เปิดบ้าน “สถาบันโรคทรวงอก” กรมการแพทย์ โชว์เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจ

พฤหัส ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๑๓ ๑๕:๐๑
แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวในกิจกรรมเปิดบ้าน (Open House) สถาบันโรคทรวงอก ว่าปัจจุบันสถาบันโรคทรวงอกได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดไปมาก จากการผ่าตัดใหญ่ที่ใช้เวลาในการผ่าตัดนาน มาเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็กหรืออาจไม่มีแผลผ่าตัดเลย ดังเช่น การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจทางสายสวนหรือที่เรียกว่า TAVI (Transcatheter Aotic Valve Implantation) ตัวอย่างหนึ่งของการรักษาโดยใช้เครื่องมือในการรักษาใส่ผ่านไปทางหลอดเลือด เป็น การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะการตีบรุนแรงของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงใหญ่ ที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เรียกว่าลิ้นหัวใจเอออติก (aortic valve) ซึ่งไม่สามารถรับการรักษาโดยการผ่าตัดได้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น อายุมากหรือมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยหลายโรค ทำให้สภาพร่างกายไม่สามารถทนต่อการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องดมยาสลบและการใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมระหว่างผ่าตัดได้

นอกจากนี้สถาบันโรคทรวงอกยังมีการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยเครื่อง Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI เป็นวิธีใหม่อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีราคาแพง เป็นการตรวจวินิจฉัยที่ให้ความถูกต้องและแม่นยำสูง สามารถแปลงเป็นสัญญาณภาพบนจอภาพ ซึ่งจะให้ความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องได้รับรังสีเอ็กซ์ (x-ray) และสารทึบรังสีเหมือนการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สามารถสร้างภาพได้ทุกระนาบหรือทุกแนวโดยผู้ป่วยไม่ต้องเปลี่ยนท่า สามารถสร้างภาพสามมิติทำให้มองเห็นภาพของหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างชัดเจน ทำให้แพทย์ได้รับรู้ถึงรายละเอียดของหัวใจ ได้แก่ ลิ้นหัวใจทุกลิ้น เยื่อหุ้มหัวใจ ผนังกั้นห้อง กล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อรู้การบีบตัวว่าปกติหรือไม่ สามารถมองเห็นกล้ามเนื้อหัวใจในส่วนที่เป็นแผลเป็น(scar) หลังจากเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งจะช่วยแพทย์เลือกแนวทางการรักษาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถเห็นหลอดเลือดอื่นด้วย เช่น หลอดเลือดที่ไปปอด หลอดเลือดที่คอ หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดไต เป็นต้น โดยไม่จำเป็นต้องฉีดสี จึงช่วยลดโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนจากการฉีดสีลง มีประโยชน์มากสำหรับแพทย์ในการวินิจฉัยโรค เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา และมีประโยชน์อย่างมากในการตรวจผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากไม่มีอันตรายจากรังสี ที่เกิดจากการใช้เอกซเรย์

ด้าน แพทย์หญิงสุวรรณี ตั้งวีระพรพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กล่าวว่า ปัจจุบันโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2555 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษากว่า 200 คน จากปี 2554 ที่มีประมาณ 100 คน ซึ่งเดิมอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด คิดเป็นร้อยละ 17 แต่จากการที่สถาบันโรคทรวงอกได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย ผู้ป่วยจึงเข้าถึงกระบวนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงเหลือประมาณร้อยละ 9.8

นอกจากนี้ระบบการให้บริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Fast Track MI) ซึ่งสถาบันฯดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 พบว่า ระบบ Fast Track MI สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงได้จากร้อยละ 6 เหลือเพียงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับในต่างประเทศพบว่าอัตราการตายอยู่ที่ร้อยละ 4 ทั้งนี้สถาบันโรคทรวงอก ได้สร้างเครือข่ายเพื่อรับส่งต่อผู้ป่วย โดยมีการอบรมให้แก่บุคลากรของโรงพยาบาลเครือข่าย โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชน จ.นนทบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา ในเรื่องของการวินิจฉัย การรักษา การเคลื่อนย้าย การส่งต่อให้ดียิ่งขึ้น การให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เพราะโรคนี้ยิ่งรักษาได้เร็วจะยิ่งลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์ โทร. 0-2591-8254

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้