ก.ไอซีที ร่วมหาแนวทางรับมือเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในงาน “INET Bangkok 2013”

พฤหัส ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๑๓ ๑๖:๐๘
นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับขับเคลื่อนและยกระดับมาตรฐานของไทยสู่เวทีโลก ว่า ประเทศไทยจัดเป็นกลุ่มประเทศแรกๆ ของโลกที่ใช้อินเทอร์เน็ต แม้จะมีบางช่วงที่อินเทอร์เน็ตของไทยอาจเจอกับปัญหาทางด้านเทคโนโลยี ทุน หรือแม้กระทั่งแนวทางการพัฒนาระยะยาวที่ไม่มีความชัดเจน แต่ถึงวันนี้อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน กระทรวงไอซีทีได้เล็งเห็นความสำคัญของอิทธิพลอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจและการลงทุนต่างๆ จึงได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชน ให้มากขึ้น อาทิ โครงการ ICT Free Wi-Fi โครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เป็นต้น แต่เนื่องจากเทคโนโลยีบนอินเทอร์เน็ต มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอาจไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ได้ กระทรวงไอซีทีจึงมีแนวคิดที่จะวางยุทธศาสตร์เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา อาทิ การพัฒนาระบบ GIN ให้เป็น Super GIN การให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งภาครัฐ การยกร่างแผนแม่บทเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อให้เกิดกฎหมายรองรับอนุสัญญา e-Contracts เป็นต้น

ประกอบกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ต โซไซตี้ (Internet Society : ISOC) ซึ่งเป็นหน่วยงานอินเทอร์เน็ตที่ไม่แสวงหาผลในเชิงพาณิชย์ มีหน้าที่เป็นแกนกลางในการดำเนินการจัดตั้งมาตรฐานด้านอินเทอร์เน็ต ด้านการศึกษา และการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต ได้เลือกให้กระทรวงไอซีที และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในนามของประเทศไทย ให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน INET Bangkok 2013 ช่วงระหว่างวันที่ 7-8 มิถุนายน 2556 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. และกลุ่มผู้ร่วมงานรายอื่นๆ อีกจำนวนมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีเสวนาวิชาการ ในเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการและบทบาทของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศ เพื่อผลักดันให้เกิดการรวมตัวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการใช้อินเทอร์เน็ต ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน โดยมุ่งหวังว่าผลจากการจัดงานจะเกิดกลุ่มเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ที่เข้มแข็ง และสามารถผลักดันให้การทำงานเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ต่อไป

สำหรับงาน “INET Bangkok 2013” จะจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Internet : The Power to Create หรือ อินเทอร์เน็ต : พลังแห่งการสร้างสรรค์” ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นนิทรรศการ และการประชุมสัมมนา แบ่งออกเป็น 4 เรื่อง คือ เรื่องแรก Technology Track เป็นการนำเสนอประเด็นด้านโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วกับผลกระทบต่อการทำธุรกิจ และกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างหัวข้อการบรรยายได้แก่ เรื่อง IPv6, Cloud Computing Software Development และ WebRTC เป็นต้น เรื่องที่สอง Innovation Track นำเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม และการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในโลกอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริงโดยเฉพาะนวัตกรรมอันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้งานทั้งในระดับองค์กร และพฤติกรรมของผู้ใช้ในระดับปัจเจกบุคคล ตัวอย่างหัวข้อการบรรยาย ได้แก่ เรื่อง Mobile-Commerce, E-Commerce, Cloud Computing, e-Government (Cloud), และ Smart Devices/Systems เป็นต้น

เรื่องที่สาม i-Society Track นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับความท้าทาย และความกังวลที่เกิดขึ้นในสังคมข้อมูลข่าวสาร และเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ตัวอย่างหัวข้อการบรรยาย ได้แก่ เรื่อง Integrated Internet Development Strategies, Governance in the Age of the Internet and Free Trade Agreements (FTA), และ Digital Footprint เป็นต้น และเรื่องสุดท้าย Future Track นำเสนอประเด็นในเรื่องอนาคตของอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับการลดช่องว่างด้านดิจิทัล และการวิจัยพัฒนาด้าน Cloud และ Big Data ตัวอย่างหัวข้อการบรรยาย ได้แก่ เรื่อง Rural Internet technologies และ Cloud and Big Data เป็นต้น

“งาน INET Bangkok 2013 ในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ซึ่งกระทรวงไอซีทีคาดหวังว่าประเทศไทยจะได้เห็นแนวทางการรับมืออันเกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น IPV6, WebRTC หรือ Big Dataเป็นต้น รวมทั้งการสัมมนาเพื่อหาแนวทางดังกล่าวร่วมกันจากทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจอินเทอร์เน็ตทั้งของไทยและจากทุกมุมโลก ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนของประเทศไทยได้ตื่นตัวและเห็นความสำคัญของประเด็นเหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที” นายสมบูรณ์ฯ กล่าว

ติดต่อ:

PR.MICT 02-141-6747

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version