กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จัดงานสัมมนาแนวทางการพัฒนาสื่อ “ไบโอแก๊สเซฟตี้” จ.กระบี่

พฤหัส ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๐:๓๘
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ร่วมกับศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานสัมมนาแนวทางการพัฒนาสื่อ ตามโครงการรณรงค์ความปลอดภัยจากการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพ “ไบโอแก๊สเซฟตี้” ณ โรงแรมอนันตบุรินทร์ รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

งานสัมมนาในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นระยะเวลา 3 วัน โดยแบ่งกิจกรรมภายในงานออกเป็น 3 กิจกรรมหลักๆ ได้แก่ การบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับสถานการณ์อุบัติเหตุเกี่ยวกับก๊าซชีวภาพและการแก้ไข, ความปลอดภัยในการทำงานบริเวณพื้นที่อับอากาศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักวิชาการแรงงานชำนาญการ จังหวัดกระบี่ รวมถึงการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อสารคดีและแอนิเมชั่นด้านพลังงาน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ จากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการลงพื้นที่ศึกษาดูงานระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ณ บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่มีความพร้อมและมีความปลอดภัยในการดำเนินงานด้านก๊าซชีวภาพสูง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เห็นและเข้าใจกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพที่มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

และกิจกรรมสุดท้าย ซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก คือการทำกิจกรรมกลุ่มของผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพจาก 7 จังหวัดในภาคใต้ โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้นำเสนอข้อมูล เสนอความคิด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์และวิธีการนำเสนอในเรื่องความปลอดภัยในระบบก๊าซชีวภาพ นับว่าเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากสื่อโดยตรง เพื่อที่ทางผู้จัดโครงการฯ จะได้รวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดไปพัฒนาจัดทำสื่อสารคดีและแอนิเมชั่นให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

ก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานทดแทนที่ให้ประโยชน์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยประเทศในการลดการนำเข้าก๊าซ LPG อีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็มีโทษหรืออันตรายเช่นเดียวกัน หากผู้ผลิตหรือผู้ใช้ไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตและการใส่ใจในเรื่องความปลอดภัย ดังนั้น การจัดงานสัมมนาแนวทางการพัฒนาสื่อ โครงการรณรงค์ความปลอดภัยจากการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพ “ไบโอแก๊สเซฟตี้” ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมในการเผยแพร่ข้อมูลด้านก๊าซชีวภาพ พร้อมทั้งสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้เกิดการผลิตและใช้เทคโนโลยีแก๊สชีวภาพอย่างถูกต้อง ปลอดภัย เพื่อลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิต

งานสัมมนาแนวทางการพัฒนาสื่อ โครงการรณรงค์ความปลอดภัยจากการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพ “ไบโอแก๊สเซฟตี้” ได้ดำเนินการจัดงานมาแล้ว 3 ภาค 4 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่นและนครราชสีมา และภาคกลาง จังหวัดราชบุรี โดยภาคใต้ จังหวัดกระบี่ เป็นภูมิภาคและจังหวัดสุดท้ายในการจัดสัมมนาของโครงการ โดยหลังจากนี้ทางโครงการจะรวบรวมและสรุปความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมทั้ง 4 ภาค ไปใช้ในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ ก.พ. รฟท. จัดรถไฟส่งผู้ชุมนุมขบวนคนจนเมืองเพื่อสิทธิที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ
๒๑ ก.พ. BCPG เผยผลการดำเนินงานปี 2567 กำไรสุทธิกว่า 1,800 ล้านบาท เติบโต 65% จากปีก่อน พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลครึ่งปีหลัง
๒๑ ก.พ. เกรท นำทีมศิษย์เก่า ฟอส-แบงค์ ฉลองครบรอบ 40 ปี ม.รังสิต เปิดตัว คริส หอวัง กับบทบาท ครูผู้ฮีลใจนักศึกษา แห่งสถาบัน
๒๑ ก.พ. ธนาคารกรุงเทพ ประกาศจ่ายเงินปันผล หุ้นละ 8.50 บาท สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567
๒๑ ก.พ. GULF เคาะแล้ว! อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้อายุ 4-10 ปี ที่ 3.00 - 3.55% ต่อปี พร้อมเสนอขายประชาชนทั่วไป 27-28 ก.พ. และ 3 มี.ค.68 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 10
๒๑ ก.พ. Selena Gomez, benny blanco, Gracie Abrams ส่งเพลงสนุกๆ โดนใจ Gen-Z Call Me When You Break Up การรวมตัวของอเวนเจอร์วงการเพลงป็อปที่ทุกคนรอคอย!
๒๑ ก.พ. MBK Care อาสาทำดี ปันน้ำใจสู่สังคม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ ปีที่ 7 ส่งมอบความสุขเพื่อผู้พิการทางสายตา พร้อมสิ่งของอุปโภคบริโภค
๒๑ ก.พ. บางจากฯ ปรับโครงสร้างธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของกลุ่มบริษัทบางจาก
๒๑ ก.พ. สวยทุกลุค ชมพู่ - อารยา ถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ของสาว GUESS ในแคมเปญคอลเลกชัน Spring Summer 2025 สีสันแห่งฤดูกาลใหม่
๒๑ ก.พ. วช. เปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร ต้นแบบการยกระดับประสิทธิภาพภาคการเกษตรของจังหวัดกาฬสินธุ์ ณ