จ.สุพรรณจับมือ“โตว่องไว”หนุนคนหูหนวกสู่อุตสาหกรรม ดึงงานวิจัยป.เอก-มอบทุนกว่า2แสนอบรมช่างเชื่อมรุ่น2-3

พุธ ๒๒ พฤษภาคม ๒๐๑๓ ๑๓:๒๓
นางนาตยา แก้วใสนักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเปิดเผยถึงความคืบหน้าของผลงานวิจัยเรื่อง "รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม" ว่า ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งจึงจะได้มีการจัดการอบรมหลักสูตร “ช่างเชื่อมMAG ฟิลเลทเหล็กกล้าสำหรับคนหูหนวก” รุ่นที่ 2 และ3 หลังประสบความสำเร็จจากการอบรมรุ่นที่ 1 ด้วยความร่วมมือระหว่างครูฝึกหูหนวก คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญงานเชื่อมของ มจพ. และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 2 สุพรรณบุรี โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี และนายไพศาล ว่องไวกลยุทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโตว่องไว จำกัด เป็นผู้ให้การสนับสนุนเงินทุนสำหรับการฝึกอบรมในรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3จำนวน 14ทุน มูลค่ากว่า 2 แสนบาท เพื่อเปิดโอกาสให้คนหูหนวกที่สนใจประกอบอาชีพช่างเชื่อมเข้าสู่อุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดฝึกอบรมวันที่ 3 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556 สำหรับผู้สนใจขอรับทุนฝึกอบรมและสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร.09-2108-7968 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.grad.kmutnb.ac.th

"รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม เป็นผลงานวิจัยที่จัดทำขึ้นจากการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งพบว่าประเทศไทยมีความต้องการช่างเชื่อมเป็นจำนวนมาก และศักยภาพของคนหูหนวกสามารถฝึกอบรมเพื่อเป็นช่างเชื่อมได้ โดยงานช่างเชื่อมใช้ทักษะการฟังน้อยมาก และคนหูหนวกมีความระมัดระวังต่อการทำงานช่างมากเป็นพิเศษ จากผลงานวิจัยได้ค้นพบว่าคนหูหนวกสามารถเป็นช่างเชื่อมได้ดี จึงจะได้มีการจัดการอบรมหลักสูตร...ช่างเชื่อมMAG ฟิลเลทเหล็กกล้าสำหรับคนหูหนวก...รุ่นที่1ไปแล้วในระหว่างวันที่ 22-26 เมษายนที่ผ่านมาและประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย มีคนหูหนวกสนใจเข้ารับการอบรมจำนวน 9 คน จากจำนวนต่อรุ่นที่ต้องการเพียง 7 คน สำหรับการอบรมรุ่นที่ 2 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-7 มิถุนายนนี้ โดยรับคนหูหนวกเข้าอบรมรุ่นละจำนวน 7 คน (รวม 2 รุ่น 14 คน) จัดการอบรมที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 2 สุพรรณบุรี ระยะเวลาในการอบรม 5 วัน จำนวน 30 ชั่วโมง ทุนอบรมมูลค่าทุนละ 15,000 บาท จะรวมค่าฝึกอบรม เอกสารประกอบการอบรม สื่อดีวีดี อาหาร 3 มื้อ ค่าเดินทาง และที่พักตลอดการฝึกอบรมโดยผู้เข้าอบรมจะได้รับวุฒิบัตรรับรองความสามารถ เมื่อผ่านเกณฑ์มาตรฐานของการฝึกอบรม และหากสนใจประกอบอาชีพช่างเชื่อมจะมีสถานประกอบการรับเข้าทำงานในทันที โดยมีอัตราจ้างแรงงานตามมาตรฐานค่าแรงงานคนปกติ และหากคนหูหนวกมีความสามารถมากก็จะได้รับการพิจารณาค่าแรงเพิ่มพิเศษ โดยไม่มีเงื่อนไขความเป็นผู้พิการมาเป็นข้อจำกัดของอัตราจ้าง”นางนาตยากล่าว

สำหรับรายละเอียดของการอบรมหลักสูตร “ช่างเชื่อม MAG ฟิลเลทเหล็กกล้าสำหรับคนหูหนวก” รุ่นที่ 2 และรุ่น 3หลักสูตร 30 ชั่วโมงนางนาตยา แก้วใส กล่าวว่า มีรายละเอียดหัวข้อ 1.ความปลอดภัยในงานเชื่อม2.เครื่องเชื่อมและอุปกรณ์3.ท่าเชื่อม (ท่าขนานนอน ท่าราบ) ชนิดของรอยต่อ 4.สัญญลักษณ์การเชื่อม 5.เทคนิคการเชื่อมฟิลเลท6.ชนิดของแก๊สปกป้อง7.ลวดเชื่อม8.จุดบกพร่องของรอยเชื่อม การตรวจสอบ เกณฑ์การยอมรับของรอยเชื่อม9.ปฏิบัติการฝึกเชื่อมMAG ฟิลเลท โดยคุณสมบัติของคนหูหนวกที่จะขอเข้ารับการอบรม คือ เป็นคนหูหนวกที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป สามารถสื่อสารภาษามือได้ อายุไม่เกิน 45 ปี โดยนำหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา 1 ใบมาสมัคร และสำหรับสถานประกอบการใดที่ต้องการรับคนหูหนวกเข้าทำงานหรือมอบทุนสนับสนุนให้กับคนหูหนวก กรุณาติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ 09-2108-7968 อ.นาตยา แก้วใสหรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่www.grad.kmutnb.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ