พม. ร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชน ครั้งที่ ๘ และประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ ๔

ศุกร์ ๓๑ พฤษภาคม ๒๐๑๓ ๐๙:๕๒
นายวิมล จันทร์จิราวุฒิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชน ครั้งที่ ๘ และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ ๔ วันที่ ๒๑-๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาเยาวชนระดับประเทศ และเป็นหน่วยประสานงานหลักตามกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านเยาวชน ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือในการพัฒนาเยาวชนของประเทศสมาชิกอาเซียน และเป็นเวทีเพื่อหารือในการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบาย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน ซึ่งกรอบความร่วมมือดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ระดับคือ ๑) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชน (ASEAN Ministerial Meeting on Youth: AMMY) ประเทศสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุม โดยเรียงตามลำดับตัวอักษร จัดประชุมทุก ๒ ปี ครั้งสุดท้ายจัดประชุมที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ และ ๒) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสที่รับผิดชอบงานด้านเยาวชน (Senior Officials Meeting on Youth: SOMY) ประเทศสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุม โดยเรียงตามลำดับตัวอักษร จัดประชุมปีละ ๑ ครั้ง ครั้งสุดท้ายจัดประชุมที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย นายวิมล กล่าวต่อว่า สำหรับการประชุมฯ ครั้งนี้ มีคณะผู้บริหารกระทรวงฯและผู้แทนเยาวชนเข้าร่วมสัมมนาทั้งหมด ๑๑ คน ซึ่งการประชุมฯ ได้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Young People- Building Tomorrow’s ASEAN Today” หรือ ร่วมพัฒนาเยาวชนในวันนี้เพื่ออนาคตของอาเซียน ซึ่งในที่ประชุมได้ร่วมกันแถลงถึงบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนาเยาวชนของแต่ละประเทศให้สอดคล้องตามแผนปฏิบัติการอาเซียน ASCC Blueprint ที่เน้นด้านการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการเป็นประชาคมอาเซียน การสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ สร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับเยาวชน และงานอาสาสมัคร เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นของภูมิภาคอาเซียน และที่ประชุมได้กล่าวถึงการก่อตั้ง ASEAN Youth Volunteer Programme (AYVP) ซึ่งช่วยสนับสนุนงานอาสาสมัครด้านการพัฒนาชนบท การบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติ สุขอนามัย การศึกษา และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีด้านการพัฒนาชุมชนอาเซียน รวมถึงการสร้างความตระหนักให้กับเยาวชนโดยกลวิธี รูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ การจัดสัมมนาเยาวชนและงานแสดงนิทรรศการของผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ เพื่อเป็นการเปิดเวทีสำหรับเยาวชนและเป็นโอกาสที่จะช่วยสนับสนุนการพึ่งพาตนเองด้วยการสร้างธุรกิจส่วนตัว และเปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่นๆ เข้ามาร่วมชมงานเพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้าใจวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างหลากหลายให้เกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้เห็นด้วยกับการก่อตั้งกองทุน ASEAN Youth Programme Fund ซึ่งสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและการพัฒนา และการเข้ามามีบทบาทร่วมกันในการพัฒนาเยาวชนของประเทศบวกสาม ได้แก่ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น

นายวิมล กล่าวย้ำว่า ความสำคัญของเยาวชนกับการมีส่วนร่วมของเยาวชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน การเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ส่งเสริมการรับรู้ในการเป็นประชากรของอาเซียน ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ดำเนินกิจกรรมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนเพื่อให้เยาวชนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองด้านต่างๆ อย่างเหมาะสมในอนาคต สำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ครั้งต่อไป ประเทศกัมพูชารับเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมฯ และแจ้งกำหนดการต่างๆ ให้ทุกประเทศทราบในโอกาสต่อไป.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ