่นของนักลงทุนในระยะยาว

พุธ ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๑๓ ๑๐:๓๘
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยหลังการประชุมหารือร่วมกับคณะกรรมการและที่ปรึกษา สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 องค์กร ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ในวันนี้ (3 พ.ค. 2556) เพื่อเสนอมาตรการที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าในปัจจุบัน

เหตุผลสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมาเกิดขึ้นจากการเข้ามาเก็งกำไรในตราสารหนี้ระยะสั้นของไทยในบางช่วงของนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณเกือบ 200,000 ล้านบาท (Outstanding) เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2555 ถึง 55,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 23 ของจำนวนตราสารหนี้ทั้งหมดในตลาด

ตราสารหนี้ไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เห็นว่าการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างมีประสิทธิภาพ ภาครัฐควรแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด คือการออกมาตรการที่จะจำกัดการเก็งกำไรของตราสารหนี้ระยะสั้น อย่างไรก็ตาม การออกมาตรการต่าง ๆ ไม่ควรกระทบต่อความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและตลาดทุนโดยรวมของประเทศ นายไพบูลย์ กล่าว

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ไม่เห็นด้วยกับการออกมาตรการที่จะจำกัดการลงทุนในตลาดหุ้น หรือมาตรการจำกัดการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ระยะยาว เพราะเชื่อว่าประเทศไทยยังต้องการเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมากในภาวะที่ประเทศกำลังเข้าสู่ช่วงของการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และในภาวะที่บริษัทไทยกำลังอยู่ในช่วงของการลงทุนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนในระยะยาวหรือการลงทุนในตลาดทุนจึงเป็นสิ่งที่ดีสำหรับระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ข้อเสนอแนะของสภาธุรกิจตลาดทุนไทยในการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า คือ ถ้าหากภาครัฐต้องการที่จะจำกัดการลงทุนที่มีลักษณะการเก็งกำไรระยะสั้น จึงควรกำหนดมาตรการห้ามไม่ให้นักลงทุนชาวต่างประเทศเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุเหลือไม่ถึงครึ่งปี หรือ 6 เดือน ซึ่งมาตรการดังกล่าวเคยใช้ได้ผลแล้วในต่างประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น และยังเป็นมาตรการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยสภาธุรกิจตลาดทุนไทยประเมินว่ามาตรการที่เสนอจะเพียงพอในการดูแลค่าเงินบาทในระยะนี้ ซึ่งจะสามารถทำให้ค่าเงินมีเสถียรภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรสร้างความเข้าใจกับนักลงทุนและประชาชนทั่วไป คือ กรณีเม็ดเงินไหลเข้านั้นจะยังคงดำเนินต่อไปอีกหลายปีเพราะหลายประเทศโดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ได้มีการเพิ่มปริมาณเงินเข้ามาในระบบเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของตนเอง ซึ่งคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าเม็ดเงินบางส่วนจะไหลเข้ามาในประเทศไทย

“ผมมีความเชื่อมั่นว่าองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลค่าเงิน ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกระทรวงการคลัง น่าจะมีมาตรการที่เตรียมไว้ใช้ในการดูแลค่าเงินอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม สภาธุรกิจตลาดทุนไทย จากความเห็นชอบจากสมาชิกทั้ง 7 องค์กร เชื่อว่ามาตรการที่เสนอมีความเหมาะสมและเพียงพอในการดูแลค่าเงิน และไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจไทย” นายไพบูลย์ กล่าว

สอบถามข้อมูลและกิจกรรมต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย โทร 02-229-2900-2 หรือ email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี