แมคแคนเผยผลสำรวจล่าสุด ในหัวข้อ “เจาะลึก 5 เทรนด์ในโลกแห่งการเงิน”

พฤหัส ๒๓ พฤษภาคม ๒๐๑๓ ๑๑:๔๑
แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยผลการศึกษาล่าสุดในหัวข้อ “ความจริงเกี่ยวกับพรมแดนทางการเงิน” (The Truth about Financial Frontiers) ซึ่งชี้ให้เห็น 5 แนวโน้มสำคัญเกี่ยวกับผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของธุรกิจการให้บริการทางการเงินสำหรับรายย่อย (retail finance) และเขย่าวงการสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคตามธรรมเนียมเดิมๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา

นางสาววฤตดา วรอาคม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านนวัตกรรม (ซีไอโอ) แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า “เทรนด์ในการให้บริการทางการเงินสำหรับรายย่อยของธนาคารหลายๆ แห่งทั่วโลก และธุรกิจการธนาคารในประเทศไทยน่าจะนำมาปรับใช้ได้ก็คือ การเข้าถึง “'กลุ่มคนหรือธุรกิจที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินกระแสหลักได้'” โดยเธอกล่าวว่า "ในขณะที่เราคุ้นเคยกันดีกับบริการธนาคารเพื่อรายย่อยที่เน้นกลุ่มชนชั้นกลางและคนรวยแล้ว เราก็ควรจะหันมามองกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่านั้น หรือผู้ที่มีรายได้แบบหาเช้ากินค่ำ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญกลุ่มใหม่ของตลาดในประเทศกำลังพัฒนาหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย"

นางสาววฤตดา กล่าวอีกว่า “เทคโนโลยีจะเปลี่ยนวิถีที่ประชากรมีรายได้น้อยเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยนวัตกรรมระบบธนาคารผ่านมือถือ (mobile banking) แม้ว่ากลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ไม่มีบัญชีธนาคาร พวกเขามีโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเปิดช่องให้สถาบันการเงินและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรสามารถให้บริการทางการเงินแก่กลุ่มคนหรือธุรกิจที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินกระแสหลักได้อย่างคุ้มค่า โดยใช้ประโยชน์จากบริการโทรศัพท์มือถือในเชิงสร้างสรรค์และเริ่มใช้แนวคิดเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานง่าย"

ในการศึกษาครั้งนี้ 3 แนวโน้มแรก ได้แก่ ระบบบริการทางการเงินที่ลื่นไหล (Frictionless Finance) ความเป็นอิสระในการเลือกวิถีชีวิตของตนเอง (Personal Autonomy) และพลังของชุมชน (Community Power) ส่งผลกระทบชัดเจนต่อนวัตกรรมสินค้าและบริการ ในขณะที่ประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส (Sensorial Experiences) และสัมผัสที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นมนุษย์ (The Human Touch) มีอิทธิพลต่อการสร้างความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ ทั้งหมดมีความสำคัญต่อแบรนด์ของผู้ให้บริการทางการเงินที่มุ่งชี้นำและกำหนดรูปแบบของอุตสาหกรรมนี้

1. ระบบบริการทางการเงินที่ลื่นไหล (Frictionless Finance)

เศรษฐกิจในยุคดิจิตอลและการปฏิวัติในวงการโทรศัพท์มือถือที่มีผู้บริโภคเป็นตัวขับเคลื่อนยังคงมีบทบาทสำคัญ ขณะที่ผู้บริโภคเปลี่ยนมุมมองของชีวิตของพวกเขามากขึ้น ทั้งจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมไปสู่การช้อปปิ้งและไปสู่โลกออนไลน์ ผู้บริโภคและธุรกิจที่รอบรู้เรื่องโลกดิจิตอลต่างต้องการช่องทางใหม่ๆ ในการทำธุรกรรมทางการเงินที่สะดวก รวดเร็ว และเหนือสิ่งอื่นใด คือ ความโปร่งใส โทรศัพท์มือถือจะเป็นตัวกำหนดแนวโน้มนี้ โดยการใช้กระบวนการบูรณาการที่ให้ประสบการณ์ที่น่าประทับใจยิ่งกว่าแก่ผู้บริโภค ผ่านหลายกลไก ได้แก่ 1) วิธีการชำระเงินแบบไร้รอยต่อ (Seamless Payments) ด้วยการสัมผัสเพียงครั้งเดียวหรือท่าทางง่ายๆ 2) กระบวนการที่ประยุกต์ให้ง่ายขึ้น (Simplified Processes) ด้วยขั้นตอนที่สั้นที่สุด และ 3) ธนาคารออนไลน์ (Digitally-Native Banks) ที่ไม่มีสาขา เปิดให้บริการทางการเงินผ่านอินเตอร์เนตเท่านั้น และให้สิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าธนาคารสาขาย่อยทั่วไป

การเติบโตของบริการธนาคารผ่านมือถือจะช่วยเสริมพลังให้ผู้บริโภคในตลาดประเทศกำลังพัฒนา หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงแรกๆ ที่จะเกิดขึ้น คือ กิจการร่วมทุนของโวดาโฟน (Vodafone) กับ M-PESA ของซาฟารีคอม (Safaricom) ในประเทศเคนยา ซึ่งเริ่มให้บริการโอนเงินผ่านมือถือ จากนั้นพัฒนาไปเป็นบริการธนาคารสำหรับผู้ด้อยโอกาสจนประสบความสำเร็จได้ในต้นทุนที่ต่ำ บริการดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถทำงานชำระหรือโอนเงินระหว่างบุคคลให้เพื่อนฝูงและครอบครัวของพวกเขา ผ่านบัตรเครดิตเสมือน (virtual credit) ที่ส่งไปพร้อมกับข้อความหรือรหัสผ่านเข้าใช้งานระบบ

2. อิสระในการเลือกวิถีชีวิตของตนเอง (Personal Autonomy)

การแข่งขันที่สูงขึ้นและการเพิ่มขีดความสามารถของผู้บริโภคถือเป็นแรงต้านไม่ให้อุตสาหกรรมการเงินให้บริการแก่ลูกค้าในฐานะ “บุคคลสำคัญ” สถาบันการเงินมุ่งมั่นที่จะแสดงให้เห็นว่าพวกเขาจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดระบบการเงินของตนเองได้อย่างไร ทั้งนี้ เราจะได้เห็นบริการทางการเงินที่สอดคล้องกับความชอบหรือความต้องการของแต่ละบุคคลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ 1) บริการจัดการทางการเงิน (Financial Management) ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟแวร์ที่มีระบบการจัดทำงบประมาณ การแยกประเภท และการวิเคราะห์กระแสเงินสด 2) ตัวเลือกบริการที่กำหนดเอง (Customized Services) ที่เปิดให้ผู้ใช้บริการปรับแต่งเงื่อนไขการใช้บัตรต่างๆ เอทีเอ็ม สัญญาจำนอง และเงินกู้ยืมที่เหมาะสมกับตนเอง และ 3) การวิเคราะห์พฤติกรรม (Behavior Analysis) ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอุปนิสัยทางการเงินของผู้บริโภค

3. พลังของชุมชน (Community Power)

จากผลของการเข้าสู่โลกยุคดิจิตอลและการรับฟังเสียงของผู้บริโภค ผู้บริโภคจึงเป็นศูนย์กลางในการร่วมสร้างสรรค์ระบบบริการทางการเงินที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายสำคัญต่อระบบบริการทางการเงินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ผสานหลักการต่อไปนี้มากขึ้น ได้แก่ 1) การสร้างสรรค์หรือแก้ปัญหาร่วมกัน (Crowdsourcing) ในส่วนของแนวคิดและการแก้ปัญหา 2) การร่วมระดมทุน (Crowdfunding) เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการ และ 3) การผสมผสานสื่อโซเชียล (Social Media Integration) เพื่อตอบสนองไลไตล์ผู้บริโภคยุคปัจจุบันให้เข้ามามีส่วนร่วมกับบริการทางการเงินได้มากขึ้น

4. ประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส (Sensorial Experiences)

ในยุคที่ความต้องการทางวัตถุกลายเป็นเรื่องที่ต้องตอบสนองและประสบการณ์ในโลกเสมือนก็แพร่หลายมากขึ้น แบรนด์ผู้ให้บริการทางการเงินจะได้ประโยชน์จากการเสนอสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมผ่านประสาทสัมผัสของพวกเขา เราจะได้เห็นการออกแบบสาขาที่ต่างไปจากรูปแบบสาขาเดิมๆ ไปอย่างสิ้นเชิง นับตั้งแต่ 1) 'ศูนย์กลางชุมชน' (Community Hubs) ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ด้านการใช้ประโยชน์ภายในชุมชน 2) 'พื้นที่แห่งอนาคต' (Futuristic Spaces) ที่สะท้อนเทคโนโลยีและการออกแบบที่ชาญฉลาด นอกเหนือจากรูปแบบที่เรียกว่า ‘third space’ หรือพื้นที่ทางสังคมที่ไม่ใช่บ้านและที่ทำงาน เทคโนโลยีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ 3) ‘จุดเชื่อมต่อที่เป็นมิตรต่อมนุษย์’ (Human-Friendly Interfaces) ซึ่งมีการโต้ตอบและปฏิสัมพันธ์กัน เป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการสัมผัสประสบการณ์ตรงที่จะได้รับจากแบรนด์

5. สัมผัสที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นมนุษย์ (The Human Touch)

ธนาคารทั้งหลายต่างถูกประณามว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤติการเงินทั่วโลกเมื่อปี 2008 ในขณะที่เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการเก็งกำไรหุ้นและข้อหาเรื่องการฟอกเงินได้ทำให้ชื่อเสียงของธนาคารยักษ์ใหญ่หลายแห่งทั่วโลกมัวหมอง สรุปก็คือ ความไว้วางใจที่มีต่อธนาคารลดลงและผู้บริโภคกระหายอยากพบแบรนด์ที่ “ให้สัมผัสถึงความเป็นมนุษย์” ซึ่งแสดงถึงความเอื้ออาทร ความเมตตา และมีบุคลิกภาพน่าประทับใจ การเชื่อมโยงกับผู้บริโภคถึงระดับของอารมณ์ความรู้สึกจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความแตกต่างของแบรนด์ เราจะได้เห็นบริการทางการเงินที่ทุ่มทุนสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในระยะยาวกับลูกค้าของพวกเขามากขึ้น โดย 1) 'การดูแลชุมชน' (Caring for the Community) โดยการสนับสนุนความต้องการของชุมชนนั้น รวมถึงการส่งเสริม 2) 'จริยธรรมอันดี' (Good Ethics) เพื่อแสดงถึงหลักการและให้บริการลูกค้าด้วยความใส่ใจและนโยบายคืนกำไรให้ลูกค้าที่ 3) 'น่าชื่นใจและคาดไม่ถึง' (Delight & Surprise)ในอนาคตข้างหน้า เราจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นในแวดวงการเงิน เนื่องจากธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย (Retail Bank) กำลังเข้าสู่ยุคแห่งการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบรับกระแสความเปลี่ยนแปลงในวิถีที่ผู้บริโภครับรู้และจัดการการเงินของพวกเขา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:

รุ่งนภา ชาญวิเศษ, เอริก้า แคมป์เบลล์

เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย)

โทร: 02-343-6000 ต่อ 061, 058

อีเมล์: [email protected], [email protected]

วฤตดา วรอาคม

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านนวัตกรรม

แมคแคน เวิล์ดกรุ๊ป ประเทศไทย

โทร. 02-343- 6000 ต่อ 173

อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version