นายสนธยา กล่าวอีกว่า การเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาฯ ดังกล่าว เป็นการแสดงเจตจำนงทางนโยบายของไทยในการเข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่มีอยู่ในอาณาเขตประเทศไทย ขณะนี้ มีประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาแล้ว 153 ประเทศ โดยมีประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมแล้ว 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม สำหรับอนุสัญญานี้จะปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้รวม 5 สาขา ได้แก่ 1.ประเพณีและการแสดงออกของมุขปาฐะ รวมถึงภาษาในฐานะพาหะของมรดกภูมิปัญญาของวัฒนธรรม 2.ศิลปะการแสดง 3.แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล 4.ความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล และ5. งานช่างฝีมือดั้งเดิม ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้เตรียมการจัดตั้งสำนักมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นหน่วยดำเนินงาน และจัดทำฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบันมีคลังข้อมูล ด้านศิลปะการแสดง 350 เรื่อง ด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิม 500 เรื่อง และด้านมุขปาฐะ 40 เรื่อง และได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2552 — 2555 จำนวน 150 รายการ อาทิ โขน โนรา ซิ่นตีนจก กริช และเครื่องจักสานย่านลิเภา เป็นต้น
- ม.ค. ๒๕๖๘ วธ.ร่วมเผยแพร่ประวัติและผลงานสำคัญ "พระยาศรีสุนทรโวหาร" เนื่องในโอกาสยูเนสโก ประกาศ ยกย่องเชิดชู เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. 2565
- ม.ค. ๒๕๖๘ เจริญสมาธิภาวนาสู่สันติภาพทั่วไทย ทั่วโลก 20 ม.ค. 2563 ถวายอาจาริยบูชา ๑๕๐ ปีชาตกาลหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บุคคลสำคัญของโลก
- ม.ค. ๒๕๖๘ วธ.จัดมหกรรมการแสดง โขน ครั้งยิ่งใหญ่กลางกรุงเทพ เผยแพร่องค์ความรู้โขน เฉลิมฉลอง ยูเนสโก ยกโขนไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ