เอแบคโพลล์เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนสวมหน้ากากการเมือง ฯ

จันทร์ ๑๗ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๑:๔๗
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนสวมหน้ากากการเมือง และเชื้อปะทุความคิดแรงหนุนการทำรัฐประหาร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

นายเทวินทร์ อินทรจำนงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง “การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนสวมหน้ากากการเมืองและเชื้อปะทุความคิดแรงหนุนการทำรัฐประหาร : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,384 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 12 — 14 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกอำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.5 ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนสวมหน้ากากการเมือง (หน้ากากขาว-หน้ากากแดง)

ที่น่าพิจารณาคือ ร้อยละ 50.3 ระบุการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนสวมหน้ากากการเมือง หน้ากากขาว หน้ากากแดง มีโอกาสนำไปสู่ความรุนแรงได้มากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 28.9 ระบุปานกลาง และร้อยละ 20.8 ระบุน้อยถึงน้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 54.9 ระบุไม่เหมาะสมที่กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองจะเรียกร้องให้ทหารออกมาทำการรัฐประหาร ในขณะที่ร้อยละ 11.6 ระบุเหมาะสม แต่ร้อยละ 33.5 ระบุไม่แน่ใจ เพราะ รอดูท่าที รอดูสถานการณ์ และไม่ได้ติดตามข่าว

ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.2 ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะดูแลปัญหาการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนสวมหน้ากากได้อย่างราบรื่น เพราะ ทุกฝ่ายต่างใช้อารมณ์ มุ่งกอบโกยผลประโยชน์ กลุ่มไม่ชอบรัฐบาลเริ่มมีมากขึ้น และรัฐบาลกำลังเผชิญปัญหารอบด้าน เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 35.8 มั่นใจ เพราะคิดว่าประชาชนส่วนใหญ่เชื่อฟังกฎหมาย และคนส่วนใหญ่ไม่อยากใช้ความรุนแรง

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.7 ระบุว่า พรรคฝ่ายค้าน ยังวางบทบาทไม่เหมาะสมต่อกรณีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนสวมหน้ากาก ในขณะที่ร้อยละ 43.3 ระบุเหมาะสม

ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลที่ค้นพบในการสำรวจครั้งนี้คือ ร้อยละ 25.8 ระบุรัฐบาลควรรับฟังทุกฝ่ายโดยไม่แทรกแซง แก้ปัญหาด้วยการเจรจา ร้อยละ 13.6 ระบุรัฐบาลทำงานด้วยความโปร่งใส ไม่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 13.5 ระบุรัฐบาลต้องรับผิดชอบและเร่งแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรม หาเงินชดเชยผู้เสียหาย รองๆ ลงไปคือ รัฐบาลควรควบคุมการเคลื่อนไหวด้วยความสงบสุข ไม่ใช้ความรุนแรง และรัฐบาลควรลาออก ตามลำดับ

ผู้ช่วยผู้อำนวยการเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าเชื้อปะทุความคิดแรงสนับสนุนการทำรัฐประหารยังคงมีอยู่และที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มที่ไม่แน่ใจรอดูท่าที ดูสถานการณ์ ไม่ได้ติดตามข่าวสารมีจำนวนมาก ในขณะที่กลุ่มคนที่เห็นว่าการทำรัฐประหารเป็นเรื่องไม่เหมาะสมมีเกินครึ่งมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นซึ่งแตกต่างไปจากผลสำรวจในระยะแรกๆ ของการทำงานของรัฐบาล ทางออกคือ

1) รัฐบาลต้องเร่งหากลไกลดกระแสต่อต้านรัฐบาล เช่น วิธีที่ทำให้สาธารณชนรับรู้ชัดเจนว่ารัฐบาลโปร่งใสจริงโดยการประกาศการใช้จ่ายงบประมาณในรายละเอียดให้สาธารณชนสามารถแกะรอยทุกเม็ดเงินได้จนถึงมือประชาชนและพื้นที่ต่างๆ ในการพัฒนา

2) รัฐบาลต้องลด “เงื่อนไข” ที่ทำให้เกิดแรงเสียดทานต่อรัฐบาล เช่น ลดการให้ บิ๊กๆ ในรัฐบาลออกมาข่มขู่ประชาชน แต่ควรเพิ่มการสนับสนุนให้กลุ่มคนที่ได้รับการยอมรับของทุกฝ่ายในสังคมออกมาให้ข้อคิดและแนวปฏิบัติในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน

3) อย่าใช้วิธีหาข่าวอื่นมากลบกระแสข่าวความไม่พอใจของประชาชนต่อรัฐบาลเพราะวิธีนั้นจะทำให้สาธารณชนรู้สึกอึดอัดและกลายเป็นแรงผลักดันทำให้อารมณ์รุนแรงทางการเมืองบานปลายขึ้นได้

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.7 เป็นหญิง ร้อยละ 48.3 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 3.9 อายุ น้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 31.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 77.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 20.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 2.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 39.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 15.2 ระบุพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.4 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.0 ระบุ เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.5 เป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 0.3 เป็นเกษตรกร ในขณะที่ร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๖ พ.ย. องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
๒๖ พ.ย. กรมอนามัยลงพื้นที่จังหวัดสงขลา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสุขภาพดีระดับประเทศ และรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก
๒๖ พ.ย. EPG มั่นใจยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นในครึ่งหลังของปีบัญชี 67/68 (ต.ค.67 - มี.ค.68) เติบโตดีตามเป้าหมาย เตรียมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 6 สตางค์ 9
๒๖ พ.ย. 51Talk ส่งเด็กไทยเข้าร่วม COP29 การประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทพิสูจน์การสนับสนุนเยาวชนก้าวสู่เวทีระดับโลก
๒๖ พ.ย. ORN เผยโค้งสุดท้ายปี 67 ฟอร์มดี โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 3 โครงการใหม่บ้าน-คอนโดฯ มูลค่ารวม 3,070 ล้านบาท
๒๖ พ.ย. Dog's Dream คอมมูนิตี้สนามสัตว์เลี้ยงสีเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
๒๖ พ.ย. ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ชูกลยุทธ์ Make a Leap to the New Stage ตอกย้ำพันธกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
๒๖ พ.ย. กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร
๒๖ พ.ย. เผยสีสันแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปี ผ่านกระเช้าของขวัญจากโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
๒๖ พ.ย. Netflix ส่งหนังไทยคว้าชัยระดับโลก! ออกแบบ-ชุติมณฑน์ คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม บนเวที International Emmy Awards ครั้งที่ 52 จากผลงานเรื่อง HUNGER คนหิว