เอ็มพีซี มิวสิค (MPC Music) ยักษ์ใหญ่ด้านลิขสิทธิ์เพลงระดับโลก เผยรายได้จัดเก็บลิขสิทธิ์ในปี 55 เพิ่มขึ้นกว่า 8% คาดปิดฉากปี 56 กวาดยอดกว่า 100 ลบ.

พฤหัส ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๐๘:๓๗
เอ็มพีซี มิวสิค (MPC Music) องค์กรที่ปรึกษาด้านธุรกิจลิขสิทธิ์ระดับโลก ยกนิ้วตลาดลิขสิทธิ์เพลงเมืองไทย หลังระดมสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่องตลอดปี 55 ส่งผลสามารถสร้างอัตรา เติบโตด้านรายได้จากการจัดเก็บกว่า 8% ในปีที่ผ่านมา โดยมีรายได้รวมอยู่ที่ 75.3 ล้านบาท ประกาศเดินหน้าสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง พร้อมเพิ่มฐานสมาชิกค่ายเพลงไทยหวังเพิ่มรายได้แตะ 100 ล้านบาทในปลายปีนี้

นายนัดดา บุรณศิริ กรรมการบริหาร บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมของการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลงในปี 2555 ทั้งในส่วนของตลาดรวมและในส่วนของ เอ็มพีซี มิวสิค ถือว่าเติบโตขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้เป็นผล จากการที่องค์กรที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น ประกอบกับการตรวจสอบที่รัดกุมและเข้มงวดของหน่วยงานที่มีหน้าที่ สอดส่องดูแลด้วย ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมารายได้รวมจากการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงของ เอ็มพีซี มิวสิค มีอัตราเติบโตในทุกกลุ่มโดยรายได้ที่เติบโตเป็นสัดส่วนมากที่สุดคือรายได้จากคอนเสิร์ต คิดเป็นค่าลิขสิทธิ์ประมาณ 10 ล้านบาท โตขึ้นจากปี 2554 ถึง 64% ในขณะที่รายได้ส่วนใหญ่ยังคงมาจากวิทยุ ประมาณ 17% ของรายได้ทั้งหมด และรองลงมาคือรายได้จากคอนเสิร์ต, ร้านอาหาร, สายการบิน และร้านค้าทั่วไป ประมาณกลุ่มละ 10% ส่งผลให้ปัจจุบัน เอ็มพีซี มิวสิค มีรายได้คิดเป็น 15% ของตลาดรวม

“ในปี 2556 เอ็มพีซี มิวสิค ยังคงสานต่อนโยบายสร้างการยอมรับเรื่องลิขสิทธิ์เพลงดังเช่นปีที่ผ่านมา โดยยังคงกำหนดบทบาท ในฐานะที่ปรึกษาด้านลิขสิทธิ์ ซึ่งปกติแล้ว สิ่งแรกที่ลูกค้ามักจะถามคือ เมื่อจ่ายค่าลิขสิทธิ์แล้วจะได้อะไรบ้าง ซึ่งเราพยายาม ทำความเข้าใจว่าแท้จริงแล้วเมื่อจ่ายค่าลิขสิทธิ์ สิ่งตอบแทนที่มีค่าในตัวมันเองอยู่แล้วคือใบอนุญาต ส่วนค่าลิขสิทธิ์คือ การได้ใช้เพลงอย่างถูกกฎหมาย และเพลงที่ เอ็มพีซี มิวสิค มีให้ใช้นั้นมากถึงกว่า 10 ล้านเพลงในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น เอ็มพีซี มิวสิค ยังมีสิ่งที่มากกว่ามอบให้ลูกค้าคือ บริการให้คำปรึกษาเรื่องลิขสิทธิ์ อาทิ ทำอย่างไรถึงจะไม่ถูกหลอกจับ จากบริษัทเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่ใช้สิทธิในทางมิชอบ, หากต้องการขอใช้เพลงจากต่างประเทศนอกเหนือจากการเปิดฟัง ต้องทำอย่างไร เช่น ขอมาใช้ในคอนเสิร์ต ขอแปลงเนื้อเพลง ขอแปลเป็นเนื้อเพลงไทย ตลอดจนคำปรึกษาเรื่องอื่นๆ ตามแต่ลูกค้าจะสอบถาม ซึ่งมีมากมายหลายประเด็นแตกต่างกันไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย” นายนัดดา กล่าว

ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงนโยบายในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลงในเมืองไทย นายนัดดา กล่าวเสริมถึงแนวทางในการผลักดันดังกล่าวว่า “เรามีการจัดสัมมนาเพื่อเสริมและพัฒนาทักษะแก่กลุ่มลูกค้าโดยวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้ใช้ลิขสิทธิ์ไม่ต้องทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ เช่น การนำยูทูบไป Embed (การลิงค์หน้าจอยูทูบไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ของตัวเอง) จะถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งบางเรื่องเกี่ยวกับวิทยาการเหล่านี้กฎหมายไทยอาจจะยังไม่ได้กล่าวถึง แต่ เอ็มพีซี มิวสิค มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากองค์กรประเภทเดียวกันในต่างประเทศ และสามารถสืบค้นข้อมูลเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมเกี่ยวกับการใช้งานนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างสบายใจและไม่ผิดกฎหมายบริการอื่นๆ ประกอบด้วย การให้คำแนะนำเพลงและจัดหาเพลงในกรณีที่ลูกค้าต้องการคำแนะนำเรื่องเพลง และอาจจะต้องการเพลงบางเพลง หรือบางประเภทที่หายากไปใช้ เพราะด้วยฐานข้อมูลเพลงที่มากมายหลายหลากของเรา จึงสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเพลง แก่ลูกค้าได้ตรงตามประเภทที่ต้องการ และจัดทำ Music Mall เพื่อขายเพลงให้ลูกค้าได้ตรงใจกับทุกประเภทการใช้งาน โดยปัจจุบัน เรายังเดินหน้าเพิ่มสมาชิกค่ายเพลงไทยเพิ่มขึ้นหลายค่าย ครอบคลุมประมาณ 25% ของตลาดเพลงของเมืองไทย เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกใช้เพลงได้จำนวนมากและหลากหลายยิ่งขึ้น ตลอดจนอาศัยจุดแข็งในการเป็นองค์กรระดับสากล เพื่อจัดหาข้อมูลเจ้าของสิทธิในต่างประเทศ โดยเฉพาะงาน Publishing ซึ่งรวดเร็ว และเชื่อถือได้ที่สุดในปัจจุบัน เพราะเรามีหน่วยงานเครือข่ายในต่างประเทศมากกว่า 100 องค์กรใน 140 ประเทศทั่วโลก ทำให้การติดต่อสอบถามข้อมูลเพลงมีความแม่นยำ

ด้านนายรณพงศ์ คำนวณทิพย์ กรรมการบริหาร บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด กล่าวถึงการเติบโตของจำนวนสมาชิก และองค์กรเครือข่ายด้านลิขสิทธิ์ในปัจจุบันว่า “เรามั่นใจว่าฐานลิขสิทธิ์เพลงสากลนั้น เอ็มพีซี ถือเป็นผู้นำอยู่ในปัจจุบัน ครอบคลุมองค์กรนักแต่งเพลงเนื้อร้องและทำนองในเครือ CISAC กว่า 90 ประเทศทั่วโลก และองค์กรเจ้าของลิขสิทธิ์งานสิ่งบันทึกเสียงกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ชื่อบริษัท สิ่งบันทึกเสียงหรือค่ายเพลงกว่า 1,000 รายชื่อ ดังนั้น ก้าวต่อไปของเราคือการเพิ่มจำนวนสมาชิกค่ายเพลงไทยให้เพิ่มขึ้น ซึ่งค่ายเพลงสมาชิก ณ ปัจจุบัน ประกอบด้วย ค่ายเพลงไทยสากลขนาดใหญ่ เช่น บีอีซี-เทโร / โซนี่ มิวสิค ซึ่งมีเพลงมากกว่า 3,000 เพลง รวมถึงค่ายเพลงชื่อดังจำนวนมาก อาทิ ยูนิเวอร์แซล มิวสิค, วอร์นเนอร์ มิวสิค, ไอเวฟ, ยูนีค เรคคอร์ด, เคพีเอ็น, กรูฟวิ่ง เฮ้าส์ เรคคอร์ด, แพนเทอร์ (ทรู เอเอฟ), บัตเตอร์ฟลาย เป็นต้น”

ด้านมุมมองต่อภาพรวมลิขสิทธิ์เพลงในปี 2556 นั้น นายรณพงศ์ กล่าวแสดงความเห็นในประเด็นดังกล่าวว่า “วิทยาการใหม่ๆ คือความท้าทายของผู้ดูแลลิขสิทธิ์ ซึ่ง เอ็มพีซี มิวสิค ให้ความสำคัญในส่วนนี้มาก โดยได้เร่งศึกษา และอัพเดตเรื่องวิทยาการใหม่ๆ อยู่ตลอด เพื่อรองรับเรื่องการใช้งานเพลงและการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อ ตอบคำถามลูกค้าเกี่ยวกับการใช้งานแบบใหม่ๆ อาทิเช่น ลิขสิทธิ์เพลงใน Smart Phone application, การ Streaming เพลงผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไปใช้งานในสถานประกอบการ และหากเมื่อเมืองไทยก้าวสู่ยุค 4G ก็จะเป็นการนำสิ่งใหม่ๆ มาสู่เรื่องลิขสิทธิ์เพลง เพราะความเร็วของระบบ 4G ที่สามารถดาวน์โหลดหนังในเวลาไม่ถึง 1 นาที ทำให้เพลงเต็มเพลง ถูกดาวน์โหลดได้อย่างง่ายดาย รวมถึงการ Streaming ดูหนังและฟังเพลงใน Smart Phone ที่รวดเร็วไม่ต่างจากการรับชม ด้วยคลื่นโทรทัศน์และวิทยุปกติ อาจจะทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล และสร้างความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ให้แก่ระบบการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์”

นัดดา บุรณศิริ กรรมการบริหาร บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด

รณพงศ์ คำนวณทิพย์ กรรมการบริหาร บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๒๖ ขั้นตอนการขอสินเชื่อบุคคลยังไงให้อนุมัติไว ได้เงินด่วนใช้ทันใจ
๑๔:๔๗ FPI คว้าคะแนน CGR ระดับ 5 ดาว ดีเลิศ 5 ปีซ้อน
๑๔:๕๙ ประโยชน์ของ การทานอาหารเช้า ที่หลายคนคาดไม่ถึง นิวทริไลท์ กระตุ้นคนไทยใส่ใจสุขภาพ สู่ชีวิตบั้นปลายที่มีคุณภาพห่างไกลโรค
๑๔:๓๖ ฮีโร่ (Hero) มอบถุงขยะครบ 1 ล้านใบ ตอกย้ำความมุ่งมั่นช่วยเหลือสังคมไทย
๑๔:๐๓ ทีทีบี ชวนออมโค้งสุดท้ายของปี กับบัญชี ทีทีบี เงินฝากประจำพลัส 7 เดือน ล็อกดอกเบี้ยสูง 1.85% ต่อปี เพื่อต่อยอดความมั่งคั่งพร้อมรับของขวัญสุดพิเศษ
๑๔:๕๑ AF คว้า CGR 5 ดาว 5 ปีซ้อน ตอกย้ำองค์กรกำกับดูแลกิจการระดับ ดีเลิศ
๑๔:๓๕ INSET สุดสตรอง! Q3/67 โชว์รายได้ 767 ลบ. พุ่ง 160 % ลงทุนซื้อหุ้นเจริญปลูกสัดส่วน 30% พัฒนาแอปฯ บนมาร์เก็ตเพลส พร้อมลุยประมูลงาน DC ระดับ Hyperscale
๑๔:๐๘ TFM โชว์กำไร 9 เดือนแรก 384 ล้านบาท โต 430% ทำจุดสูงสุดต่อเนื่อง ตอบรับการคุมต้นทุนดี พร้อมเดินหน้ากลยุทธ์ขยายตลาดในต่างประเทศ
๑๔:๓๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำผู้นำดิจิทัลแบงก์กิ้ง โชว์ความสำเร็จบริการ Digital Wealth เติบโตขึ้นกว่า 20% พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ AI-First Bank
๑๓:๑๒ GIFT คว้าคะแนน CGR 4 ดาว ระดับ 'ดีมาก' พ่วง AGM เต็ม 100 คะแนน