เจ็ทสตาร์ร่วมตรวจสอบอุปกรณ์ชิ้นส่วนชุดสุดท้าย ก่อนจัดส่งไปประกอบเครื่องบินโบอิ้งตระกูล 787 ลำแรกในฝูงบิน

จันทร์ ๒๗ พฤษภาคม ๒๐๑๓ ๑๖:๕๕
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะผู้บริหารของแควนตัส เจ็ทสตาร์ และโบอิ้ง ซึ่งได้แก่ มร.อลัน จอยซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แควนตัส กรุ๊ป มิสเจน เฮอร์ดลิคกา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจ็ทสตาร์ กรุ๊ป

มร.ไดเนช เคสการ์ รองประธานอาวุโสฝ่ายขายประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและอินเดีย โบอิ้ง คอมเมอร์เชียลแอร์เพลนส์ มร.เอียน โทมัส ประธาน โบอิ้ง ออสเตรเลียและเซาธ์แปซิฟิก และมร.จอห์น ดัดดี้ กรรมการผู้จัดการ โบอิ้ง แอโรสตรัคเจอร์ส ออสเตรเลีย ร่วมตรวจสอบอุปกรณ์ชายปีกหลัง (Trailing edge components) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ชิ้นส่วนชุดสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ก่อนจัดส่งไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อนำไปติดตั้งบนปีกของเครื่องบินโบอิ้ง 787- 8 ดรีมไลเนอร์ลำแรกของฝูงบินเจ็ทสตาร์ที่อยู่ในระหว่างการประกอบขั้นตอนสุดท้ายในขณะนี้

สำหรับอุปกรณ์ชิ้นส่วนชายปีกหลังดังกล่าวผลิตโดยบริษัท โบอิ้ง แอโรสตรัคเจอร์ส ออสเตรเลีย มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบอากาศพลศาสตร์ของเครื่องบินให้มีเสถียรภาพ โดยมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มแรงยกของเครื่องบินในขณะบินขึ้นและลงจอดได้อย่างดี

มร.อลัน จอยซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แควนตัส กรุ๊ป กล่าวว่า “การส่งมอบเครื่องบินโบอิ้ง 787 ลำแรกให้แก่เจ็ทสตาร์ กรุ๊ป ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของการพัฒนาเจ็ทสตาร์ ทั้งยังเป็นการพัฒนาที่รุดหน้าอีกขั้นของฝูงบินแควนตัส กรุ๊ป ซึ่งปัจจุบันเป็นฝูงบินที่มีอายุน้อยที่สุดประมาณ 20 ปี การมีเครื่องบินโบอิ้ง 787 ที่ประหยัดเชื้อเพลิงในฝูงบินของเราจะช่วยให้การให้บริการเดินทางทางอากาศของเรามีมาตรฐานดียิ่งขึ้นกว่าที่เคยมีมา” และเสริมว่า “สิ่งที่โบอิ้งได้นำมาปรับใช้ในการออกแบบเครื่องบินรุ่นนี้ทั้งทางด้านการเพิ่มความสะดวกสบายและความประหยัดเชื้อเพลิงเพื่อประโยชน์ต่อผู้โดยสารและสายการบิน ทำให้เครื่องบินโบอิ้ง 787 เป็นเครื่องบินที่คุ้มค่าสมกับ

การรอคอยอย่างแท้จริง”

“ปัจจุบัน เราได้ลงทุนมูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางด้านสถานที่ฝึกอบรมสำหรับนักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่อง การติดตั้งเทคโนโลยีและอุปกรณ์ดูแลรักษาเครื่องบิน และการจ้างงานเพื่อรองรับระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว” มร.จอยซ์ กล่าวเพิ่มเติม

มิสเจน เฮอร์ดลิคกา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจ็ทสตาร์ กรุ๊ป เผยว่า “เครื่องบินโบอิ้ง 787 ลำแรกของเจ็ทสตาร์ มีกำหนดจะมาถึงประเทศออสเตรเลียในปลายเดือนกันยายน 2556 และเครื่องบินโบอิ้ง 787 ใหม่อีก 2 ลำ จะเข้าประจำการในฝูงบินของเจ็ทสตาร์ในปลายปีนี้ ส่งผลให้เจ็ทสตาร์เป็นสายการบินรายแรกในภูมิภาคออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และสายการบินต้นทุนต่ำรายแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ใช้เครื่องบินโบอิ้ง 787ซึ่งเรามั่นใจอย่างยิ่งว่าจะได้รับการชื่นชอบจากลูกค้าของเจ็ทสตาร์อย่างแน่นอน”

“เครื่องบินดรีมไลเนอร์สมีห้องโดยสารที่เงียบสงัด มีระบบการถ่ายเทอากาศที่ดียิ่งขึ้น และมีหน้าต่างขนาดใหญ่โดยจะนำออกให้บริการรับส่งผู้โดยสารสู่จุดหมายปลายทางสำคัญต่างๆ ได้แก่ โฮโนลูลู ภูเก็ต และโตเกียวซึ่งปัจจุบันให้บริการด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ330 สำหรับเมลเบิร์นถือเป็นบ้านเกิดของเจ็ทสตาร์และเครื่องบินโบอิ้ง 787 เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เจ็ทสตาร์เติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อไปในอนาคต ดังนั้น การผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนของเครื่องบินรุ่นดังกล่าวในประเทศออสเตรเลียจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง” มิสเฮอร์ดลิคกา กล่าวเพิ่มเติม

ทั้งนี้ แควนตัส กรุ๊ปได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 787-8 จำนวน 14 ลำ เพื่อส่งมอบให้แก่เจ็ทสตาร์ และจองสิทธิ์เลือกซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 787-8 และ 787-9 อีก 50 ลำ ซึ่งจะเริ่มส่งมอบตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป สำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 787-8 ใหม่ดังกล่าว จะเข้าประจำการแทนฝูงบิน เอ330 เดิมที่จะมีการปรับปรุงห้องโดยสารใหม่ให้ทันสมัยเพื่อให้แควนตัส กรุ๊ปนำไปใช้ให้บริการแทนฝูงบินโบอิ้ง 767 ที่จะถูกปลดระวางในกลางปี 2558

มร.ไดเนช เคสการ์ รองประธานอาวุโสฝ่ายขายประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและอินเดีย โบอิ้ง คอมเมอร์เชียล แอร์เพลนส์ กล่าวปิดท้ายว่า “การสร้างเครื่องบินดรีมไลเนอร์จนบรรลุผลสำเร็จเป็นความจริงขึ้นได้ เกิดจากการได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากแควนตัสและเจ็ทสตาร์ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมของเรา และด้วยการปฏิวัติการออกแบบให้มีสมรรถนะการประหยัดน้ำมันที่ดีเยี่ยม จนถึงการเพิ่มฟีทเจอร์ใหม่ๆ สุดล้ำเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้โดยสาร ทำให้เครื่องบินโบอิ้ง 787 เป็นสุดยอดนวัตกรรมอากาศยานสมบูรณ์แบบที่สร้างประสบการณ์การเดินทางทางอากาศยุคใหม่ให้แก่ผู้โดยสาร”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ