อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อว่า ประเภทงานวิจัยและพัฒนา ในส่วนของงานวิจัยมีผลงานได้รับรางวัล 2 เรื่อง คือ เรื่อง “Human Monoclonal Antibodies to Neutralize All Serotypes of Dengue Viruses Using Peripheral Blood Lymphocytes from Infant Patients” โดย ดร.อารี ทัตติยพงศ์ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาวิจัยร่วมกันระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กับประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาการรักษาเชื้อไวรัสเดงกี่หรือโรคไข้เลือดออก จากผลการศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการพบว่าโมโนโคลนอลแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อไวรัสเดงกี่สามารถรักษาเชื้อไวรัสเด็งกี่ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ และขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองในสัตว์ และเรื่อง “การตรวจคัดกรองพาหะฮีโมโกลบิลอีด้วยวิธีแบบหลอด” โดย รศ.ดร.ธนูศักดิ์ ตาตุ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการพัฒนาชุดตรวจโดยอาศัยหลักการ anion-exchange column chromatography และอ่านผลด้วยตาเปล่าซึ่งง่ายต่อการปฏิบัติ สามารถนำไปใช้ในการตรวจคัดกรองในประชากรทั่วไปได้ ส่วนงานพัฒนาห้องปฏิบัติการผลงานที่ได้รับรางวัล คือ “การวิจัยและพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัย ?-thalassemia 1 ชนิด Southeast Asia และชนิดไทย โดยเทคนิค Relative Quantitative PCR” ของนางสิริภากร แสงกิจพร ศูนย์วิจัยทางคลินิก ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวเป็นการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียที่พบในประเทศไทยได้ครบทั้ง 2 ชนิด คือ ชนิด Southeast Asia และชนิดไทย ประเภทงานบริการและการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการสาธารณสุข เป็นรางวัลงานพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการควบคุมคุณภาพยาแห่งชาติผ่านการเข้าร่วมโปรแกรม WHO Prequalification” โดย น.ส.นิดาพรรณ เรืองฤทธินนท์ สำนักยาและวัตถุเสพติด
สำหรับประเภทงานตำรา คู่มือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ แบ่งเป็นรางวัลคู่มือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ เรื่อง “เรือด : ชีววิทยาและการป้องกันกำจัด” โดย ดร.อภิวัฏ ธวัชสิน จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับการป้องกันกำจัดตัวเรือดด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งที่ไม่ต้องใช้สารเคมีและใช้สารเคมี โดยสรุปเป็นขั้นตอนการปฏิบัติในการป้องกันกำจัดตัวเรือดในโรงแรมและที่พักอาศัย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยวของประเทศ สุดท้ายเป็นรางวัลด้านตำราทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง “Atlas of Hematology for Medical Students” โดย ผศ.พญ.มาลิดา พรพัฒน์กุล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ซึ่งตำราดังกล่าวช่วยให้นักศึกษาแพทย์ เจ้าหน้าที่และผู้สนใจได้รับความรู้จากการศึกษา Atlas โลหิตวิทยา ซึ่งจะบอกถึงลักษณะและภาวะของโรคต่างๆ ทางโลหิตวิทยาที่ควรรู้ ตลอดจนลักษณะของสเมียร์เลือดในโรคต่าง ๆ ในการศึกษาวิชาพยาธิวิทยาคลินิกหรือการนำมาใช้ศึกษาทางห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
ติดต่อ:
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
โทรศัพท์ 0-2951-0000 ต่อ 99017 , 99081
โทรสาร 0-2591-1707