GSMA ผลักดันรัฐบาลไทยกำหนดคลื่นความถี่ซึ่งใช้รับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แบบดิจิตอลสำหรับให้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย

จันทร์ ๑๗ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๓:๔๖
- สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) เสนอแนะแนวทางพัฒนาแผนการสำหรับการใช้โทรทัศน์ระบบดิจิตอล และการกำหนดคลื่นความถี่ ‘Digital Dividend’สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารแบบเคลื่อนที่

ขณะที่ทุกคนกำลังเฝ้าคอยการตัดสินใจของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการจัดประมูลย่านความถี่ของคลื่นวิทยุแก่ผู้ให้บริการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล สมาคมจีเอสเอ็ม (The GSM Association: GSMA) ยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยจัดสรรคลื่นความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) แบบเคลื่อนที่ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเกี่ยวกับคลื่นวิทยุขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชีย และแปซิฟิก (Asia Pacific Telecommunity: APT)

“นี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย และไม่ว่า กสทช. จะกำหนดคลื่นความถี่สำหรับการสื่อสารไร้สายซึ่งสอดคล้องกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรืออาจเลือกที่แตกต่างไปจากภูมิภาค ก็ล้วนนำไปสู่ผลลัพธ์ราคาแพงสำหรับประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน” ทอม ฟิลลิปส์ (Tom Phillips) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย Government and Regulatory Affairs ของ GSMA กล่าว “เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การเลือกความถี่สำหรับให้บริการระบบดิจิตอลสำหรับการสื่อสารเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้คนไทยสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวก ตลอดจนนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมอันใหญ่หลวงต่อประเทศ และภูมิภาค”

ทั้งนี้ กสทช. เผชิญกับคำถามที่ว่า จะกำหนดคลื่นความถี่อิสระได้อย่างไร เมื่อมีการปรับเปลี่ยนการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน (digital terrestrial television: DTT) หรือที่เรียกว่า ‘Digital Dividend’ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจของ กสทช. ในเรื่องดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศตามที่ GSMA และบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (BCG) ได้ระบุในรายงานเมื่อเดือนมี.ค. 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งหาก กสทช. เลือกกำหนดความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการการสื่อสารไร้สายตั้งแต่ปี 2558 ก็จะสามารถเพิ่มรายได้แก่ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2568 มากกว่าการกำหนดความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตัลภาคพื้นดิน (DTT) ถึง 1.48 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังก่อให้เกิดการสร้างงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 55,000 ตำแหน่ง

“การจัดสรรคลื่นความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สายไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางสังคมที่ยิ่งใหญ่ รวมถึงการกระจายความมั่งคั่ง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม บริการด้านการพัฒนา เช่น วงการศึกษา และเฮลธ์แคร์” นายไมเคิล เมเยอร์ (Michael Meyer) หุ้นส่วน และกรรมการผู้จัดการของ BCG กล่าว

ในทางกลับกัน หาก กสทช. ตัดสินใจเลือกใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แทน ก็จะทำให้เกิดปัญหาการแทรกแซงข้ามเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านตามมา ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และพม่า ซึ่งคาดว่า จะเลือกคลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สาย โดยปัญหาที่เกิดขึ้นจะบั่นทอน และลดคุณภาพของบริการให้น้อยลงในบริเวณชายแดนระหว่างประเทศ โดยอาจกล่าวได้ว่า ความขัดแย้งเรื่องคลื่นความถี่อาจส่งผลให้ต้องสูญเสียจีดีพีที่ควรเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งผลให้การสร้างงานใหม่ลดลง 96,000 ตำแหน่ง [1]

คำแนะนำสำหรับหน่วยงานกำกับดูแล

สมาคมจีเอสเอ็มขอเรียกร้องให้ กสทช. จัดทำแผนแม่บทฉบับสมบูรณ์เรื่องการปรับเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ใหม่เป็นระบบดิจิตอล ซึ่งจะช่วยให้ตลาดเข้าใจ และมีความมั่นใจในระบบนิเวศด้านการสื่อสารไร้สาย โดยเนื้อหาในแผนแม่บทควรประกอบด้วย

1. คำมั่นอย่างเป็นทางการของหน่วยงานในการกำหนดคลื่นความถี่ 700MHz (ช่วงย่านความถี่ 698MHz - 806MHz) สำหรับให้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านบรอดแบนด์ไร้สาย

2. การปรับใช้แผนแม่บทที่สอดคล้องในระดับภูมิภาค (APT) ซึ่งใช้แผนคลื่นความถี่วิทยุ 700MHz 2x45MHz FDD โดยกำหนดขอบเขตคลื่นความถี่สำหรับให้บริการ DTT ไม่เกิน 694MHz

3. นโยบาย และกรอบเวลาสำหรับการยุติระบบโทรทัศน์แบบอนาล็อก (ASO)

4. นโยบาย และกรอบเวลาสำหรับปรับโครงสร้างคลื่นความถี่สำหรับ DTT ในระดับต่ำกว่า 694MHz

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

[1] รายงานฉบับเดือนมี.ค. 2556 เรื่อง “Socio-Economic Benefits of Assigning the Digital Dividend to Mobile in Thailand” จัดทำโดยบริษัทบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group)

เกี่ยวกับ Digital Switchover

การปรับเปลี่ยนระบบโทรทัศน์เป็นแบบดิจิตอล (DTT) จะสามารถนำเสนอรายการแก่ผู้รับชมได้เป็นจำนวนมาก ด้วยคุณภาพ และบริการที่ดียิ่งขึ้น เช่น การโต้ตอบ และโทรทัศน์ที่แสดงภาพคมชัด มีความละเอียดสูง (HDTV) เนื่องจากคุณภาพความถี่วิทยุสำหรับการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีประสิทธิภาพสูงกว่าการรับส่งสัญญาณในระบบอนาล็อกเป็นอย่างมาก โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU: International Telecommunication Union) เปิดเผยว่า โทรทัศน์ระบบดิจิตอลสามารถเผยแพร่รายการได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 20 รายการ ซึ่งมีแบนด์วิธเท่ากับรายการโทรทัศน์แบบอนาล็อกเพียงรายการเดียว ดังนั้น การปรับเปลี่ยนไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอลจะช่วยให้บริการเผยแพร่วิทยุโทรทัศน์ขยายตัวมากขึ้น และเปิดโอกาสให้สามารถใช้งานด้านอื่นๆจากคลื่นความถี่ที่เป็นอิสระได้ ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีโทรทัศน์แบบดิจิตอลเป็นการพัฒนาที่ดี และสมบูรณ์ที่สุดในหลายประเทศ

เกี่ยวกับความกลมกลืนในระดับภูมิภาค

เมื่อเดือนก.พ. 2556 นายกรัฐมนตรีจากมาเลเซีย และสิงคโปร์ได้ประกาศเจตนาร่วมกันในการใช้ความถี่ย่าน 700MHz ซึ่งให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลสำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สาย เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทของ APT โดยประเทศอื่นๆที่เหลือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สนับสนุนแผนดังกล่าวประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ทั้งนี้ การกำหนดความถี่สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สายอย่างสอดคล้องกันนั้น ก่อให้เกิดผลประโยชน์เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า

ดังนี้

- อุปกรณ์การสื่อสารไร้สายมีราคาถูกลง ตลาดขยายตัวขึ้น และช่วยให้ผู้ผลิตบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ

- ตลาดที่กว้างขึ้นนำเสนอตัวเลือกที่มากขึ้นให้แก่ผู้บริโภค

- ลดปัญหาการแทรกแซงตามพรมแดนระหว่างประเทศ

- นักท่องเที่ยวขาเข้า และขาออกของประเทศสามารถตรวจหาสัญญาณคลื่นความถี่เพื่อใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น

เกี่ยวกับ GSMA

สมาคมจีเอสเอ็ม (The GSM Association: GSMA) เป็นองค์กรปกป้องผลประโยชน์ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารไร้สายในกว่า 220 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วยสมาชิกเกือบ 800 ราย จาก 230 บริษัท ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศการสื่อสารไร้สาย ได้แก่ ผู้ผลิตหูโทรศัพท์ บริษัทซอฟต์แวร์ ผู้ให้บริการอุปกรณ์ และอินเทอร์เน็ต รวมถึงองค์กรในภาคอุตสาหกรรม อาทิ สถาบันบริการด้านการเงิน เฮลธ์แคร์ สื่อมวลชน การขนส่ง และสาธารณูปโภคทั่วไป นอกจากนี้ สมาคมจีเอสเอ็มยังเป็นผู้จัดงานชั้นนำต่างๆในแวดวงการสื่อสารไร้สาย เช่น งานโมบาย เวิลด์ คองเกรส (Mobile World Congress) และ งานโมบาย เอเชีย เอ็กซ์โป (Mobile Asia Expo)

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เยี่ยมชมเว็บไซต์ของ GSMA ได้ที่ www.gsma.com หรือ Mobile World Live ที่ www.mobileworldlive.com เว็บไซต์สำหรับอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย