“อิตัลไทย” ทุ่ม 200 ล้าน เร่งขยายสาขารองรับตลาดโต ตั้งเป้า 2 ปี เปิดครบ 14 สาขา รับ AEC

ศุกร์ ๑๔ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๐:๓๒
“อิตัลไทย กรุ๊ป” ดัน อิตัลไทยอุตสาหกรรม โตไม่หยุด ทุ่มงบกว่า 200 ล้านบาท เร่งขยายสาขา และศูนย์บริการเครื่องจักรกลหนักอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ จากต้นปี 2556 ที่มีอยู่ 10 สาขา เร่งเป็น 14 สาขา ในอีก 2 ปี พร้อมรุกตลาด AEC บุกเปิดสาขาที่ ลาว เป็นที่แรก หวังเป็นอันดับหนึ่งของศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาคเอเชีย

นายอติพงศ์ พงศ์หว่าน รองกรรมการผู้จัดการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อิตัลไทยอุตสาหกรรม จํากัด หนึ่งในบริษัทผู้นำตลาดเครื่องจักรกลหนักและเครื่องจักรอุตสาหกรรมภายใต้ “อิตัลไทย กรุ๊ป” กล่าวว่า ปัจจุบันอิตัลไทย เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย และเป็นหน่วยให้บริการหลังการขายของเครื่องจักรกลจากบริษัทชั้นนำระดับโลกทั้งในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้ชื่อ “บริษัท อิตัลไทยอุตสาหกรรม จำกัด (Italthai Industrial : ITI)” ปัจจุบันบริษัทมีสาขาในประเทศไทยมากกว่า 10 แห่ง และในต่างประเทศได้เริ่มเปิดให้บริการที่ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นแห่งแรกและนอกจากการบริการหลังการขายแล้ว กลุ่มบริษัทอิตัลไทย ยังมีการบริการให้เช่าและจำหน่ายเครื่องจักรมือสองชั้นนำ ที่ได้มาตรฐานผ่านการคัดเลือกตรวจสอบแล้ว มั่นใจได้เรื่องคุณภาพและบริการหลังการขาย

โดยมีเครื่องจักรกลหนักและเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่บริษัทดูแลด้านการจัดจำหน่ายและให้บริการ ได้แก่ วอลโว่ , ทาดาโน่ , ดูซาน , บ็อบแคทส์ , แอตลาส คอบโก้ , เครื่องกำเนิดไฟฟ้าระบบดีเซล เอฟจี วิลสัน และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าระบบก๊าซธรรมชาติ เอ็มดับบลิวเอ็ม ซึ่งวอลโว่ มีสัดส่วนมากที่สูง ถึงร้อยละ 57 รองมาคือ ทาดาโน่ ร้อยละ 20

ทั้งนี้บริษัทมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2554 มีจำนวน 6 สาขา ได้แก่ สาขาหลักที่มีโรงซ่อม 2 สาขา ที่ลำปางและมหาชัย อีก 4 สาขาให้บริการที่ โคราช , ภูเก็ต , หาดใหญ่ และ สุราษฎร์ธานี และในปี 2556 มีสาขาทั้งสิ้น 12 สาขา เพิ่มสาขาอีก 2 สาขาหลักที่ขอนแก่นที่จะเปิดอย่างเป็นทางการในไตรมาศที่ 3 ของปีนี้และชลบุรี และสาขาให้บริการอีก 4 สาขา ที่พิษณุโลก, อยุธยา, อุบลราชธานี และฉะเชิงเทรา สรุปรวมทั้งสิ้นในปี 2556 จะมีสาขาหลักที่มีโรงซ่อม 4 สาขา และสาขาให้บริการ 8 สาขา โดยในปี 2557 จะทำการเปลี่ยนแปลงสาขาที่สุราษฏร์ธานีและอุบลราชธานีให้มีโรงซ่อมที่สมบูรณ์แบบและทันสมัยตามมาตรฐานที่ศูนย์ใหญ่ที่มหาชัยและขอนแก่น สำหรับแผนในอีก 2 ปีถัดไป จะเพิ่มให้เป็น 14 สาขา ได้แก่ การเพิ่มอีก 2 สาขาให้บริการที่น่านและเชียงราย

สำหรับงบประมาณการลงทุนในปี 2556 - 2557 แบ่งเป็นสาขาที่มหาชัย 80 ล้านบาท , ขอนแก่น 50 ล้านบาท , สุราษฎร์ธานี 20 ล้านบาท และอุบลราชธานี 50 ล้านบาท รวม 200 ล้านบาท

และในส่วนการพัฒนาการให้บริการ ได้มีการจัดตั้ง Call Center ที่ให้บริการตลอดทั้ง 7 วัน ที่เบอร์ 0-2105-4015 โดยตั้งเป้าเมื่อได้รับเรื่องแล้ว ทีมบริการจะติดต่อกลับครั้งแรกได้ภายใน 40 นาที ซึ่งในปี 2557 จะมีการพัฒนาในเรื่องของเวลาให้เหลือเพียง 20 นาที เพื่อความพึงพอใจอย่างสูงสุดของลูกค้า โดยที่ทีมช่างจะมีสมาร์ทโฟนที่มีโปรแกรมตรวจสอบประวัติลูกค้าเพื่อสะดวกในการติดต่อและปฏิบัติงานได้อย่างฉับไว ทุกที่ ทุกเวลา

และเพื่อเป็นการรับประกันความพร้อมของเครื่องจักรและชิ้นส่วนอะไหล่ ทางบริษัท ได้เริ่มนำระบบจัดการ Oracle ERP (Enterprise Resource Planning) เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการระบบ Supply Chain Management อย่างเต็มระบบ เพื่อให้มีเครื่องจักรและชิ้นส่วนอะไหล่พร้อมให้บริการลูกค้าเสมอ โดยระบบจะจัดการสั่งและส่งชิ้นส่วนจาก Supplier จากต่างประเทศไปยังศูนย์บริการกลางหรือจัดส่งตรงไปยังศูนย์บริการภูมิภาคได้อย่างถูกต้อง แม่นยำตรงตามเวลาที่กำหนด

นอกจากนี้ ในส่วนของ Volvo Construction Equipment ทุกเครื่องที่ขายยังมีระบบประกัน Blue CSA (Customer Service Agreement) ที่ดูแลตรวจและรับประกันเครื่องจักรเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกซื้อประกันเพิ่มเติมได้ในปีถัดไป และบริษัทเตรียมโปรโมชั่นเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าซื้อระบบประกันเพิ่มเติมในอนาคต ทั้งนี้ระบบดูแลและรับประกันเครื่องจักรของ Volvo นั้น มีหลายระดับตามความต้องการของลูกค้า โดยในระดับ Gold CSA จะเหมาะกับลูกค้ารายใหญ่ที่ทำโครงการระดับใหญ่ๆ ซึ่งต้องการความพร้อมของเครื่องจักรในระดับ 90% ขึ้นไป โดยที่ Gold CSA นั้น เครื่องจักรของลูกค้าจะได้รับการตรวจเช็คความพร้อมตามระยะเวลารวมไปจนถึงการซ่อมเพื่อให้เครื่องจักรพร้อมใช้งานตลอดเวลา

ทั้งนี้ อิตัลไทย ยังเล็งเห็นประโยชน์ของการพัฒนาคุณภาพ การศึกษา ฝีมือแรงงานของไทย โดยปัจจุบันในตลาดได้ขาดพนักงานบังคับเครื่องจักรกล (Operators) ที่มีความรู้ความชำนาญจำนวนมาก จึงได้ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการจัดตั้ง ITA หรือ Italthai Technical Academy เพื่อเป็นโรงเรียนสำหรับพัฒนาฝีมือเชิงช่างให้กับช่างและพนักงานบังคับเครื่องจักรกลไทย โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังเป็นผู้ให้คำปรึกษาในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งจะเปิดตัวในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2556 ทั้งยังมีการนำเข้าอุปกรณ์ Simulator เพื่อให้ช่างได้มีการทดสอบการปฏิบัติงานภาคสนามแบบจำลองที่คล้ายจริงอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ