สรุปมติ กสทช. : เสียงข้างน้อยต่อ(ร่าง)ประกาศต่ออายุคลื่น 1800 MHz

พฤหัส ๒๐ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๗:๐๒
ภายหลังจากที่ประชุมบอร์ด กสทช. วานนี้(วันที่ 19 มิ.ย.) ได้มีมติวาระ 5.7 เห็นชอบต่อ “ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... ” ตามที่คลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ซึ่งบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (กสท) ให้สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด กำลังจะสิ้นสุดอายุสัมปทานลงในวันที่ 15 กันยายน 2556 นั้น โดยเนื้อหาหลักของร่างฯฉบับนี้ เป็นการให้อำนาจ กสทช. กำหนดให้มีผู้ให้บริการทำหน้าที่ให้บริการต่อไปโดยใช้คลื่นความถี่ที่หมดอายุตามสัญญาสัมปทาน โดยไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ตาม ม. 45 ของ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ. 2553 โดยจะเปิดให้สาธารณะรับฟังความเห็นต่อไปนั้น ทั้ง 2 กสทช. นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ได้มีความเห็นแย้งต่อการออก(ร่าง) ประกาศฯฉบับดังกล่าว นางสาวสุภิญญา เปิดเหตุ 3 ประเด็น ที่ตนไม่เห็นด้วยเพราะ 1. คำตอบที่ว่าประกาศฯดังกล่าวถือว่าเป็นการต่อสัญญาสัมปทานหรือไม่ ยังไม่ชัดเจนในมิติกฏหมายว่า กสทช.ต่อสัญญาสัมปทานลักษณะนี้ได้หรือไม่ 2. ก่อนหน้านี้มีเวลาถึง2ปี ในการเตรียมการประมูลคลื่น 1800 MHz นับจากวันที่รับตำแหน่ง เหตุใดจึงไม่เสนอก่อนหน้านี้ และ 3. ยังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนจากในการชดเชยกับผู้บริโภคหลังหมดสัญญาสัมปทาน อาทิ ลดราคา เป็นต้น

สุภิญญา กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะยืดระยะเวลาออกไปอีก1ปี เพื่อจัดประมูลคลื่นฯ เนื่องด้วยน่าจะมีการเตรียมประมูลก่อนหน้านี้ หากจะยืดอายุจริงๆควรมีเงื่อนไขที่มีฐานอธิบายทางกฎหมายเพิ่มขึ้น การหารือจากองค์คณะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายในการหาทางออก เพราะการจัดการกรณี 1800MHz ของ True คราวนี้ อาจจะกลายเป็นตัวอย่าง หรือส่งผลเป็นโดมิโนไปยังสัมปทานรายที่เหลืออย่าง AIS และ Dtac ในอนาคตที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทาน ดังนั้น ด้วยความที่ยังไม่ชัดเจนใน 3 ประเด็นและเหตุผลดังกล่าว ตนจึงสงวนความเห็นเป็นเสียงข้างน้อยในการโหวตไม่รับหลักการของร่างประกาศฯคลื่น 1800MHz ความต่อเนื่องในการให้บริการเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรมีปรากฎการณ์ซิมดับ แต่ขณะเดียวกันต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ทำไมมีเวลา 2 ปี จึงไม่เตรียมการประมูลและแผนการเปลี่ยนผ่าน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังกำลังออกไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดสามารถเสนอความคิดเห็นได้ ซึ่งหลังการประชาพิจารณ์หากมีแนวทางที่ชัดเจนทั้งเรื่องข้อกฎหมาย และการคุ้มครองผู้บริโภค ตนอาจตันสินใจพิจารณาใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version