ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม พ.ค.ฟื้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน หวั่น ศก.โลก ค่าเงิน กระทบส่งออก แนะรัฐส่งเสริมแหล่งเงินทุนช่วย SMEs

ศุกร์ ๑๔ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๖:๑๐
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในประจำเดือนพฤษภาคม 2556 จำนวน 1,042 ราย ครอบคลุม 42 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ร้อยละ 29.6, 37.8 และ 32.6 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 46.1,12.4,14.0,15.8, และ11.7 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 84.6 และ 15.4 ตามลำดับ ผลการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ระดับ 94.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 92.9 ในเดือนเมษายน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ ปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นเดือนพฤษภาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน จากการที่เงินบาทอ่อนค่าลงอยู่ในระดับที่ผู้ประกอบการคลายความกังวล ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ผู้ประกอบการมองว่าเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อีกทั้งในเดือนพฤษภาคมมีวันทำงานมากกว่าเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการก็ยังมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก การเมืองในประเทศ ความผันผวนของค่าเงินบาทที่กระทบต่อภาคการส่งออก รวมทั้งการบริหารต้นทุนประกอบการที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนแรงงานในหลายอุตสาหกรรม

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.1 ในเดือนเมษายน ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ปรับเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ขนาด จากเดือนเมษายน

โดยอุตสาหกรรมขนาดย่อม มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 86.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 85.7 ในเดือนเมษายน โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน อุตสาหกรรมแก้วและกระจก และอุตสาหกรรมเซรามิก เป็นต้นขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.9 ลดลงจากระดับ 98.2 ในเดือนเมษายน โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 96.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 93.3 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์,อุตสาหกรรมอลูมิเนียม อุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ เป็นต้น ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.2 ในเดือนเมษายน โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 98.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 98.3 ในเดือนเมษายน โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น อุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า และอุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้นขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 103.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.9 ในเดือนเมษายน โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ด้าน ดัชนีความเชื่อมั่นฯรายภูมิภาค ประจำเดือนพฤษภาคม พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคเหนือและภาคใต้ ปรับตัวลดลงจากเดือนเมษายน

ภาคกลาง มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนพฤษภาคมอยู่ที่ระดับ 97.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 96.3 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ การอ่อนค่าของเงินบาทในระดับที่ผู้ประกอบการคลายความกังวล ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ร้อยละ 0.25 ผู้ประกอบการมองว่าเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับไม่ดี จากความกังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ความผันผวนของค่าเงินบาทที่กระทบต่อภาคการส่งออก ต้นทุนประกอบการที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น อุตสาหกรรมในภาคกลางที่มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ อุตสาหกรรมอลูมิเนียม อุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.2 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนพฤษภาคมอยู่ที่ระดับ 95.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 79.2 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สินค้าอุตสาหกรรมของไทย เป็นที่ต้องการของประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการที่มีด่านที่เป็นช่องทางการค้าหลายแห่ง มีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการลงทุนของอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ,อุตสาหกรรมเครื่องเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 96.3 ลดลงจากระดับ 100.0 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ภาคตะวันออก พบว่ามีดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 105.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 104.3 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคตะวันออก ในเดือนพฤษภาคมขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายในต่างประเทศที่ขยายตัวดี ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากเดือนก่อน เป็นผลดีต่อภาคการส่งออก สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น อุตสาหกรรมก๊าซ อุตสาหกรรรมเหล็ก เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 105.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 100.9 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ภาคเหนือ พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 84.3 ปรับลดลงจากระดับ 85.5 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ความกังวลของผู้ประกอบการเกี่ยวกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ชะลอตัว ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การขาดแคลนแรงงาน ตลอดจนปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SMEs เป็นปัจจัยสำคัญของค่าดัชนีที่ปรับตัวลดลง อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่มีค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.1 เพิ่มขึ้นจากระดับ 95.4 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

และภาคใต้ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 86.9 ลดลงจากระดับ 90.7 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการภาวการณ์โดยรวมในเดือนพฤษภาคม ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป ประกอบกับภาวะการแข่งขันสูง ทำให้ไม่สามารถปรับราคาขายได้ ขณะเดียวกันกำลังซื้อของผู้บริโภคในพื้นที่ลดลง จากการตกต่ำต่อเนื่องของราคาผลผลิตสำคัญทางการเกษตร ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สำหรับอุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์ยางและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้นขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.0 ลดลงจากระดับ 99.8 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก (ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศกับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) โดยจากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม

กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 95.1 เพิ่มขึ้นจาก 94.1 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์,อุตสาหกรรมเหล็ก,อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เป็นต้น ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.6 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 89.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 85.7 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.1 เพิ่มขึ้นจากระดับ 96.3 ในเดือนเมษายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับด้านสภาวะแวดล้อมในการดําเนินกิจการ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2556 จากการสำรวจพบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนมากที่สุด รองลงมา คือ สภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน สถานการณ์การเมืองในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้นในปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจโลกและการเมืองภายในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนพฤษภาคมนี้ คือให้ภาครัฐ ส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายเพื่อเสริมสภาพคล่องโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs อีกทั้งพัฒนาและเพิ่มศักยภาพด้านวัตถุดิบ เทคโนโลยี ข้อมูลและช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมือง และส่งเสริมการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ
๑๖:๑๘ ทรู คอร์ปอเรชั่น เตรียมเปิดจองซื้อหุ้นกู้ชุดใหม่รับปีมะเส็ง ตอบโจทย์นักลงทุนที่มองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนอย่างมั่นคง
๑๖:๒๕ วัน แบงค็อก เตรียมเฉลิมฉลองเคาท์ดาวน์ศักราชใหม่สุดยิ่งใหญ่
๑๖:๐๖ EXIM BANK โชว์ศักยภาพ SFI แห่งแรกได้รับมาตรฐานสากล ISO 14064-1:2018 เดินหน้าบทบาท Green Development Bank
๑๖:๑๙ ซานตาคลอส ฟลายอิ้ง ส่งความสุขในเทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่ ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๑๖:๔๓ Spacely AI คว้ารางวัลที่สาม ในการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกของ SketchUp
๑๖:๓๒ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทุ่มกว่า 1.6 ล้าน มอบความห่วงใย ร่วมฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังจากน้ำท่วมใหญ่
๑๖:๒๑ NRF เปิดตัว Mini C สาขาใหม่ในสหราชอาณาจักร ตอกย้ำกลยุทธ์ค้าปลีกแบบ Hub and Spoke ยอดขายทะลุเป้า พร้อมกระแสรีวิว 5 ดาวจากลูกค้า
๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย